บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 3,715
เมื่อวาน 1,670
สัปดาห์นี้ 6,907
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 48,107
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,392,604
  Your IP :3.139.70.131

49 การผลิตเหล็กหล่อด้วยเตาคิวโพล่า

6.9 การผลิตเหล็กหล่อ

 

      เหล็กหล่อ (Cast iron) มีกระบวนการผลิตโดยเปลี่ยนเหล็กดิบที่ได้จากเตาบลาสต์ ผ่านเตาหลอมเหล็กก็คือเตาคิวโพล่า หรือเตาเหนี่ยวนำไฟฟ้า จนกลายมาเป็นเหล็กหล่อ

 

   ส่วนวัสดุที่นำมาใช้ในกระบวนการนี้ก็คือ เหล็กดิบ, เศษเหล็กหรือเหล็กกล้า, หินปูน และเชื้อเพลิง ข้อดีของเหล็กหล่อมีดังนี้

 

o  เหล็กหล่อสามารถนำไปหล่อขึ้นรูป ชิ้นงานที่มีรูปร่างยุ่งยากซับซ้อน ให้ทำได้ง่าย ทั้งนี้ก็เพราะเหล็กถูกหลอมจนเป็นของเหลว และเทลงสู่แม่พิมพ์ ซึ่งแตกต่างจากเหล็กกล้าที่ออกมาเป็นรูปร่างโดยการรีดขึ้นรูป

 

o  เหล็กหล่อจะมีราคาสูงกว่าเหล็กกล้าเล็กน้อย เพราะต้องทำแม่พิมพ์หล่อ จุดคุ้มทุนของเหล็กหล่อจะอยู่ที่การผลิตเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตไม่ค่อยมีความแตกต่างกันเท่าไหร่นัก

 

o  เหล็กหล่อมีความสามารถในการการซึมซับแรงสั่นสะเทือนสูงกว่า จึงเหมาะนำมาใช้ทำโครงสร้างเครื่องจักรกล และชิ้นส่วนอุปกรณ์ขนาดใหญ่ ที่ทำหน้าที่เป็นส่วนรองรับแรงกระทำ หรือน้ำหนัก  

ดังนั้น ชิ้นงานส่วนมากที่ทำจากเหล็กหล่อมักจะมีขนาดใหญ่ และหนา เมื่อเปรียบเทียบชิ้นส่วนเครื่องกลที่ทำมาจากเหล็กกล้า ดูที่รูป

 

รูปเสื้อสูบเครื่องยนต์ ทำมาจากเหล็กหล่อ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

6.9.1 เตาคิวโพล่า

 

      เตาคิวโพล่าถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเหล็กหล่อ หลายสิบปีมาแล้ว เหล็กหล่อก่อนปี พ.ศ. 2510 แทบทั้งหมดถูกผลิตขึ้นมาจากเตาคิวโพล่า

 

รูปเตาคิวโพล่าขนาดเล็ก

 

รูปเตาคิวโพล่า 2

 

รูปแสดงภาพตัดภายในของเตาคิวโพล่า

 

วิดีโอแสดงการทำงานอย่างคร่าว ๆ ของเตาคิวโพล่าในอุตสาหกรรม

 

รูปเตาคิวโพล่าในโรงงานอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก

 

รูปภาคตัดของเตาคิวโพล่า

 

      เตาคิวโพล่ามีลักษณะเป็นทรงกระบอกกลม และสูง ดูผิวเผินคล้ายกับเตาบลาสต์ขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1 เมตร ไปจนถึง 10 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางภายในประมาณ 0.5 เมตร ไปจนถึง 4 เมตร เปลือกนอกทำมาจากเหล็กกล้า ส่วนผนังภายในก่อด้วยอิฐทนไฟ ป้อนใส่เหล็ก และวัสดุที่จะหลอมทางปล่องด้านบน ดูที่รูป

 

รูปการเติมวัสดุเพื่อทำการหลอมลงด้านบนของปล่องเตาคิวโพล่า

 

ที่ด้านล่างเตา มีอยู่ 2 ท่อปล่อยที่ยื่นออกมา ท่อปล่อยอันล่างสุดไว้ปล่อยน้ำเหล็กหล่อ ส่วนอีกท่อหนึ่งที่ตั้งสูงกว่าเล็กน้อยไว้ปล่อยขี้สแล็ก

 

รูปการปล่อยน้ำเหล็กหล่อจากเตาคิวโพล่าลงสู่กระบวยพร้อมที่จะนำไปที่แม่พิมพ์หล่อ

 

วิดีโอแสดงการหลอมเหล็กด้วยเตาคิวโพล่าขนาดเล็ก

 

      ถ่านโค๊กมีหน้าที่ให้ให้ความร้อน ถูกเติมเข้าไปเป็นอันดับแรก โดยเติมลงไปทางปากปล่องด้านบน ถ่านโค๊กจะถูกย่อยทำให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ตามด้วย เหล็กดิบ และหินปูนสลับกันไป

 

      เมื่อทำการจุดไฟเพื่อหลอมเหลวแล้ว ก็จะมีการเร่งความร้อนภายในเตาคิวโพล่า โดยจะใช้อากาศพ่นผ่าน กล่องลม (Wind box) และผ่านไทเยอร์ (Tuyeres) เร่งความร้อนให้เตา

 

รูปไทเยอร์ที่อยู่ด้านล่างของเตาคิวโพลามีหน้าที่พ่นอากาศใส่ในเตาเพื่อเร่งกระบวนการทำความร้อน

 

รูปไทเยอร์

 

      ปกติแล้ว ที่ด้านล่างของเตาจะมีทรายอยู่ อุณหภูมิที่ด้านล่างมีอุณหภูมิถึง 2,040 องศาเซลเซียส (3,700 องศาฟาเรนไฮต์) ทรายจะบรรจุลงไปที่ก้นเตาล่างสุด จากนั้นก็จะมีถ่านโค๊ก โลหะ และหินปูนสลับกันไป ดังรูปด้านล่าง

 

รูปส่วนประกอบภายในของเตาคิวโพล่าขนาดใหญ่

 

      หินปูนทำหน้าที่เป็น ฟลักซ์ (Flux) ป้องกันสารมลทิน (เช่น ขี้เถ้าของถ่านโค๊ก, ทราย และสารแปลกปลอมต่าง ๆ) ไม่ให้รวมตัวกับน้ำเหล็ก แล้วถูกแยกตัวออกมาเป็นขี้สแล็ก หินปูนถูกป้อนเข้าสู่เตาคิวโพล่าพร้อมกับเหล็ก และเศษเหล็ก แบบคละเคล้ากันที่ปล่องด้านบนของเตา

 

วิดีโอแสดงกระบวนการการหล่อชิ้นงานจากเตาคิวโพล่าลงสู่แม่พิมพ์

 

(กระบวนการหล่อจะไม่ได้กล่าวในที่นี้เพราะเป็นเรื่องของงานผลิตไปแล้ว แต่ถ้ามีโอกาสจะได้กล่าวถึงต่อไป)

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

หลังผ่านปัญหา จะรู้ว่าปัญหานั้นเล็กนิดเดียว

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา