บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,632
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 12,661
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 59,818
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,875,070
  Your IP :3.145.91.152

45 การทำเหล็กอินก็อท

6.5 กระบวนการทำเหล็กอินก็อท

 

รูปเหล็กอินก็อท

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      เหล็กอินก็อท หรือแท่งโลหะ (Ingot) เป็นการหล่อน้ำเหล็กกล้าลงในแม่พิมพ์เพื่อให้เกิดการเย็น และแข็งตัว พร้อมที่จะนำไปแปรรูป ให้เป็นเหล็กกล้ารูปพรรณในรูปแบบต่าง ๆ เตรียมที่จะนำไปใช้งาน กระบวนการทำเหล็กกล้าอินก็อทจะมีอยู่ 3 ขั้นตอนหลัก ๆ ได้แก่

 

รูปตัวอย่างแม่พิมพ์ที่ใช้ทำเหล็กอินก็อท

 

1)           การเทออก (Teeming) เป็นการเทเหล็กกล้าที่หลอมเสร็จแล้วลงไปสู่แบบแม่พิมพ์อินก็อท

 

2)           การแกะออก (Stripping) เป็นการนำแท่งเหล็กอินก็อทออกจากแบบพิมพ์อินก็อท

 

3)           การคงความร้อน (Soaking) เป็นการให้ความร้อนแก่แท่งเหล็กอินก็อท เพื่อคงสภาพ และรักษาคุณสมบัติของโลหะไว้

 

 

6.5.1 การเทออก

 

      เมื่อทำการหลอมเหล็กกล้าเสร็จแล้ว น้ำเหล็กจะนำออกจากเตาหลอม มันถูกลำเลียง และนำไปเทลงในแม่พิมพ์อินก็อท

 

รูปการเทเหล็กกล้าที่หลอมเสร็จแล้วลงในแม่พิมพ์เพื่อทำเป็นเหล็กอินก็อท

 

รูปน้ำเหล็กกล้าที่กำลังถูกเทลงในบล็อกแม่พิมพ์ทำเหล็กอินก็อท

 

แม่พิมพ์อินก็อทมีรูปร่างเป็น พื้นที่หน้าตัดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีรูปร่างเรียวลง ขอบมีมุมกลมมน ขนาดพื้นที่หน้าตัดของเหล็กอินก็อทมีขนาดกว้าง 8 15 cm (3² 6²) และความสูง8 20 cm (3² 8²) ดูที่รูป

 

รูปร่างของเหล็กอินก็อท

       

 

6.5.2 การแกะออก

 

      ในไม่ช้า อนุภาคของเหล็กอินก็อทก็เริ่มเย็นตัวลง จากนั้นจะต้องมีการแกะแยกออกจากแม่พิมพ์อย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในการแกะออกเหล็กจะถูกดึงออกทางด้านบนโดยมีเครนเหนือหัวอยู่ในแต่ละแม่พิมพ์ เครนจะยกเปลือกของแม่พิมพ์ขึ้น เพื่อที่จะแยกกันออกจากเหล็กอินก็อทขณะที่ยังร้อนแดงอยู่ (กลายสภาพเป็นของแข็งแล้ว)

 

รูปเหล็กอินก็อทที่กำลังถูกดึงแม่พิมพ์ออกด้วยเครนเหนือศีรษะ

 

 

6.5.3 การคงความร้อน

 

รูปตัวอย่างเหล็กอินก็อทที่กำลังถูกลำเลียงออกจากบ่อแช่

 

      หลังจากที่แกะออกแล้ว เหล็กอินก็อทที่ร้อนแดงจะถูกลำเลียงไปที่ บ่อ (Pit) แช่ บ่อแช่เป็นเตาให้ความร้อนเล็ก ๆ โดยปกติมันอยู่ที่ด้านล่าง ดังนั้นมันดูคล้ายกับบ่อ เหล็กอินก็อทมันจะถูกนำแช่ที่บ่อแช่ใช้เวลา 6-8 ชั่วโมง อุณหภูมิประมาณ 1,200°C (2,200°F) ซึ่งเป็นการให้ความร้อนสม่ำเสมอตลอดทั้งตัวเหล็กอินก็อท

 

       วัตถุประสงค์ของการคงความร้อน ก็คือการป้องกันผิวนอกของเหล็กอินก็อทไม่ให้เกิดการแข็งตัวก่อนเนื้อแท่งเหล็กภายใน ถ้าเหล็กอินก็อทไม่ได้ผ่านการแช่คงความร้อน ธาตุต่าง ๆ ที่ผสมในเหล็ก เช่น คาร์บอน, ฟอสฟอรัส และกำมะถัน (ที่จะกลายเป็นของแข็งอยู่ภายในเนื้อเหล็ก) บางส่วนจะกระจุกรวมตัวกันตรงกลางเนื้อเหล็ก มันจะไม่กระจายตัวออกไปทั่วเนื้อเหล็ก

 

รูปเหล็กอินก็อทหลังจากผ่านบ่อแช่แล้ว กำลังถูกลำเลียงไปยังโรงรีดเหล็ก

 

      หลังจากที่ทำการคงความร้อนเสร็จ เหล็กอินก็อทที่กำลังร้อนจะถูกเคลื่อนที่ออกจากบ่อแช่ แล้วลำเลียงไปยัง โรงรีดเหล็ก (Rolling mill)

 

วิดีโอการเทอลูมิเนียมจากการหลอมสู่แม่พิมพ์อินก็อท (หาวิดีโอที่เป็นเหล็กอินก็อทไม่ได้แต่เป็นทำนองเดียวกัน)

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

การที่เรา เคยพ่ายแพ้ ซักวันหนึ่ง

 

มันจะกลายเป็น สิ่งที่มีค่ามหาศาลต่อเรา..

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา