บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 364
เมื่อวาน 4,086
สัปดาห์นี้ 7,642
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 48,842
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,393,339
  Your IP :52.14.8.34

41 เตาบลาสต์

6.3 เตาบลาสต์ (Blast furnace)

 

       หลังจากการคัดแยกแร่เหล็กออกมาแล้ว กระบวนการต่อไปก็คือ การนำแร่เหล็กไปถลุงภายในเตาบลาสต์ ซึ่งเตาบลาสต์จะทำหน้าที่เปลี่ยนแร่เหล็กให้กลายไปเป็นเหล็กดิบ วัสดุที่ป้อนลงไปในเตาบลาสต์ได้แก่ แร่เหล็ก, ถ่านโค๊ก และหินปูน จะถูกผสมลงไปใน รถลำเลียง (Skip cars)

 

รูปรถลำเลียงแร่ขึ้นสู่ปากปล่องเตาบลาสต์

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

ที่ด้านบนของเตาบลาสต์ รถลำเลียงขนาดเล็กที่คล้ายกันกับรถรางวิ่งขึ้นทางชันทางลาดเอียง

 

รูปเตาบลาสต์

 

รูปภายในเตาบลาสต์ 

 

      เตาบลาสต์อาจมีความสูงมากกว่า 80 เมตร (250 ฟุต) หรือสูงกว่าตึก 12 ชั้น ตัวเตาบลาสต์มีเส้นผ่านศูนย์กลางภายในประมาณ 10 เมตร (30 ฟุต) ผิวด้านนอกของเตาบลาสต์เป็นชั้นเหล็กกล้าหนา ผนังภายในจะดับเรียงด้วยอิฐทนไฟ

 

รูปแผนผังของเตาบลาสต์

 

รูปสเก็ตภาพรวมบริเวณเตาบลาสต์

 

      ความสามารถของเตาบลาสต์ สามารถบรรจุแร่เหล็กในขณะการหลอมได้ถึง 350 ตัน หลังจากที่หลอมละลายแล้ว ก็สามารถถ่ายเทเหล็กที่หลอมแล้ว ออกมาทุก ๆ 3-5 ชั่วโมง รวมแล้วปีหนึ่งจะสามารถผลิตเหล็กหลอมออกมาได้มากกว่า 80 ล้านตัน

 

รูปเตาบลาสต์

 

      เตาบลาสต์ในขณะที่มันทำงาน มันเป็นสิ่งที่น่าตื่นตาอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน ความร้อนภายในเตา ใช้ความร้อนที่มีอุณหภูมิมากถึง 900 °C ถึง 1300 °C (1600 °F ถึง 2300 °F) อุณหภูมิความร้อนที่มีมากขนาดนี้ก็เพื่อใช้ในการหลอมละลายถ่านโค๊ก, หินปูน และแร่เหล็ก โดยจะมีลมร้อนเป่าที่ด้านล่างของเตาเพื่อช่วยเพิ่มความร้อน  

 

      ในตอนแรกถ่านโค๊กจะถูกเผาไหม้ก่อน ต่อมาแร่เหล็กก็ถูกหลอม และหินปูนก็จะถูกหลอมเป็นส่วนสุดท้าย เมื่อทั้งหมดถูกหลอมแล้ว ก็จะเกิดปฏิกิริยาเคมี

 

ตัวอย่างปฏิกิริยาทางเคมีของแร่เหล็กฮีมาไทต์:

 

 Fe2O3(ของแข็ง) + 3C(ของแข็ง) ==> 2Fe(ของเหลวปนของแข็ง) + 3CO(ก๊าซ)

 

ส่วนที่หลอมเหลวแล้ว ก็จะเคลื่อนที่อย่างช้า ๆ ไปตามเส้นทาง และไหลไปที่อ่างหลอมเหลวที่ก้นเตาบลาสต์

 

      ภายในเตาถลุงมีการเรียงซ้อนตัวกันของอิฐทนไฟ โดยคุณสมบัติของอิฐทนไฟจะต้องทนความร้อนสูง จากการหลอมเหล็ก และจากแก๊สร้อนที่ทำความร้อนซ้ำ ที่ไหลผ่านเข้ามาในเตาบลาสต์

 

รูปอิฐทนไฟที่นำมาดับเรียงในเตาบลาสต์

 

รูปตัวอย่างอิฐทนไฟภายในเตาบลาสต์

 

วิดีโอโรงถลุงเหล็ก เตาบลาสต์

 

รูปขี้แร่ที่ออกมาจากเตาบลาสต์ ดูคล้ายกับขี้เถ้าที่ได้จากเตาถ่านทำอาหาร

 

      ส่วนหินปูนจะทำปฏิกิริยาภายในเตาจนเกิดเป็นสารมลทิน ออกมาในรูปของ ขี้แร่ หรือสแล็ก (Slag)  โดยสแล็กจะเบากว่าเหล็ก มันจะลอยขึ้นมาอยู่ด้านบน และเกาะเป็นคราบอยู่ด้านบนของเหล็กหลอมในเตาถลุง เหล็กหลอมซึ่งมีน้ำหนักมากกว่า จะไหลไปอยู่ในอ่างหลอมใต้เตาบลาสต์

 

      สแล็ก จะถูกสูบออกไปเก็บสะสมในที่ตักขนาดใหญ่ สแล็กบางชนิดสามารถนำไปขายได้ ประโยชน์ของสแล็กที่นำไปใช้งานมากที่สุดก็คืองานทำฉนวน มันนำไปใช้ในการทำอิฐ ถังบรรจุยางมะตอย (Asphalt) และวางบนน้ำแข็งเพื่อป้องกันน้ำแข็งละลายเร็ว 

 

      แก๊สร้อน หรืออากาศร้อนที่อยู่เหนือด้านบนเตาบลาสต์ มันจะถูกทยอยดูดออกมา แล้วถูกกรองให้สะอาดด้วยตัวดูดฝุ่นผง และปรับสภาพแก๊สร้อนด้วยอุปกรณ์พิเศษ จากนั้นก็ถูกลำเลียงไปเก็บสะสมใน เตากระแสอากาศร้อน (Hot-blast stove) แล้วพร้อมที่จะนำไปใช้เป็นตัวเป่าลมร้อนที่ด้านล่างของเตาเพื่อทำความร้อนซ้ำ โดยแก๊สร้อนเหล่านี้จะมีช่องทางวิ่งไหลผ่านช่องเข้าเตาบลาสต์ที่ด้านล่าง ซึ่งมีหนึ่งช่อง หรือหลายช่อง

 

รูปเตากระแสอากาศร้อน มีหน้าที่เก็บสะสมแก๊สร้อนเพื่อป้อนให้กับเตาบลาสต์

 

รูปเตากระแสอากาศร้อน ที่อยู่ด้านข้างเตาบลาสต์

 

รูปร่างของเตากระแสอากาศร้อนจะมีรูปร่างสูง, บาง และเป็นทรงกระบอก ความสูงของเตาอาจจะสูงถึง 37 เมตร (120 ฟุต) มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 9 เมตร (28 ฟุต) ซึ่งมองดูผิวเผินก็คล้ายกับเตาบลาสต์ขนาดเล็ก

 

      เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ได้จากการพัฒนามาอย่างยาวนานของเตาถลุงเหล็ก ทำให้ทั้งวิศวกรในปัจจุบันสามารถควบคุมภาพรวมของกระบวนการผลิต จากแผงควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยสามารถเปิด-ปิดเตา, ควบคุมการลำเลียงป้อนแร่เหล็ก, ควบคุมอุณหภูมิการหลอม, เรียกดูข้อมูล ฯลฯ ที่ได้จากกระบวนการถลุงจากคอมพิวเตอร์ ภายในห้องทำงาน

 

รูปแผงควบคุมกระบวนการถลุงเหล็กของเตาบลาสต์

 

รูปห้องควบคุมเตาบลาสต์

  

วิดีโอห้องควบคุมกระบวนการเตาบลาสต์

 

 

6.3.1 การปล่อยเหล็กหลอมออกจากเตาบลาสต์ (Tapping the blast furnace)

 

       ทุก ๆ 3-5 ชั่วโมง เหล็กหลอมแล้วบางส่วน จะเริ่มไหลออกมาจากเตาบลาสต์

 

รูปเหล็กหลอมไหลออกมาจากเตาบลาสต์

 

รูปการปล่อยเหล็กหลอมออกจากเตาบลาสต์

 

 ช่องไหลของของเหลวจะถูกเปิดที่ก้นเตา และเหล็กหลอมจะทยอยไหลออกมาสู่ รถลำเลียง (Bottle car)

 

รูปรถลำเลียง

 

รูปรถลำเลียง 2

 

รูป แบบจำลองรถลำเลียงเหล็กหลอมจากเตาบลาสต์

 

รูปการบรรจุเหล็กหลอม ลงในรถลำเลียง

 

วิดีโอแสดงการลำเลียงเหล็กหลอมโดยรถไฟ

 

รถลำเลียงจะดูคล้ายกับเรือดำน้ำ วิ่งไปตามรางรถไฟ มันจะมีขนาดใหญ่ วัสดุที่บุภายในรถก็เป็นอิฐทนไฟที่สามารถทนความร้อนของเหล็กที่หลอมได้ ทนอุณหภูมิได้อยู่ที่ประมาณ 1400 °C (2600 °F) รถลำเลียงมีหน้าที่ ลำเลียงเหล็กหลอม เพื่อเข้าไปสู่เตาทำเหล็กกล้า

 

วิดีโอการลำเลียงเหล็กหลอมออกจากเตาบลาสต์

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

หากเดินตามรอยเท้าคนอื่น ก็ไม่มีวันมีรอยเท้าเป็นของตัวเอง

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา