32 ธาตุต่าง ๆ ที่นำมาผสมในเหล็ก, ชนิดของเหล็กกล้า
5.3.1 ธาตุที่นำมาผสม
เหล็กกล้าทั้งหมดจะมีวัสดุธาตุอื่นผสมอยู่ในเนื้อเหล็กที่มีคาร์บอน ส่วนผสมโดยทั่วไปที่ผสมเราเรียก ธาตุที่มาผสม (Alloying element) ธาตุที่นำมาผสมอาจมีเล็กน้อย แต่ส่งผลที่ยิ่งใหญ่ในด้านคุณสมบัติของเหล็กกล้า มาดูธาตุที่นำมาผสมในเนื้อเหล็ก และคุณสมบัติของธาตุนั้นในตารางที่ 5.2
ธาตุต่าง ๆ ที่นำมาผสมในเหล็กกล้า
|
ธาตุ
|
ผลต่อเหล็ก
|
กำมะถัน (Sulfer: S)
|
ความสามารถในการกลึงไส (Machineability)
|
คาร์บอน (C)
|
เพิ่มความแข็ง, ความแข็งแกร่ง, ทนทานต่อการสึกหรอ
|
โคบอลต์ (Cobalt: Co)
|
ความแข็ง, ทนสึกหรอ
|
โครเมียม (Cr)
|
ทนทานต่อการกัดกร่อน, ชุบแข็ง
|
โคลัมเบียม (Columbium)
|
การขจัดคาร์ไบน์
|
ซิลิกอน (Silicon: Si)
|
ป้องกันเหล็กรวมตัวกันกับออกซิเจน, ชุบแข็ง
|
ตะกั่ว (lb)
|
ความสามารถในการกลึงไส
|
ทังสเตน (W)
|
คงความแข็งแกร่งที่อุณหภูมิสูง, ทนต่อการสึกหรอ
|
เทลลูเรียม (Tellurium: Te)
|
ความสามารถในการกลึงไส
|
ไทเทเนียม (Tianium: Ti)
|
ทนทานต่อการกัดกร่อน, ความแข็งแกร่ง
|
นิกเกิล (Ni)
|
ความเหนียว (Toughness), ความแข็งแกร่ง
|
ฟอสฟอรัส (Phosphorasrus P)
|
ความแข็งแกร่ง
|
แมงกานีส (Mn)
|
ความแข็งแกร่ง, ความสามารถในการแข็งตัว, ตอบสนองต่อการปรับสภาพทางความร้อนได้มากกว่า
|
โมลิบดีนัม (Mo)
|
คงความแข็งแกร่งที่อุณหภูมิสูง, ความสามารถในการแข็งตัว
|
วาเนเดียม (Vanadium)
|
ทำให้เม็ดเกรนละเอียด, ความเหนียว
|
อลูมิเนียม (Al)
|
ป้องกันการรวมตัวกันกับออกซิเจน (Oxidation),
|
ตารางที่ 5.2 ผลของธาตุทั่วไปที่นำมาผสม
ตัวอย่างที่ 5.1 เหล็กกล้า AISI/SAE 8622 มีคาร์บอนผสมอยู่ 0.22%, โมลิบดีนัม 0.20%, โครเมียม 0.50% และนิกเกิล 0.55%
รูปเหล็กกล้า AISI/SAE 8622
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
โมลิบดีนัมทำให้เหล็กมีความแข็งแกร่งขึ้นที่อุณหภูมิสูง โครเมียมทำให้ความต้านทานต่อการกัดกร่อนได้ดีขึ้น ในขณะที่นิกเกิลทำให้เหล็กมีความเหนียวเพิ่มขึ้น
กล่าวโดยรวม
คาร์บอน, แมงกานีส หรือนิกเกิล ที่เติมในเนื้อเหล็กจะทำให้เกิดความแข็งแกร่ง และทนทานต่อการกัดกร่อน หรือทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้เพิ่มขึ้น
โครเมียม หรือทองแดงที่เติมเข้าไปในเหล็กทำให้เหล็กเพิ่มความแข็งแกร่ง
ตะกั่ว หรือกำมะถัน ที่เติมลงไปในเนื้อเหล็ก จะทำให้เหล็กมีความสามารถในการกลึงกัดไสได้ง่ายขึ้น
ทังสเตน หรือโมลิบดีนัม ทำให้เหล็กยังคงคุณสมบัติทางฟิสิกส์อยู่ได้ เมื่อเหล็กมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น
การผสมธาตุต่าง ๆ เข้าไปในเนื้อเหล็กที่จะให้เกิดผลดี ก็ต่อเมื่ออัตราส่วนผสมที่เติมเข้าไปอยู่ที่ช่วงค่าค่าหนึ่ง โดยปกติแล้วค่าที่เติมทั่วไปไม่น่าจะเกิน 2% ของธาตุเดียวที่ผสมในเหล็ก ซึ่งจะทำให้มีผลต่อเหล็กแต่ถ้าเติมเข้าไปมากเกินจะเกิดผลต่อเหล็ก จะทำให้เหล็กมีคุณสมบัติที่ผิดปกติไปซึ่งอาจจะส่งผลทางข้อดี หรือทางข้อเสีย
ยกตัวอย่างเช่น ฟอสฟอรัส และกำมะถัน ที่เติมเข้าไปในเนื้อเหล็กกล้า จำนวนที่เติมรวมกันไม่ควรเกิน 0.05% เปอร์เซ็นต์ของเนื้อเหล็ก สำหรับนำไปใช้งานทั่วไปถ้ามากไปกว่านี้จะทำให้เหล็กกล้านั้นลดความแข็งแกร่งอย่างมาก ดังนั้นการเติมธาตุในปริมาณมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้งานด้วย
5.3.2 การเปรียบเทียบเหล็กกล้า และเหล็กเหนียว
รูปตัวอย่างการใช้งานของเหล็กบริสุทธิ์ที่ไม่มีคาร์บอนผสมอยู่
รูปเหล็กกล้าจะมีคาร์บอนผสมอยู่ระหว่าง 0%-2%
รูปเหล็กหล่อจะมีคาร์บอนอยู่ระหว่าง 2%-4%
ความสัมพันธ์กันของเหล็กบริสุทธิ์ หรือเหล็กดัด (Wrought iron), เหล็กกล้า (Steel) ไปจนถึงเหล็กหล่อ (Cast ion) จะเกิดความแตกต่างในเนื้อวัสดุทั้งสามประเภท โดยมีปริมาณการผสมคาร์บอนที่แตกต่างกัน
เหล็กบริสุทธิ์จะไม่มีคาร์บอนผสมอยู่เลย เหล็กกล้านั้นจะมีคาร์บอนผสมอยู่ประมาณ 0%-2% เหล็กหล่อจะมีคาร์บอนอยู่ประมาณ 2%-4% แต่ถ้ามีคาร์บอนผสมอยู่ในเนื้อเหล็กสูงถึงประมาณ 6% วัสดุนั้นจะกลายเป็นวัสดุเปราะซึ่งจะไม่สามารถนำมาใช้งานได้
การเรียกชื่อเหล็กกล้าที่มีความแตกต่างกันไปนั้น ตัวเลขเหล่านี้นอกจากบอกส่วนผสมแล้ว ยังสามารถบ่งบอกได้ถึงปริมาณ, ความแข็งแกร่ง และการต้านทานการกัดกร่อนในเนื้อเหล็กอีกด้วย
ตัวอย่างเหล็กกล้าที่เติมธาตุต่าง ๆ เข้าไปในเนื้อเหล็ก
ชนิดของเหล็กกล้าที่ผสมธาตุต่าง ๆ
|
เหล็กกล้า
|
ชนิดของเหล็กกล้า
|
ความแข็งแกร่งทางดึง
(´ 1000psi)
|
C
|
Mn
|
P
|
S
|
Si
|
Ni
|
Cr
|
Mo
|
V
|
1025
|
คาร์บอนธรรมดา(Plain carbon)
|
60 - 103
|
0.22-0.28
|
0.30-0.60
|
สูงสุด0.04
|
สูงสุด0.05
|
|
|
|
|
|
1045
|
คาร์บอนธรรมดา
|
80 - 182
|
0.43-0.50
|
0.60-0.90
|
สูงสุด0.04
|
สูงสุด0.05
|
|
|
|
|
|
1095
|
คาร์บอนธรรมดา
|
90-213
|
0.90-1.03
|
0.30-0.50
|
สูงสุด0.04
|
สูงสุด0.05
|
|
|
|
|
|
1112
|
คาร์บอนตัดอิสระ (Free cutting carbon)
|
60-100
|
สูงสุด0.13
|
0.70-1.00
|
0.07-0.12
|
0.16-0.23
|
|
|
|
|
|
1330
|
แมงกานีส
|
90-162
|
0.28-0.33
|
1.60-1.90
|
0.035
|
0.040
|
0.20-0.35
|
|
|
|
|
2517
|
นิกเกิล
|
88-190
|
0.15-0.20
|
0.45-0.60
|
0.025
|
0.025
|
0.20-0.35
|
4.75-5.25
|
|
|
|
3310
|
นิกเกิล-โครเมียม
|
104-172
|
0.08-0.13
|
0.45-0.60
|
0.025
|
0.025
|
0.20-0.35
|
3.25-3.75
|
1.40-1.75
|
|
|
4023
|
โมลิบดีนัม
|
105-170
|
0.20-0.25
|
0.70-0.90
|
0.035
|
0.040
|
0.20-0.35
|
|
|
0.20-0.30
|
|
52100
|
โครเมียม
|
100-240
|
0.98-1.10
|
0.25-0.45
|
0.035
|
0.040
|
0.20-0.35
|
|
1.30-1.60
|
|
|
6150
|
โครเมียม-วาเนเดียม
|
96-230
|
0.48-0.53
|
0.70-0.90
|
0.035
|
0.040
|
0.20-0.35
|
|
0.80-1.10
|
|
ต่ำสุด0.15
|
9840
|
นิกเกิล-โครเมียม โมลิบดีนัม
|
120-280
|
0.38-0.43
|
0.70-0.90
|
0.040
|
0.040
|
0.20-0.35
|
0.85-1.15
|
0.70-0.90
|
0.20-0.30
|
|
4140
|
โครเมียม-โมลิบดีนัม
|
95-125
|
0.38-0.43
|
0.75-1.00
|
0.035
|
0.040
|
0.20-0.35
|
|
0.80-1.10
|
0.15-0.25
|
|
ตาราง 5.3 ธาตุที่ผสมเข้าไปในเหล็กกล้าแต่ละชนิด
5.3 ชนิดของเหล็กกล้า
เหล็กกล้ามีอยู่หลายประเภท ปกติแล้วแบ่งออกได้เป็น
o เหล็กกล้าคาร์บอน (Carbon steel)
รูปท่อเหล็กกล้าผสมคาร์บอน
o เหล็กกล้าผสม (Alloy steel)
รูปตัวอย่างเหล็กกล้าผสมที่นำมาทำเป็นโครงตลับลูกปืน
o เหล็กกล้าเครื่องมือ (Tool steel)
รูปเหล็กกล้าเครื่องมือที่นำมาทำแม่พิมพ์โลหะ
o เหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steel)
รูปตัวอย่างเหล็กกล้าไร้สนิมที่นำมาใช้งานในห้องครัว
o เหล็กกล้าอื่น ๆ เช่น เหล็กกล้าสปริง , เหล็กล้าที่นำมาใช้ในงานไฟฟ้า, เหล็กกล้าทนทานต่อการกัดกร่อนพิเศษ
รูปเหล็กกล้าสปริง
เหล็กกล้าคาร์บอนก็มีธาตุอื่นผสมอยู่ด้วยแต่น้อยจึงไม่ค่อยมีคุณสมบัติพิเศษ ทำให้มีราคาที่ถูกกว่าเหล็กกล้าผสม ในเหล็กกล้าผสมจะมีคุณสมบัติเฉพาะ เช่น ความแข็งแกร่งที่เพิ่มขึ้น, ความทนทานต่อการกัดกร่อน และความทนทานต่อการเสียดสี ที่อุณหภูมิสูงได้ดี ดูตารางที่ 5.4
เหล็กกล้า
|
เหล็กกล้าคาร์บอน
|
เหล็กกล้าผสม
|
ราคาถูก
|
ราคาแพง
|
ผสมธาตุเล็กน้อย
|
ผสมธาตุมาก
|
ไม่ค่อยมีคุณสมบัติพิเศษ
|
มีคุณสมบัติพิเศษ
|
ตารางที่ 5.4 แสดงประเภทเหล็กกล้าที่แบ่งเป็น เหล็กกล้าคาร์บอน และเหล็กกล้าผสม
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ประชาชีจะสับสนเรื่องดีชั่ว
ถ้วนทุกทั่วจะมุดขุดรูหนี
ไม่แน่ใจสิ่งที่ทำนำความดี
เกรงเป็นผีตายตกไปตามกัน”