บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 691
เมื่อวาน 2,664
สัปดาห์นี้ 5,053
สัปดาห์ก่อน 18,479
เดือนนี้ 5,053
เดือนก่อน 62,658
ทั้งหมด 4,412,208
  Your IP :18.216.251.37

29 จุดหลอมเหลว, ความจุความร้อน และความร้อนจำเพาะ

 

4.6.2 จุดหลอมเหลว

 

รูปโลหะหลอมเหลว

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      จุดหลอมเหลว (Melting point) เป็นคุณสมบัติทางความร้อนอย่างหนึ่ง โดยจุดนี้คืออุณหภูมิที่วัสดุจะเปลี่ยนแปลงสถานะจากของแข็งไปเป็นของเหลว ตัวอย่างเหล็กกล้าจะมีจุดหลอมเหลวอยู่ที่ประมาณ 1,700 K (องศาเคลวิน) ส่วนวัสดุอื่น ๆ ดูได้จากตารางที่ 4.5    

 

วัสดุ

จุดหลอมเหลว

Kelvin (K)

แคดเมียม (Cadmium)

594

โคบอลต์ (Cobalt)

1,768

โครเมียม (Chromium)

2,133

เงิน (Silver)

1,234

ซิลิกอน (Silicon)

1,684

ซีลิเนียม (Selenium)

490

ดีบุก (Tin)

505

ตะกั่ว (Lead)

600.7

ทอง (Gold)

1,336

ทองคำขาว (Platinum)

2,043

ทองแดง (Copper)

1,357

ทอเรียม (Thorium)

2,023

ทังสเตน (Tungsten)

3,673

แทนทาลัม (Tantalum)

3,253

ไทเทเนียม (Titanium)

1,943

นิกเกิล (Nickel)

1,726

ไนโอเบียม (Niobium)

2,740

บิสมัท (Bismuth)

544

เบริลเลียม (Beryllium)

1,558

พลวง (Antimony)

903

พลูโตเนียม (Plutonium)

913

แมกนีเซียม (Magnesium)

923

แมงกานีส (Manganese)

1,517

โมลิบดีนัม (Molybdenum)

2,893

ยูเรเนียม (Uranium)

1,405

โรเดียม (Rhodium)

2,238

วาเนเดียม (Vanadium)

2,173

สังกะสี (Zinc)

692.7

เหล็ก (Iron)

1,809

เหล็กกล้า (เหนียว) (Steel (Mild))

1,630-1,750

อลูมิเนียม (Aluminum)

933

ออสเมียม (Osmium)

3,298

อิริเดียม (Iridium)

2,723

ตารางที่ 4.5 จุดหลอมเหลวของวัสดุในหน่วยเคลวิน

 

วิดีโอแสดงการให้ความร้อนโลหะจนถึงจุดหลอมเหลว

 

      ถ้าความร้อน สามารถเคลื่อนที่ผ่านเนื้อวัสดุได้อย่างรวดเร็ว เราเรียกวัสดุนี้ว่ามี คุณสมบัติในการนำความร้อน (Thermal conductivity) วัสดุที่มีระดับในการนำความร้อนที่สูงความร้อนจะเคลื่อนที่ผ่านตัวมันเองอย่างรวดเร็ว

 

      ข้อดีก็คือสามารถเลือกวัสดุนำไปใช้ในการระบายความร้อน แต่ถ้าต้องการกักเก็บความร้อนเอาไว้ก็ให้เลือกวัสดุที่มีการนำความร้อนที่น้อย วัสดุโลหะที่มีค่าการนำความร้อนสามารถดูได้จากตารางที่ 4.6

     

วัสดุ

การนำความร้อน

W / (m.K )

แคดเมียม (Cadmium)

92

โคบอลต์ (Cobalt)

69

โครเมียม (Chromium)

91

เงิน (Silver)

427

ซิลิกอน (Silicon)

83.5

ซีลิเนียม (Selenium)

0.5

ดีบุก (Tin)

67

ตะกั่ว (Lead)

35.2

ทอง (Gold)

315

ทองคำขาว (Platinum)

73

ทองแดง (Copper)

398

ทอเรียม (Thorium)

41

ทังสเตน (Tungsten)

178

แทนทาลัม (Tantalum)

57.5

ไทเทเนียม (Titanium)

22

นิกเกิล (Nickel)

90.5

ไนโอเบียม (Niobium)

53

บิสมัท (Bismuth)

8.4

เบริลเลียม (Beryllium)

218

พลวง (Antimony)

18.5

พลูโตเนียม (Plutonium)

8

แมกนีเซียม (Magnesium)

156

แมงกานีส (Manganese)

 

โมลิบดีนัม (Molybdenum)

138

ยูเรเนียม (Uranium)

25

โรเดียม (Rhodium)

150

วาเนเดียม (Vanadium)

60

สังกะสี (Zinc)

121

เหล็ก (Iron)

80.3

เหล็กกล้า (เหนียว) (Steel (Mild))

50

อลูมิเนียม (Aluminum)

237

ออสเมียม (Osmium)

61

อิริเดียม (Iridium)

147

ตารางที่ 4.6 คุณสมบัติการนำความร้อนของโลหะต่าง ๆ

 

รูปเงินที่เป็นโลหะนำความร้อนที่ดีที่สุด

 

จากตารางพบว่า วัสดุโลหะที่นำความร้อนที่ดีที่สุดก็คือ เงิน (แต่ไม่นิยมใช้ในงานทั่วไปเพราะว่ามันมีราคาสูง) รองลงมาก็คือ อลูมิเนียม และทองแดง ทั้งคู่มีคุณสมบัติในการนำความร้อนที่สูง จึงเหมาะในการนำไปทำเป็นวัสดุระบายความร้อน

     

4.6.3 ความจุความร้อน

 

      ความจุความร้อน (Heat capacity) คือ วัสดุได้รับปริมาณความร้อนจนอุณหภูมิของวัสดุเปลี่ยนแปลงไปหนึ่งหน่วยองศา ซึ่งมันจะถูกนำมาใช้ในการคำนวณหาความร้อนจำเพาะของวัสดุ หน่วยที่นิยมใช้วัดปริมาณความร้อนก็คือ BTU (British Thermal Unit: ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์มีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮด์) หรือในหน่วยเอสไอ จูล (J = Nm) หรือกิโลแคลอรี (kcal)

     

 

4.6.4 ความร้อนจำเพาะ   

 

      ความร้อนจำเพาะ(Specific heat: Cp) คือ ปริมาณความร้อนที่เกิดจากการรับ หรือสูญเสียอุณหภูมิความร้อนโดยคิดต่อหนึ่งหน่วยมวล และหนึ่งหน่วยอุณหภูมิ โดยที่สสารนั้นจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะ หน่วยของความร้อนจำเพาะก็คือ Btu/lb/°F หรือหน่วย kcal/kg K ค่าความร้อนจำเพาะในวัสดุโลหะแสดงในตารางที่ 4.7

 

 

วัสดุโลหะ

Specific Heat
( cp)

(Btu/lbmoF)

(kJ/kg K)

แคดเมียม (Cadmium)

0.06

0.25

โคบอลต์ (Cobalt)

0.11

0.46

โครเมียม (Chromium)

0.12

0.5

เงิน (Silver), 20oC

0.056

0.23

ดีบุก (Tin)

 

0.24

ทองคำ (Gold)

0.03

0.13

ทองคำขาว (Platinum), 0oC

0.032

0.13

ทองแดง (Copper)

0.09

0.39

ทองสัมฤทธิ์ (Bronze)

0.09

 

ทองเหลือง (Brass)

0.09

0.38

ทังสเตน (Tungsten)

0.04

0.17

ไทเทเนียม (Titanium)

 

0.47

นิกเกิล (Nickel)

 

0.461

บิสมัท (Bismuth)

0.03

0.13

เบริลเลียม (Beryllium)

 

1.02

แมงกานีส (Manganese)

0.11

0.46

โมลิบดีนัม (Molybdenum)

 

0.272

ยูเรเนียม (Uranium)

 

0.117

โรเดียม (Rhodium)

 

0.24

ลิเทียม (Lithium)

0.86

3.58

วาเนเดียม (Vanadium)

0.12

0.5

สังกะสี (Zinc)

 

0.38

เหล็ก (Iron), 20oC

0.11

0.46

เหล็กกล้า (Steel)

 

0.49

เหล็กอินก็อท (Ingot iron)

 

0.49

อลูมิเนียม (Aluminum), 0oC

0.21

 

อลูมิเนียมผสมทองแดง(Aluminum bronze)

 

0.436

ออสเมียม (Osmium)

 

0.130

อิริเดียม (Iridium)

0.03

0.13

ตารางที่ 4.7 ตารางเปรียบเทียบความร้อนจำเพาะของวัสดุต่าง ๆ

 

  • 1 Btu/lbmoF = 4186.8 J/kg K = 1 kcal/kgoC

 

  • T (oC) = 5/9[T (oF) - 32]

 

  • T (oF) = [T (oC)](9/5) + 32

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

การขึ้นลงบันใดสูงๆ แบบไม่ให้เมื่อย

 

คือการไม่นับว่ากำลังยืนอยู่บันใดขั้นที่เท่าไร

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา