29 จุดหลอมเหลว, ความจุความร้อน และความร้อนจำเพาะ
4.6.2 จุดหลอมเหลว
รูปโลหะหลอมเหลว
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
จุดหลอมเหลว (Melting point) เป็นคุณสมบัติทางความร้อนอย่างหนึ่ง โดยจุดนี้คืออุณหภูมิที่วัสดุจะเปลี่ยนแปลงสถานะจากของแข็งไปเป็นของเหลว ตัวอย่างเหล็กกล้าจะมีจุดหลอมเหลวอยู่ที่ประมาณ 1,700 K (องศาเคลวิน) ส่วนวัสดุอื่น ๆ ดูได้จากตารางที่ 4.5
วัสดุ
|
จุดหลอมเหลว
|
Kelvin (K)
|
แคดเมียม (Cadmium)
|
594
|
โคบอลต์ (Cobalt)
|
1,768
|
โครเมียม (Chromium)
|
2,133
|
เงิน (Silver)
|
1,234
|
ซิลิกอน (Silicon)
|
1,684
|
ซีลิเนียม (Selenium)
|
490
|
ดีบุก (Tin)
|
505
|
ตะกั่ว (Lead)
|
600.7
|
ทอง (Gold)
|
1,336
|
ทองคำขาว (Platinum)
|
2,043
|
ทองแดง (Copper)
|
1,357
|
ทอเรียม (Thorium)
|
2,023
|
ทังสเตน (Tungsten)
|
3,673
|
แทนทาลัม (Tantalum)
|
3,253
|
ไทเทเนียม (Titanium)
|
1,943
|
นิกเกิล (Nickel)
|
1,726
|
ไนโอเบียม (Niobium)
|
2,740
|
บิสมัท (Bismuth)
|
544
|
เบริลเลียม (Beryllium)
|
1,558
|
พลวง (Antimony)
|
903
|
พลูโตเนียม (Plutonium)
|
913
|
แมกนีเซียม (Magnesium)
|
923
|
แมงกานีส (Manganese)
|
1,517
|
โมลิบดีนัม (Molybdenum)
|
2,893
|
ยูเรเนียม (Uranium)
|
1,405
|
โรเดียม (Rhodium)
|
2,238
|
วาเนเดียม (Vanadium)
|
2,173
|
สังกะสี (Zinc)
|
692.7
|
เหล็ก (Iron)
|
1,809
|
เหล็กกล้า (เหนียว) (Steel (Mild))
|
1,630-1,750
|
อลูมิเนียม (Aluminum)
|
933
|
ออสเมียม (Osmium)
|
3,298
|
อิริเดียม (Iridium)
|
2,723
|
ตารางที่ 4.5 จุดหลอมเหลวของวัสดุในหน่วยเคลวิน
วิดีโอแสดงการให้ความร้อนโลหะจนถึงจุดหลอมเหลว
ถ้าความร้อน สามารถเคลื่อนที่ผ่านเนื้อวัสดุได้อย่างรวดเร็ว เราเรียกวัสดุนี้ว่ามี คุณสมบัติในการนำความร้อน (Thermal conductivity) วัสดุที่มีระดับในการนำความร้อนที่สูงความร้อนจะเคลื่อนที่ผ่านตัวมันเองอย่างรวดเร็ว
ข้อดีก็คือสามารถเลือกวัสดุนำไปใช้ในการระบายความร้อน แต่ถ้าต้องการกักเก็บความร้อนเอาไว้ก็ให้เลือกวัสดุที่มีการนำความร้อนที่น้อย วัสดุโลหะที่มีค่าการนำความร้อนสามารถดูได้จากตารางที่ 4.6
ตารางที่ 4.6 คุณสมบัติการนำความร้อนของโลหะต่าง ๆ
รูปเงินที่เป็นโลหะนำความร้อนที่ดีที่สุด
จากตารางพบว่า วัสดุโลหะที่นำความร้อนที่ดีที่สุดก็คือ เงิน (แต่ไม่นิยมใช้ในงานทั่วไปเพราะว่ามันมีราคาสูง) รองลงมาก็คือ อลูมิเนียม และทองแดง ทั้งคู่มีคุณสมบัติในการนำความร้อนที่สูง จึงเหมาะในการนำไปทำเป็นวัสดุระบายความร้อน
4.6.3 ความจุความร้อน
ความจุความร้อน (Heat capacity) คือ วัสดุได้รับปริมาณความร้อนจนอุณหภูมิของวัสดุเปลี่ยนแปลงไปหนึ่งหน่วยองศา ซึ่งมันจะถูกนำมาใช้ในการคำนวณหาความร้อนจำเพาะของวัสดุ หน่วยที่นิยมใช้วัดปริมาณความร้อนก็คือ BTU (British Thermal Unit: ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์มีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮด์) หรือในหน่วยเอสไอ จูล (J = Nm) หรือกิโลแคลอรี (kcal)
4.6.4 ความร้อนจำเพาะ
ความร้อนจำเพาะ(Specific heat: Cp) คือ ปริมาณความร้อนที่เกิดจากการรับ หรือสูญเสียอุณหภูมิความร้อนโดยคิดต่อหนึ่งหน่วยมวล และหนึ่งหน่วยอุณหภูมิ โดยที่สสารนั้นจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะ หน่วยของความร้อนจำเพาะก็คือ Btu/lb/°F หรือหน่วย kcal/kg K ค่าความร้อนจำเพาะในวัสดุโลหะแสดงในตารางที่ 4.7
วัสดุโลหะ
|
Specific Heat
( cp)
|
(Btu/lbmoF)
|
(kJ/kg K)
|
แคดเมียม (Cadmium)
|
0.06
|
0.25
|
โคบอลต์ (Cobalt)
|
0.11
|
0.46
|
โครเมียม (Chromium)
|
0.12
|
0.5
|
เงิน (Silver), 20oC
|
0.056
|
0.23
|
ดีบุก (Tin)
|
|
0.24
|
ทองคำ (Gold)
|
0.03
|
0.13
|
ทองคำขาว (Platinum), 0oC
|
0.032
|
0.13
|
ทองแดง (Copper)
|
0.09
|
0.39
|
ทองสัมฤทธิ์ (Bronze)
|
0.09
|
|
ทองเหลือง (Brass)
|
0.09
|
0.38
|
ทังสเตน (Tungsten)
|
0.04
|
0.17
|
ไทเทเนียม (Titanium)
|
|
0.47
|
นิกเกิล (Nickel)
|
|
0.461
|
บิสมัท (Bismuth)
|
0.03
|
0.13
|
เบริลเลียม (Beryllium)
|
|
1.02
|
แมงกานีส (Manganese)
|
0.11
|
0.46
|
โมลิบดีนัม (Molybdenum)
|
|
0.272
|
ยูเรเนียม (Uranium)
|
|
0.117
|
โรเดียม (Rhodium)
|
|
0.24
|
ลิเทียม (Lithium)
|
0.86
|
3.58
|
วาเนเดียม (Vanadium)
|
0.12
|
0.5
|
สังกะสี (Zinc)
|
|
0.38
|
เหล็ก (Iron), 20oC
|
0.11
|
0.46
|
เหล็กกล้า (Steel)
|
|
0.49
|
เหล็กอินก็อท (Ingot iron)
|
|
0.49
|
อลูมิเนียม (Aluminum), 0oC
|
0.21
|
|
อลูมิเนียมผสมทองแดง(Aluminum bronze)
|
|
0.436
|
ออสเมียม (Osmium)
|
|
0.130
|
อิริเดียม (Iridium)
|
0.03
|
0.13
|
ตารางที่ 4.7 ตารางเปรียบเทียบความร้อนจำเพาะของวัสดุต่าง ๆ
-
1 Btu/lbmoF = 4186.8 J/kg K = 1 kcal/kgoC
-
T (oC) = 5/9[T (oF) - 32]
-
T (oF) = [T (oC)](9/5) + 32
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“การขึ้นลงบันใดสูงๆ แบบไม่ให้เมื่อย
คือการไม่นับว่ากำลังยืนอยู่บันใดขั้นที่เท่าไร”
|