22 ความแข็งแกร่งต่อการบิด, การโค้งงอ
4.1.9 ความแข็งแกร่งต่อการบิด
หมายถึง วัสดุสามารถทนทานต่อแรงบิด หรือการหมุนเฉือน ดูได้ที่รูป จะเกิดการบิดในชิ้นส่วนเครื่องกลที่เป็นเพลาหมุน เมื่อเกิดความเค้นมากเกินไป อาจทำให้วัสดุบิดตัวจนแตก หรือเสียรูปได้
รูปผังการบิดตัวของเพลา
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
รูปการบิดตัว
รูปการใช้งานของเพลาบิดตัว (Torsion bar) ในรถยนต์
ความเค้นบิดสูงสุดในเพลา หรือแท่งบาร์ คำนวณจาก
สมการ 4.2
กำหนดให้ t = ความเค้นบิดสูงสุด
T = แรงบิด หน่วย N.m, ft.lbs, in.lbs ฯลฯ
r = ระยะจากจุดศูนย์กลางของเพลาไปถึงพื้นผิวนอก หน่วย m, ft, in ฯลฯ
J = โมเมนต์ความเฉื่อยเชิงขั้ว (Polar moment of inertia) สำหรับเพลากลมตันมีสูตรดังนี้
สมการ 4.3
สำหรับเพลากลมกลวง มีสูตรดังนี้
สมการ 4.4
กำหนดให้ D = เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก
d = เส้นผ่านศูนย์กลางเพลากลวงภายใน
วิดีโอทดสอบความทนทานต่อแรงบิดของเหล็กเหนียว (Mild steel)
วิดีโอทดสอบความทนทานต่อแรงบิดของเหล็กหล่อ (Cast iron)
ตัวอย่างที่ 4.5 (หน่วย SI) เพลากลมตันขนาด 40 มิลลิเมตร มอเตอร์ส่งแรงบิดให้กับเพลา 1,500 นิวตันเมตร จงคำนวณหาความเค้นที่ได้จากแรงบิด
รูปตัวอย่างมอเตอร์ส่งแรงบิดหมุน
รูปตัวอย่างเพลาถูกแรงบิดตัว
วิธีทำ โจทย์กำหนดให้ เส้นผ่านศูนย์กลางเพลากลมตัน (f)= 40 mm = 0.04 , มอเตอร์สร้างแรงบิดให้เพลา (T) = 1,500 N.m ให้หา t =? N/mm2
ขั้นตอนที่ 1 หาโมเมนต์ความเฉื่อยเชิงขั้ว
รูปวิธีทำ
= 2.513 ´ 10-7 m4
ขั้นตอนที่ 2 หาค่าความเค้นบิดโดยใช้สมการ (4.2)
รูปวิธีทำ
\ค่าความเค้นดึงที่เกิดขึ้นในเพลา = 119.379 MN/m2 ตอบ
4.1.10 ความแข็งแกร่งต่อการโค้งงอ
หมายถึง วัสดุสามารถทนทานต่อแรงที่จะทำให้วัสดุเกิดการโค้งงอ หรือความแข็งแกร่งในด้าน การดัด (Bending) ด้านหนึ่งจะเกิดการดึง และอีกด้านหนึ่งจะเกิดการอัด ดูรูป ปกติแล้วการโค้งงอจะพบในคาน และชิ้นส่วนเครื่องกลที่มีความยาว
รูปคานถูกแรงกระทำจนเกิดการโค้งงอ จะเกิดความเค้นดึง และความเค้นดัดคู่กัน ซึ่งด้านบนของคานจะเกิดการอัด ส่วนด้านล่างเกิดการดึง
รูปวัสดุโดนดัดจนโค้งงอรูปด้านบนวัสดุเกิดความเค้นดึง ส่วนรูปล่างเกิดความเค้นอัด
รูปจำลองเหล็กคานไอบีม (I-beam) ที่เกิดการโค้งงอ
วิดีโอทดสอบความทนทานต่อการโค้งงอ
เมื่อการโค้งเกิดที่แท่งวัสดุ ความเค้นดึงจะเกิดขึ้นด้านหนึ่ง และอีกด้านหนึ่งจะเกิดความเค้นอัด ซึ่งจะตรงข้ามกันเสมอสำหรับคานสมมาตร ความเค้นสูงสุดสามารถคำนวณได้จากสมการดังนี้
รูปสมการ 4.5
กำหนดให้ M = โมเมนต์ดัด หน่วย นิวตัน-เมตร, นิ้ว-ปอนด์
c = ระยะทางจากแกนกลางของชิ้นส่วน หน่วยเมตร, นิ้ว
I = คือโมเมนต์ความเฉื่อย
สำหรับหน้าตัดสี่เหลี่ยม, หน้าตัดวงกลม, หน้าตัดกลมกลวง
รูปพื้นที่หน้าตัดโมเมนต์ความเฉื่อย
ตัวอย่างที่ 4.6 (หน่วยอังกฤษ) ดูในรูป ถ้าเส้นผ่านศูนย์กลางชิ้นส่วนเครื่องกลมีขนาด 0.75 นิ้ว และโมเมนต์ดัดเท่ากับ 8800 นิ้ว-ปอนด์
วิธีทำ หาโมเมนต์ความเฉื่อยในเพลากลม
รูปวิธีทำ
= 0.01553 in4
และความเค้นโค้งงอจะหาได้จาก
รูปวิธีทำ
= 212,500 psi ตอบ
ในตัวอย่างด้านบน นี้จะเห็นว่ามีความเค้นดึงที่อยู่ด้านล่างเพลามีค่าเท่ากับ 212,500 psi และความเค้นอัดด้านบนเพลามีค่าเท่ากับ 212,500 psi ความเค้นที่เกิดขึ้นสองด้าน จนเพลาเกิดการโค้งงอ
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ใคร่ครวญดูก่อน แล้วจึงลงมือทำ”