บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,622
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 12,651
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 59,808
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,875,060
  Your IP :3.145.169.122

บทที่ 4 คุณสมบัติโลหะ

 

   คุณสมบัติของโลหะ คือ ลักษณะเด่น, ความสามารถ, ลักษณะเฉพาะ, ความแข็งแกร่ง, ข้อดี, ข้อเสีย และลักษณะผิดปกติของวัสดุ

  

   สิ่งที่กล่าวมาเหล่านี้มีไว้เพื่อเปรียบเทียบถึงความแตกต่างของวัสดุในทางทางวิศวกรรม จำเป็นต้องทราบถึงคุณสมบัติของวัสดุ ก็เพื่อดูว่าวัสดุนั้น สามารถทนทานต่อแรงที่กระทำ, ทนทานต่อการพังทลาย, ทนทานต่อการเสียรูป, ทนทานต่อการกัดกร่อน หรืออื่น ๆ ได้หรือไม่

 

คุณสมบัติของโลหะ สามารถแบ่งออกได้ดังตารางที่ 4.1 ดังนี้

 

คุณสมบัติของโลหะ

คุณสมบัติทางกล

คุณสมบัติที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างความเค้น /ความเครียด

คุณสมบัติทางเคมี

คุณสมบัติทางไฟฟ้า

คุณสมบัติทางความร้อน

คุณสมบัติอื่น ๆ

o ความแข็ง

o ความแข็งแกร่ง

o ความเปราะ

o ความเหนียว

o ความเค้น

o ความแข็งแกร่งทางดึง

o ความแข็งแกร่งต่อการกดอัด

o ความทนทานต่อการเฉือน

o ความทนทานต่อการบิด

o ความทนทานต่อการดัด

o ความทนทานต่อการพังทลาย

o ความทนทาน

o ความทนทานต่อการกระแทก

o ความสามารถในการดัด

o % การยืดตัว

o ความเครียด

o ความยืดหยุ่น

o ความเป็นพลาสติก

o การดัดแปลงง่าย

o โมดูลัสความยืดหยุ่น

o ผังไดอะแกรมความเค้น ความเครียด

o ช่วงยืดหยุ่น

o ช่วงพลาสติก

o การคืบ

o อัตราส่วนพอยต์สัน

o ความต้านทานต่อการกัดกร่อน

o ความทนทานต่อกรด

o ความทนทานต่อด่าง

o ความทนทานต่อสารเคมีอื่น ๆ

o การนำไฟฟ้า

o ความต้านทานไฟฟ้า

o ความแข็งแกร่งของฉนวน

o ความไวต่อแม่เหล็ก

o สัมประสิทธิ์ทางความร้อน

o อุณหภูมิหลอมเหลว

o การนำความร้อน

o ความจุความร้อน

o ความร้อนจำเพาะ

o น้ำหนัก

o ความหนาแน่น

o น้ำหนักจำเพาะ

o การสึกหรอ

o ความสามารถที่กระทำด้วยเครื่องกล

o ความสามารถในการเชื่อม

ตารางที่ 4.1 กลุ่มประเภทคุณสมบัติวัสดุทั่วไป

 

1. คุณสมบัติทางกล (Mechanical properties) เช่น ความแข็งแกร่ง (Strength), ความแข็ง (Hardness)

 

2. คุณสมบัติความสัมพันธ์ระหว่างความเค้น/ความเครียด เช่น โมดูลัสความยืดหยุ่น (Modulus of elasticity)

 

3. คุณสมบัติทางเคมี (Chemical properties) เช่น ความทนทานต่อการกัดกร่อน

 

4. คุณสมบัติทางไฟฟ้า (Electrical properties) เช่น ความต้านทานทางไฟฟ้า

 

5. คุณสมบัติทางความร้อน (Thermal properties) เช่น อุณหภูมิจุดหลอมเหลว

 

6. คุณสมบัติด้านอื่น ๆ เช่น ความหนาแน่น และความสึกหรอ (Wear)

 

 

4.1 คุณสมบัติทางกล

       ความแข็ง, ความเหนียว (Ductility) และความแข็งแกร่ง เป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานในทางกลของวิชาโลหะวิทยา

 

รูปเครื่องทดสอบคุณสมบัติทางกล

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปการทดสอบคุณสมบัติทางกลในห้องปฏิบัติการ

 

วิดีโอแสดงการทดสอบคุณสมบัติของโลหะทางการดึง

 

คุณสมบัติทั้งสามเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันด้วย กล่าวคือ เมื่อความแข็ง และความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้น ความเหนียวจะลดลง ทำให้วัสดุนั้นมีแนวโน้มเป็น วัสดุเปราะ (Brittle) ในทางกลับกันวัสดุที่มีความเหนียวมาก จะทำให้ความแข็ง และความแข็งแกร่งลดลง

 

รูปตัวอย่างเหล็กหล่อเป็นวัสดุเปราะ

 

        ความแข็งแกร่ง, ความแข็ง และความเหนียว ปกติแล้วเป็นสิ่งที่มีความต้องการที่จะให้เกิดขึ้นในโลหะ ส่วนความเปราะ (ตรงกันข้ามกับความเหนียว) เป็นสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดในโลหะ ดังนั้น ในทางโลหะวิทยา ต้องทำการศึกษา ทดลอง เพื่อให้วัสดุมีความสามารถในด้านความแข็งแกร่ง ความแข็ง ที่เพิ่มขึ้น โดยไม่ทำให้ความเหนียวลดลง

 

รูปท่อโลหะเป็นตัวอย่างวัสดุเหนียว

 

4.1.2 ความแข็ง

 

       ความแข็ง คือความต้านทานต่อการเสียรูปวัสดุอย่างถาวร วัสดุที่มีความแข็งสูง ค่าความแข็งแกร่งก็จะสูงตามไปด้วย ในการทดสอบความแข็งได้กล่าวรายละเอียดไว้แล้วในบทที่ 3 ในการหลอมโลหะเมื่อเพิ่มส่วนผสมของธาตุลงไปในโลหะหลอมทำให้ความสามารถด้านความแข็ง และความแข็งแกร่งมีคุณภาพดีขึ้น และไม่ทำให้ความเหนียวลดลง

      

 

4.1.3 ความเหนียว และความเปราะ  

 

        ความเหนียว และความเปราะจะเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ตรงกันข้ามกันเสมอ คุณสมบัติของทั้งคู่จะถูกนำมาศึกษาในการเรียนรู้เกี่ยวกับความเหนียวของวัสดุ ถ้าวัสดุทดสอบสามารถยืดได้ค่อนข้างมากก่อนที่มันจะขาดออกจากกัน เราเรียกว่า วัสดุนั้นมีความเหนียว ในทางกลับกันถ้าวัสดุมีการยืดตัวได้น้อย และขาดออกจากกัน แสดงถึง วัสดุนั้นมีความเปราะ หรือมีความเหนียวน้อย

 

รูปการเปรียบเทียบวัสดุเหนียวกับวัสดุเปราะวัสดุที่มีความเหนียวจะยืดได้มากกว่าวัสดุเปราะ ก่อนที่วัสดุจะขาด

 

กราฟความเค้น และความเครียดเพื่อเปรียบเทียบวัสดุเหนียว กับวัสดุเปราะ

 

วิดีโอการทดสอบดึงแท่งทองเหลือง

 

       ในการผลิตโลหะออกมาใช้งานเกือบทั้งหมด เราต้องการคุณสมบัติความเหนียวของโลหะมากกว่าความเปราะ วัสดุที่เหนียวสามารถทนทานต่อการกระแทกที่หนักได้ดีกว่า และสามารถซึมซับพลังงานก่อนที่จะเกิดความเสียหายได้มากกว่าวัสดุที่มีความเปราะ

 

       วัสดุที่มีความเปราะปกติแล้วจะมีความแข็งแกร่งกว่าวัสดุเหนียว แต่ในปัจจุบันก็ไม่เสมอไป เมื่อเทคโนโลยีทางด้านโลหะวิทยามีมากขึ้น วัสดุเหนียวก็ถูกผลิตมาให้มีความทนทานต่อการยืดตัว (แข็งแกร่ง) ที่สูงกว่า

 

รูปแก้วเป็นตัวอย่างวัสดุเปราะ

 

 

รูปอลูมิเนียม และยางเป็นตัวอย่างวัสดุเหนียว

 

ตัวอย่างของวัสดุเหนียว เช่น เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ, อลูมิเนียม, ยาง ฯลฯ

 

ส่วนตัวอย่างของวัสดุเปราะเช่น เหล็กหล่อ, แก้ว ฯลฯ

 

วิดีโอการทดสอบความเหนียวของวัสดุอย่างง่าย

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

บางคนฝันที่จะประสบความสำเร็จอย่างสวยหรู

 

ในขณะที่บางคนกำลังลงมือกระทำ

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา