17 การทดสอบความแข็งแบบโมห์สเกล และตะไบ
3.13 การทดสอบความแข็งแบบโมห์สเกล
โมห์สเกล (Mohs Scale) เป็นการทดสอบความแข็งที่เกิดขึ้นเริ่มแรกสุด ซึ่งเป็นการทดสอบที่คิดค้นจากนักคิดนักปราชญ์สมัยก่อน
นักปราชญ์สมัยนั้นได้คิดค้น เปรียบเทียบ และแบ่งสเกลความแข็งจากวัสดุแม่แบบออกเป็น 10 ชนิดด้วยกันโดยการเรียงลำดับตัวเลขจาก 1-10 จะเป็นวัสดุจากอ่อนสุดไปถึงวัสดุที่แข็งสุด ดูได้ที่ตาราง
ความแข็งแบบโมห์สเกล
|
ลำดับค่าความแข็ง (Mohs)
|
วัสดุแม่แบบ
|
1
|
แป้งทาลซ์ (Talc)
|
2
|
ยิปซัม (Gypsum)
|
3
|
แคลไซต์ (Calcite)
|
4
|
ฟลูออไรด์ (Fluorite)
|
5
|
อะพาไทต์ (Apatite)
|
6
|
ออร์โธเคลส (Orthoclase), ไมโครไซลน์ (Microcline)
|
7
|
ผลึกควอทซ์ (Quartz)
|
8
|
บุษราคัม (Topaz)
|
9
|
ไพลิน (Sapphire) ,อลูมิเนียมออกไซด์ (Corundum)
|
10
|
เพชร (Diamond)
|
ตาราง วัสดุทั้งสิบเหล่านี้แบ่งความแข็งออกเป็นโมห์สเกล วัสดุที่อ่อน (ทาลซ์) มีค่าเป็น1 และวัสดุที่แข็งที่สุด (เพชร) มีค่าเป็น 10
วิดีโอแสดงวัสดุเปรียบเทียบค่าความแข็งแบบโมห์สเกลจากวัสดุอ่อนสุด ไปจนถึงวัสดุแข็งสุด
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
รูปการเทียบความแข็งของวัสดุต่าง ๆ กับค่าความแข็งแบบโมห์สเกล
รูปแป้งทาลซ์ ความแข็ง 1 โมห์สเกล
รูปแร่ยิปซัม ค่าความแข็ง 2 โมห์สเกล
รูปแร่แคลไซต์ ค่าความแข็ง 3 โมห์สเกล
รูปฟลูออไรด์ ค่าความแข็ง 4 โมห์สเกล
รูปอะพาไทต์ ความแข็ง 5 โมห์สเกล
รูปออร์โธเคลส ค่าความแข็ง 6 โมห์สเกล
รูปผลึกควอทซ์ ค่าความแข็ง 7 โมห์สเกล
รูปบุษราคัม ค่าความแข็ง 8 โมห์สเกล
รูปไพลิน ค่าความแข็ง 9 โมห์สเกล
รูปเพชร ค่าความแข็ง 10 โมห์สเกล
วิธีใช้การวัดความแข็งแบบโมห์สเกล เปรียบเทียบกับวัสดุแม่แบบ โดยการเอาชิ้นงานชิ้นหนึ่งมาทดสอบ นำไปขีดกับวัสดุแม่แบบทีละชนิดอาจเรียงจากวัสดุแม่แบบอ่อนสุดไปถึงแข็งสุด หรือจากแข็งสุดไปถึงอ่อนสุด หรือเลือกวัสดุแม่แบบก็ได้ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ทดสอบ จนชิ้นงานทดสอบเกิดรอยบนชิ้นงาน ความแข็งก็จะเป็นค่าโมห์สเกลนั้น
ยกตัวอย่างทดสอบ เช่น ชิ้นงานชิ้นหนึ่งเมื่อนำมาขีดกับบุษราคัม เกิดรอย นำไปขีดกับควอทซ์เกิดรอย ออร์โธเคลสก็เกิดรอย แล้วเรียงลำดับไปจนถึงขีดกับ ฟลูออไรด์ไม่เกิดรอยที่ชิ้นงาน ค่าความแข็งชิ้นงานนี้จะอยู่ในระหว่าง 4 และ 5 โมห์
วิดีโอการทดสอบความแข็งแบบโมห์สเกล
การทดสอบค่าความแข็งแบบโมห์สเกลนั้น แน่นอนว่ามีความหยาบในการวัดความแข็ง แต่ในปัจจุบันการทดสอบความแข็งแบบนี้มันยังมีประโยชน์ และมีประโยชน์ในบางสาขาเช่น ในงานของนักธรณีวิทยาจะนำมาใช้บ่อยเพื่อขุดสำรวจหาทรัพยากรธรรมชาติ
อีกอย่างหนึ่งการทดสอบความแข็งแบบโมห์สเกลนี้เป็นต้นแบบของการพัฒนางานทดสอบความแข็งวิธีการอื่น ๆ
3.14 วิธีการทดสอบความแข็งแบบตะไบ
วิธีการตะไบ (File) เป็นวิธีการที่รวดเร็ว, ง่าย และสะดวก แต่ไม่แม่นยำ อย่างไรก็ตามมันทำการวัดได้เร็ว ดังนั้นมันใช้ได้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมดูรูปด้านล่าง
รูปชุดตะไบที่ใช้ทดสอบความแข็งโดยการตะไบผิววัสดุ ถ้าไม่มีก็สามารถใช้ตะไบธรรมดาที่ใช้งานอยู่ก็ได้
รูปการทดสอบความแข็งด้วยตะไบ
รูปการทดสอบความแข็งด้วยตะไบ 2
การใช้ตะไบทดสอบความแข็ง ผู้ตรวจสอบ นำตะไบมาถูกับวัสดุเพื่อทำให้เกิดรอยขูด ทดสอบวัสดุโดยใช้ตะไบถูให้เกิดเศษมาติดที่ปลายตะไบ ถ้าวัสดุไม่มีเศษ เป็นชิ้นงานแข็ง (File hard) ถ้ามีเศษออกมา เป็นชิ้นงานที่ไม่แข็ง (Not file hard)
การวัดความแข็งแบบนี้เป็นการวัดแบบหยาบ ๆ ไม่รู้ค่าที่แน่นอน แต่ถึงอย่างไร ภาคอุตสาหกรรมก็นิยมนำมาใช้เพราะบ่อยครั้งที่ผู้ทำการตรวจสอบความแข็ง ต้องการความง่ายในการตรวจสอบชิ้นงานบางชิ้นที่ไม่ต้องการตัวเลขค่าความแข็ง
วิธีการทดสอบแบบนี้ไม่ต้องการได้ค่าที่แม่นยำ การใช้ตะไบทดสอบความแข็งจะขึ้นอยู่กับประสาทสัมผัสของมือของผู้ตรวจสอบ และความคมของตะไบ เหมาะสำหรับผู้ตรวจสอบที่มีประสบการณ์ในการใช้ตะไบในการตรวจสอบวัสดุ
ผู้มีทักษะในการทำงานมากก็จะบอกได้ว่าวัสดุนี้มีความแข็งมากน้อยเพียงไรความผิดพลาดก็จะมีน้อยลงไปด้วยตามประสบการณ์
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ประสบการณ์ คือ การเรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเอง
ความรู้ คือ การเรียนรู้จากความผิดพลาดของคนอื่น”