17 3.11 วิธีการทดสอบความแข็งแบบชอร์ เชโรสโคป และแบบโซโนเดอร์
3.11 วิธีการทดสอบความแข็งแบบชอร์ เชโรสโคป
การทดสอบความแข็งแบบชอร์ เชโรสโคบ (Shore Scleroscope) เป็นวิธีการแตกต่างจากวิธีการอื่น ไม่มีหัวกดที่พื้นผิวชิ้นงาน ด้วยหัวกดเพชร หรือหัวกดลูกบอล แต่จะมีลูกค้อนเล็ก ๆ ปล่อยลงไปที่ชิ้นงานให้มันกระทบชิ้นงาน สะท้อนผิวชิ้นงาน แล้วดูการกระเด้งกระดอนขึ้นของลูกค้อน ตัวอย่างของเครื่องชอร์ เชโรสโคบแสดงในรูป
วิดีโอการทดสอบแบบชอร์ เชโรสโคบ
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
รูปเครื่องทดสอบแบบชอร์ เชโรสโคบ
3.11.1 ขั้นตอนการทดสอบความแข็งแบบชอร์ เชโรสโคบ
นำชิ้นงานทดสอบไปวางที่ทั่งวางงาน ยกลูกค้อนเหล็ก หรือค้อนกระทบให้ขึ้นไปที่ความสูง 10 นิ้ว (25.4 เซนติเมตร) ทดสอบโดยการปล่อยลูกค้อนให้ตกกระแทกที่ชิ้นงานทดสอบ และลูกค้อนจะกระเด้งขึ้น คิดความแข็งจากความสูงของการกระเด้งขึ้นในครั้งแรก ลูกค้อนมีน้ำหนัก 40เกรน (Grain) 3 กรัม (น้อยกว่า 0.001 ปอนด์)
ความสูงของการกระเด้งขึ้นครั้งแรกที่แสดงในเครื่องชอร์ เชโรสโคบ โดยดูจากสเกลวัดของเครื่อง สามารถการอ่านค่าวัดที่หน้าปัดนาฬิกาวัด
รูปภายในของเครื่อง
ความสูงจากการกระเด้งขึ้นนี้จะถูกเปลี่ยนไปเป็นค่าความแข็ง ในหน่วยของ ชอร์ (Shore) ตัวอย่าง ถ้าลูกค้อนกระเด้งครั้งแรกสูง 6 1/4” หลังจากกระแทกกับชิ้นทดสอบ ความแข็งที่อ่านได้ 100 ชอร์ ถ้าค้อนกระเด้งขึ้น 3 1/8” อ่านค่าความแข็งได้ 50 ชอร์ ถ้าลูกค้อนตกกระแทกชิ้นทดสอบ และไม่กระเด้ง ค่าความแข็งจะอ่านค่าได้ 0 ชอร์
ชิ้นงานที่ทดสอบถ้าพื้นผิวไม่ดีขรุขระ สกปรก จะมีผลต่อการเคลื่อนที่ของลูกค้อน ฉะนั้น ต้องให้ชิ้นงานก่อนทำการทดสอบควรที่จะมีพื้นผิวราบเรียบ, แบน, สะอาด และเป็นระนาบ การควบคุมพื้นผิวให้มีคุณภาพจะมีความสำคัญกว่าวิธีการอื่น ๆ ที่กล่าวมา
3.11.2 ข้อได้เปรียบของการทดสอบความแข็งแบบชอร์ เชโรสโคบ
· ไม่เกิดรอยกับชิ้นงาน เพราะอาศัยการกระเด้งขึ้นเพื่ออ่านค่าทดสอบ
· เครื่องทดสอบมีขนาดเล็ก และพกไปมาได้สะดวก มันสามารถเคลื่อนย้ายได้รอบโรงงาน ซึ่งต่างกับการทดสอบแบบร็อคเวล และบริเนลที่มีขนาดใหญ่ การเคลื่อนย้ายไม่สะดวก
3.12 กรรมวิธีการทดสอบความแข็งแบบโซโนเดอร์
วิธีการทดสอบความแข็งแบบโซโนเดอร์ (Sonodur) เป็นความแตกต่างจากการทดสอบแบบอื่นอย่างมาก การทดสอบแบบนี้ มีหลักการหาความแข็งจากการทำให้ชิ้นงานเกิด ความถี่เรโซแนนท์ธรรมชาติ (Natural resonant frequency) ที่ชิ้นโลหะ
3.12.1 ขั้นตอนการทดสอบแบบโซโนเดอร์
ในการทำการทดสอบความแข็งแบบโซโนเดอร์ จะมี แท่งสนามแม่เหล็กเข้มข้น (Magnetostrictive) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.75 มิลลิเมตร กดทาบที่ชิ้นทดสอบก่อนที่จะทำการทดสอบ มีคอยล์ไฟฟ้า เมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าที่คอยล์ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนที่แท่ง และเกิดความถี่ที่ซึ่งสั่นสะเทือนสูงมากที่ชิ้นงาน การหาค่าความแข็งโดยการคำนวณในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่เครื่องทดสอบ ความถี่ที่เรียกว่า ความถี่ก้อง หรือเรโซแนนท์ (Resonant frequency) วัสดุที่แข็ง จะให้ความถี่เรโซแนนท์ที่สูง
ค่าความถี่เรโซแนนท์ จะถูกเปลี่ยนไปเป็นค่าความแข็งที่เครื่องทดสอบโซโนเดอร์ แล้วถูกแปลงค่าหน่วยของความถี่ไปเป็นหน่วย BHN
3.12.2 ข้อได้เปรียบของการทดสอบความแข็งแบบโซโนเดอร์
เครื่องทดสอบโซโนเดอร์มีขนาดเล็ก และพกพาได้ อีกทั้งยังมีให้ผลตอบสนองที่เร็ว และไม่ทำให้ชิ้นงานทดสอบเกิดความเสียหาย วิธีการทดสอบความแข็งแบบโซโนเดอร์ เป็นเทคโนโลยีการทดสอบที่ใหม่ และทำงานได้อย่างแม่นยำมาก
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
เพราะแสวงหา มิใช่เพราะรอคอย เพราะเชี่ยวชาญ มิใช่เพราะโอกาส
เพราะสามารถ มิใช่เพราะโชคช่วย ดังนี้แล้ว "ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน"
ขงเบ้ง