บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,454
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 12,483
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 59,640
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,892
  Your IP :3.15.225.177

13 3.9 วิธีการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวล

 

       วิธีการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวล (Rockwell Hardness Testing Method) เป็นวิธีที่นำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวางที่สุดของการทดสอบความแข็งของโลหะในแวดวงอุตสาหกรรม

 

      การทดสอบทำได้อย่างรวดเร็ว และอ่านค่าได้โดยตรงทันที โดยไม่ต้องทำการวัดขนาดรอยกดบุ๋ม อีกทั้งยังนำมาใช้ทดสอบกับวัสดุที่มีขนาดเล็ก และแข็งมากได้ หัวกดทดสอบร็อคเวลมีอยู่ 2 ชนิด นั่นก็คือ หัวกดเพชรทรงกรวย (Diamond cone) และ หัวกดแบบลูกบอลกลม จึงทำให้มีสเกลการวัดมากมายหลากหลายสเกล ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดในหัวข้อต่อ ๆ ไป

 

หัวกดจะมีรูปร่างเป็นกรวยแหลม และค่าความแข็งของร็อคเวลเป็นที่นิยม และให้ความแม่นยำค่าความแข็งที่สูงมาก เครื่องทดสอบสามารถดูได้จากรูป

 

รูปเครื่องทดสอบความแข็งแบบร็อคเวล

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปเครื่องทดสอบความแข็งแบบร็อคเวล 2

 

รูปเครื่องทดสอบควาแข็งแบบร็อคเวลรุ่นเก่า

 

 

3.9.1 ขั้นตอนการทดสอบแบบร็อคเวล

 

       การใส่แรงเพื่อทดสอบวัสดุในแบบร็อคเวลนั้นมีอยู่สองขั้นตอน ขั้นตอนแรกใส่แรงนำเพียงเล็กน้อย ก่อนที่จะใส่แรงหลักตามไป ส่วนขั้นตอนการทำงานจะมีอยู่ 4 ขั้นตอน ดูที่รูป

 

รูปหัวกดของเครื่องทดสอบร็อคเวล

 

รูปหัวกดแบบร็อคเวล 2

 

รูปหัวกดขณะกดลงบนชิ้นงาน

 

รูปหัวกดลงบนชิ้นงาน 2

 

รูปการกดลงบนชิ้นงานที่มีทั้งแรงรอง และแรงหลัก

 

 

ขั้นตอนที่ 1. นำชิ้นงานวางบนทั่ง หรือโต๊ะวางงานทดสอบ

 

ขั้นตอนที่ 2. หมุนทั่งขึ้นมาด้วยมือจนกระทั่งชิ้นงานสัมผัสกับหัวกด ป้อนแรงให้กับหัวกดที่เรียก แรงรอง (Minor load) กดลงไปในชิ้นงานทดสอบ แรงนี้จะมีค่าประมาณ 10 กิโลกรัม

 

รูปการกดทดสอบค่าความแข็งของเฟือง

 

      ต้องป้อนแรงรองก่อนที่จะใส่ แรงหลัก (Major load) ที่ทำแบบนี้ก็เพื่อ เป็นการนำร่องรอยกด แล้วก็เพื่อป้องกันการกดพลาดที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเจอผิวที่มีความขรุขระ และไม่ราบเรียบ

 

ขั้นตอนที่ 3. หลังจากที่แรงรองกระทำแล้ว ก็จะมีแรงหลัก (ใช้แรงกด 60, 100, 150 กิโลกรัม) (บวกนับจากแรงรอง 10 + 50, 10 + 90, 10 + 140) กระทำด้วยการใช้มือหมุนในเครื่องรุ่นเก่า หรือเป็นการกดลงอย่างอัตโนมัติในเครื่องสมัยใหม่ ที่ด้านหน้าของเครื่องทดสอบ แรงหลักที่กระทำนี้ หัวกดจะเคลื่อนที่กดลงไปที่ชิ้นทดสอบ

 

รูปผังแสดงโครงสร้างภายในของเครื่องทดสอบความแข็งแบบร็อคเวล

 

วิดีโอการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวล

 

      ค่าความแข็ง สามารถอ่านได้โดยตรงจาก การอ่านที่หน้าจอตัวเลขดิจิตอล หรือจากเข็มนาฬิกาวัด ในเครื่องทดสอบ โดยไม่ต้องมีกล้องจุลทรรศน์ อยู่ตรงกลาง สเกลที่อ่านแบบร็อคเวล จะขึ้นอยู่กับความลึกของการกด ในกรณีเครื่องทดสอบแบบอัตโนมัติจะกดลงอัตโนมัติ และอ่านค่าที่กดได้จากการคำนวณโดยดูที่หน้าจอคอมพิวเตอร์แสดงผล

 

ขั้นตอนที่ 4. ปลดแรงออก แล้วนำชิ้นงานออกมาจากทั่งวางชิ้นงาน เสร็จสิ้นการทดสอบ

     

หัวกดของการทดสอบแบบร็อคเวลนั้น มีใช้งานอยู่ด้วยกันสามแบบ ได้แก่

 

รูปชุดหัวกดทดสอบแบบร็อคเวล

 

· หัวกดลูกบอลทังสเตน-คาร์ไบน์ (Tungsten-carbide) เส้นผ่านศูนย์กลาง 1/8 นิ้ว หรือ ประมาณ 3 มิลลิเมตร

 

· หัวกดลูกบอลทังสเตน-คาร์ไบน์ เส้นผ่านศูนย์กลาง 1/16 นิ้ว หรือ ประมาณ 1.5 มิลลิเมตร

 

รูปหัวกดของการทดสอบแบบร็อคเวลแบบหัวเพชร

 

· รูปหัวกดเพชรทรงกรวย

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

มักพูดกันว่าเวลาเปลี่ยนทุกสิ่ง แต่จริง ๆ แล้วคุณต้องเปลี่ยนทุกสิ่งด้วยตัวตนเอง

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา