บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,402
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 12,431
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 59,588
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,840
  Your IP :3.133.152.189

12 3.8 การทดสอบความแข็งแบบคนูบ

 

3.8 การทดสอบความแข็งสร้างรอยขนาดเล็กแบบคนูบ

 

       วิธีการทดสอบแบบ คนูบ (Knoop) คล้ายกับแบบวิคเกอร์ และบางครั้งใช้เครื่องทดสอบแบบเดียวกันได้ แต่ต่างกันที่การใช้แรง, หน่วยที่ใช้ และรูปร่างหัวกด แรงกระทำจะน้อยกว่าการทดสอบแบบวิคเกอร์ โดยแรงที่กระทำค่าน้อยกว่า 4 กิโลกรัม ชิ้นงานบางมากอาจใช้แรงเพียง 25 กรัม เท่านั้น การทดสอบแบบคนูบเป็นการทดสอบรูปแบบที่ใหม่กว่าแบบวิคเกอร์ ดูรูปเครื่องมือ

 

เครื่องทดสอบแบบคนูบ และวิคเกอร์พร้อมกับมีหน้าจอดิจิตอล

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปหัวกดแบบคนูบ

 

รูปหัวกดแบบคนูบ 2

 

      รูปหัวกดเพชรแบบคนูบไม่เป็นสัณฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสเหมือนแบบวิคเกอร์ สัณฐานของมันเป็นพื้นที่หน้าตัดรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ที่เรียกกันว่า พีระมิดแนวยาว (Elongated pyramid) อัตราส่วนของเส้นทแยงมุมคือ 7 : 1 และความลึกของรอยกดอยู่ที่ 1/30 ของความยาวส่วนยาวสุด ในการทดสอบเราจะวัดเฉพาะด้านที่ยาวที่สุดของรอยกด มุมในแนวยาวมีค่า 172°ในแนวสั้น 130°

 

รูปหัวกดแบบคนูบ

 

รูปเรขาคณิตของรอยกด

 

รูปรอยกดบนชิ้นงาน

 

ขั้นตอนในการทดสอบแบบคนูบ มีลักษณะพื้นฐานเดียวกับการทดสอบแบบวิคเกอร์ ต่างกันตรงแรงที่กระทำ, การทำให้เกิดรอยกด การวัดรอยบุ๋ม และสมการ หน่วยวัดความแข็งเรียกง่าย ๆ ว่า หน่วยคนูบ (Units Knoop)KHN สมการในการใช้ในการคำนวณมีดังนี้

 

สมการ (3.3)

 

กำหนดให้   KHN = การวัดความแข็งแบบคนูบ

F = แรงกระทำ หน่วยเป็น กิโลกรัม

                C = 0.07028 (คือ ค่าคงที่ของหัวกดพีระมิดแนวยาว ที่ได้จากความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ของหัวกดกับความยาวของเส้นทแยงมุมส่วนยาวสุด)

                L = ค่าความยาวรอยกดที่วัดได้ หน่วยเป็นมิลลิเมตร

 

ตัวอย่าง 3.3 ชิ้นงานชนิดหนึ่ง ถูกนำมาเข้าเครื่องทดสอบความแข็งแบบคนูบ เพื่อหาค่าความแข็งในชิ้นงาน ใช้หัวกดเพชรรูปทรงพีระมิดแนวยาว กดลงไปที่ชิ้นงานด้วยแรงกระทำ 3 กิโลกรัม จนชิ้นงานเป็นรอยบุ๋มเป็นรูปพีระมิดแนวยาว สามารถวัดเส้นทแยงมุมส่วนยาวสุดได้ 0.2 มิลลิเมตร ให้หาค่าความแข็งของชิ้นงาน

 

วิธีทำ จากโจทย์กำหนดให้เป็นการทดสอบแบบคนูบ F = 3 kg, L = 0.2 mm, KHN =? KHN

 

วิธีทำตัวอย่างที่ 3.3

 

\ ค่าความแข็งจากเครื่องทดสอบแบบคนูบ = 106.715 KHN ตอบ

 

3.8.1 ข้อดีของการทดสอบความแข็งจิ๋วแบบคนูบ

 

      ข้อดีที่สำคัญของการทดสอบแบบคนูบที่เหนือกว่าการทดสอบแบบวิคเกอร์ และการทดสอบแบบบริเนล มีดังนี้

 

· การทดสอบแบบคนูบไม่ทำให้ชิ้นงานทดสอบเสียหาย

 

· สามารถทดสอบในชิ้นวัสดุที่บางมาก ๆ ได้

 

· สามารถใช้พื้นที่ชิ้นงานทดสอบได้เล็กมาก ๆ ได้

 

ก็เหมือนวิธีการทดสอบอื่น ๆ ที่กล่าวมาทั้งสองวิธีก่อนหน้านี้ก็คือ พื้นผิวชิ้นงานควรราบเรียบ, แบน, สะอาด และเป็นระนาบ ก่อนที่จะทำการทดสอบ

 

วิดีโอความรู้ในการทดสอบแบบความแข็งของวัสดุแบบคนูบ และวิคเกอร์

 

วิดีโอการทดสอบแบบคนูบ และวิคเกอร์เครื่องมือเป็นแบบเดียวกัน

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

ความคิดเป็นของคน แต่ความสำเร็จเป็นของฟ้า

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา