บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 880
เมื่อวาน 1,522
สัปดาห์นี้ 2,402
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 43,602
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,388,099
  Your IP :18.219.22.169

8 ภาค 2 คุณสมบัติของโลหะ / บทที่ 3 ความแข็ง

 

ภาค 2 คุณสมบัติของโลหะ (Properties of Metals)

 

บทที่ 3 ความแข็ง (Hardness)

 

3.1 ความแข็งคืออะไร?

 

      ความแข็ง (Hardness) เป็นคุณสมบัติที่มีสำคัญของโลหะ เป็นการยากที่จะให้คำอธิบายได้อย่างชัดเจน แต่ความหมายที่สามารถบอกได้ดีที่สุดก็คือ ความแข็ง คือ การต้านทานต่อการเสียรูปของวัสดุ หรือ ความต้านทานต่อการกระทำต่อวัสดุ เมื่อวัสดุสูญเสียความต้านทาน ก็จะก่อให้เกิด ความเสียหาย (Damaged), รอยบุ๋ม (Dent), ความเสื่อม หรือความทรุดโทรมอื่น ๆ ซึ่งเป็นผลที่ได้จากแรง หรือความกดดันที่กระทำต่อวัสดุนั้น ในความต้องการที่จะรู้ค่าความแข็งของวัสดุ จำเป็นต้องหาเครื่องมือมาวัด เครื่องมือนี้จะสร้างรอยกดบุ๋มเป็นจุด บนพื้นผิว ด้วยแรงกดที่กระทำบนพื้นผิววัสดุที่ต้องการทราบความแข็ง ดูที่รูป แสดงตัวอย่างรอยบุ๋มบนวัสดุ

 

รูปรอยบุ๋มในชิ้นงานตัวอย่างที่ทำการทดสอบ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

รูป การทดสอบความแข็งกับเฟืองดอกจอก

 

รูป รอยบุ๋มที่เกิดในพื้นผิววัสดุที่ได้จากแรงกดเพื่อวัดค่าความแข็ง

 

3.2 ความสัมพันธ์กันของความแข็งกับคุณสมบัติด้านอื่น ๆ

 

      ความแข็ง คือคุณสมบัติของโลหะ ที่มีความสำคัญต่อวัสดุ ซึ่งมีการเกี่ยวพันกับคุณสมบัติอื่น ๆ ของโลหะด้วย เช่น ความแข็งแกร่ง (Strength), ความเปราะ (Brittleness) และความสามารถในการยืดตัว (Ductility) ในการวัดความแข็งของโลหะนั้น จะเป็นการวัดความแข็งแกร่ง, ความเปราะ และยืดเป็นแผ่นของโลหะ โดยทางอ้อมโดยทราบจากการทดลอง แล้วนำมาคำนวณหาคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกันได้

 

ประโยชน์ที่ได้จากการทราบค่าความแข็งของโลหะมีมากมาย อาทิเช่น

 

· เลือกวัสดุให้เหมาะสมกับงานที่ทำ ดูว่าวัสดุนั้นมีความแข็งพอที่จะนำมาสร้างได้หรือไม่

 

· รู้ค่าความแข็งเพื่อสร้างชิ้นงานที่ต้องการออกแบบให้พังก่อน อีกชิ้นหนึ่ง (ไม่ได้กล่าวรายละเอียดในที่นี้ จะพบในเรื่องของการออกแบบสร้างเครื่องกล)

 

· รู้ถึงความทนทานของวัสดุที่นำมาทำ ซึ่งสามารถคำนวณอายุการใช้งานได้

 

· ฯลฯ

       

3.3 การวัดความแข็ง

 

      มีวิธีการมากมายที่นำมาใช้วัดความแข็งของโลหะ แต่ในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงวิธีการวัดความแข็งสองวิธีที่ได้รับความนิยม ได้แก่ วัดความแข็งโดยการกดเป็นรอย (Penetration hardness) และวัดความแข็งโดยการสร้างรอยขีดข่วน (Scratch hardness)

 

วัดความแข็งโดยการกดเป็นรอย เป็นเทคนิคการวัดที่มีความแม่นยำมากที่สุด ในการใช้เครื่องทดสอบเป็นตัววัด ตัวเครื่องกดนี้ใช้แรงในการกดชิ้นโลหะให้เกิดรอยบุ๋มลงไปในเนื้อโลหะ และทำการวัดขนาดรอยกด และแรงที่ใช้กด แล้วนำมาคำนวณเพื่อหาค่าความความแข็งของโลหะ

 

 

รูปตัวอย่างอุปกรณ์ทดสอบความแข็งแบบกดลงไปบนชิ้นงานให้เป็นรอยบุ๋ม

 

วิดีโอตัวอย่างการทดสอบความแข็งแบบกดเป็นรอยที่เรียกว่าการทดสอบแบบบริเนล

 

วัดความแข็งโดยการสร้างรอยขีดข่วน เป็นการวัดแบบรวดเร็ว และหยาบ ชิ้นงานโลหะที่ใช้วิธีนี้หาค่าความแข็ง โดยใช้ของมีคมที่มีความแข็งกว่าชิ้นงานตัวอย่าง มาขีดบนชิ้นงานให้เกิดรอยขีดข่วน การวัดแบบนี้จะไม่มีค่าออกมาเป็นตัวเลข แต่จะใช้ความรู้ และประสบการณ์ เพื่อตัดสินว่าชิ้นงานนั้นเป็นชิ้นงานที่ แข็งหรือ อ่อนซึ่งขึ้นอยู่กับผลของรอยขีดข่วน

 

รูปตัวอย่างอุปกรณ์ทดสอบความแข็งโดยการสร้างรอยขีดข่วน

 

วิดีโอตัวอย่างการทดสอบความแข็งแบบสร้างรอยขีดข่วน

 

      การทดสอบวัดความแข็งโดยการกดเป็นรอย เมื่อเปรียบเทียบกับ การวัดความแข็งโดยการสร้างรอยขีดข่วน วิธีการแรกให้ความแม่นยำได้สูงกว่า แต่ก็มีราคาแพงกว่า ในอุตสาหกรรมส่วนมากจะใช้วิธีการแรกโดยการกดลงบนชิ้นงานมากกว่า


ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

สิ่งที่แข็งที่สุด เอาชนะได้ด้วยสิ่งที่อ่อนที่สุด

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา