บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 2,298
เมื่อวาน 4,086
สัปดาห์นี้ 9,576
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 50,776
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,395,273
  Your IP :3.142.197.198

7 สารละลายของแข็ง (จบบทที่ 2)

 

2.8.2 สารละลายของแข็ง

 

       สารละลายของแข็ง (Solid Solutions) เป็นสารละลายชนิดหนึ่งที่เป็นของแข็ง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งตัวทำละลาย และตัวถูกละลายก็ได้

 

      ในการทำละลายในสารละลายของแข็งนั้น ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่มีความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิไปในทางที่สูงขึ้น เมื่อของแข็งทั้งคู่ถูกทำความร้อนจนหลอมเหลวแล้ว ก็จะเกิดการละลายผสมกัน เมื่อปล่อยให้เย็นตัวลงก็จะเป็นของแข็งตามเดิม แต่มีคุณสมบัติอื่น ๆ เพิ่มเติมขึ้นมา

 

      ยกตัวอย่างในโลหะ เหล็กละลายกับธาตุอื่น ๆ ได้มากมายหลายธาตุ ตัวของเหล็กจะเป็นตัวทำละลาย ส่วนคาร์บอน ฟอสฟอรัส (Phosphorus) หรือแมงกานีส หรือธาตุอื่น ๆ จะกลายเป็นตัวถูกละลาย ผลที่ได้จากการละลายนี้จะทำให้เหล็กมีความแข็งแกร่งขึ้น ทนทานขึ้น ฯลฯ

 

วิดีโอตัวอย่างสารละลายของแข็ง การหลอมทองสัมฤทธิ์ หรือบรอนซ์ (ทองแดง+ดีบุก)

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

2.9 สารละลายของแข็งโลหะ หรือโลหะผสม

 

      โลหะที่เราใช้งานกันทุกวันนี้ มีอยู่น้อยมากที่จะเป็นโลหะที่บริสุทธิ์ หรือเกือบบริสุทธิ์ ส่วนมากแล้วจะมีธาตุอื่น ๆ ผสมเจืออยู่ ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มคุณภาพให้กับโลหะนั้น ยกตัวอย่างเช่น เหล็กกล้าเป็นโลหะผสมของเหล็ก และคาร์บอน ทองสัมฤทธิ์เป็นโลหะผสมของทองแดง และดีบุก ทองเหลืองเป็นโลหะผสมของทองแดง และสังกะสี การผสมนั้นจะทำให้โลหะมีความ แข็งแกร่งขึ้น ไม่เกิดสนิม อัตราการขยายตัวต่ำ ทนการกัดกร่อนได้สูง ทนต่อแรงเสียดทานได้ดี ฯลฯ

 

      สารละลายของแข็งโลหะนั้น ในทางโลหะวิทยาเราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโลหะผสม (Alloy) หรือธาตุผสม (Alloying elements) คือ ของผสมโลหะตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปผสมกัน อาจเป็นได้ทั้งโลหะผสมกับโลหะ โลหะผสมกับอโลหะ

 

ในการกระจายตัวเข้าไปผสมกันของสารละลายของแข็งมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ

 

1. สารละลายของแข็งแบบแทนที่ ( Substitutional Solid Solution )

 

2. สารละลายของแข็งแบบเซลล์แทรก (Interstitial Solid Solution)

 

1) สารละลายของแข็งแบบแทนที่ เกิดจากอะตอมของธาตุ 2 ชนิด คือ อะตอมของตัวถูกละลาย สามารถเข้าไปแทนที่อะตอมของตัวทำละลาย ในโครงสร้างผลึกได้ ดังรูปด้านล่าง โครงสร้างผลึกของโลหะผสมชนิดนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่อาจจะเกิดการเสียรูปไปบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อขนาดของอะตอมต่างกัน

 

 

รูปสารละลายของแข็งแบบแทนที่ อะตอมตัวถูกละลายเข้าไปแทนที่บางส่วน ของอะตอมตัวทำลาย

 

การที่อะตอมหนึ่งจะเข้าไปแทนที่อีกอะตอมหนึ่งได้ดีนั้น ต้องมีลักษณะดังนี้

 

1. ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอะตอมทั้งสองจะต่างกันไม่เกิน 15 %

 

2. โครงสร้างผลึกของธาตุทั้งสองจะต้องเหมือนกัน

 

3. ค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตี้ หรือสภาพทางไฟฟ้าเป็นลบ จะต้องต่างกันไม่มากนัก มิฉะนั้นจะเกิดสารประกอบไม่ได้

 

4. จะต้องมีค่าเวเลนซ์เท่ากัน

 

2) สารละลายของแข็งแบบเซลล์แทรก เป็นสารละลายของแข็งที่เกิดขึ้น อันเนื่องมาจากอะตอมของตัวถูกละลายเข้าไปแทรกตัวอยู่ในช่องว่างของอะตอมตัวทำละลาย ระยะช่องว่างระหว่างอะตอมของตัวทำละลายกับ ช่องว่างระหว่างอะตอมของตัวทำละลายนี้ถูกเรียกว่า ซอก ( Interstices) สารละลายของแข็งเซลล์แทรก สารละลายของแข็งแบบเซลล์แทรก จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อขนาดของอะตอมของตัวทำละลายมีขนาดใหญ่กว่าขนาดของอะตอมของอะตอมของตัวถูกละลาย

 

 

รูปสารละลายของแข็งแบบเซลล์แทรก

 

2.10 การประยุกต์ใช้กับเหล็กกล้าในทางเคมี

 

       ความรู้ในทางเคมีที่กล่าวในโลหะวิทยาในบทนี้ และกำลังจะกล่าวในบทต่อ ๆ ไป จะพบในการศึกษาด้านโลหะในส่วนของ โครงสร้างผลึก, อะตอม และโลหะผสม

 

       เหล็กกล้าเป็นโลหะผสม (สารละลายของแข็ง) ตัวของเหล็กเป็นตัวทำละลาย ส่วนคาร์บอนเป็นตัวถูกละลาย

 

      นอกจากคาร์บอนแล้วยังมีธาตุเคมีมากมายที่สามารถผสมลงไปในเหล็ก จนเป็นโลหะผสม อาทิเช่น กำมะถัน, แมงกานีส, อลูมิเนียม, ฟอสฟอรัส, โมลิบดีนัม (Molybdenum), ทังสเตน (Tungsten) และซิลิคอน (Silicon) ฯลฯ ซึ่งจะพบได้บ่อยในการศึกษาในวิชาการทางโลหะ



ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

อย่ามัวมองหาความผิดพลาด จงมองหาทางแก้ไข

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา