2.4 โมเลกุล (Molecules)
วัตถุ หรือสสารเกิดขึ้นได้โดยการเชื่อมโยงกันทางเคมีของธาตุตั้งแต่สองธาตุขึ้นไป ที่เราเรียกว่า “สารประกอบ (Compound)” เมื่อธาตุสองธาตุ หรือมากกว่า มาผสมกันอะตอมเหล่านั้นจะเชื่อมโยงกัน จนเป็น โมเลกุลของสารประกอบ
ยกตัวอย่าง อะตอมของออกซิเจน และอะตอมของไฮโดรเจนผสมกันก็จะเป็นโมเลกุลของน้ำ (H2+O = H2O)
อะตอมที่เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของธาตุ ในทำนองเดียวกันโมเลกุลเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสารประกอบ ธาตุสองธาตุ หรือมีมากกว่าสองธาตุรวมกันจนเป็นโมเลกุล
รูปธาตุ และสารประกอบ
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
วิดีโอแสดงอะตอม โมเลกุล และธาตุ
อะตอมในแต่ละโมเลกุลจะเชื่อมต่อกันโดยพันธะทางเคมี อะตอมจะรับ หรือให้ ซึ่งอยู่ร่วมกันในอิเล็กตรอนที่อยู่ในวงแหวนวงนอกสุด เช่น ในโมเลกุลของน้ำ (H2O) ดูที่รูปด้านล่าง ออกซิเจนรับเอาอะตอมของไฮโดรเจน เพื่อมาเติมเต็มที่วงแหวนวงนอก
รูปน้ำ
รูปแบบการจับตัวกันของโมเลกุลของน้ำโดยมีกริยาเคมีกระทำระหว่างกันจนเป็นโมเลกุล
2.5 เกรน และผลึก
เมื่อมีการรวมกันกลุ่มใหญ่ของอะตอม หรือโมเลกุล จนเป็นผลสำเร็จ กลุ่มของอะตอม หรือโมเลกุลนี้จะอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า ครอบครัว (Family) ครอบครัวของอะตอมอาจมีขนาดใหญ่พอที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อาทิเช่น ครอบครัวที่รู้จัก ที่เราเรียกว่า “เกรน” และ “ผลึก” (Grains and Crystals) อะตอมทั้งหมดในเกรน หรือผลึกจะเรียงตัว และก่อรูปแบบอย่างเหมาะสมเป็นระเบียบ
รูปเกรนที่เรียงตัวกันจนเป็นผลึก
รูปความสวยงามของแก้วผลึกเกิดจาการเรียงตัวกันของเกรนอย่างเป็นระเบียบ เกิดขึ้นตามธรรมชาติในถ้ำ
2.6 สารประกอบ
สารประกอบ (Compounds) คือธาตุที่เชื่อมต่อกันทางเคมีตั้งแต่สองธาตุขึ้นไปประกอบรวมกัน ดังนั้นสารประกอบจึงไม่ได้มาจากธาตุเดียว มันจะผสมกันอย่างน้อยสองธาตุอยู่ในตัวเดียวกัน
รูปตัวอย่างสารประกอบเกิดจากการเชื่อมต่อกันทางเคมีของธาตุตั้งแต่สองธาตุขึ้นไป
สารประกอบที่เชื่อมโยงกันทางเคมี ยากนักที่จะทำการแยกธาตุที่อยู่ภายในออกจากกัน เพราะจะเชื่อมต่อกันแบบถาวร ถ้าต้องการแยกธาตุ แต่ละธาตุออกจากกัน จะต้องมีปฏิกิริยาเคมีแบบพิเศษที่ทำให้สารประกอบเกิดการเปลี่ยนแปลงจึงสามารถแยกธาตุแต่ละธาตุออกมาได้
ลักษณะหนึ่งที่น่าสนใจของสารประกอบคือมันอาจมีลักษณะเฉพาะ กล่าวคือคุณสมบัติของสารประกอบจะเป็นไปตามคุณสมบัติของธาตุที่มาประกอบกัน เช่น เหล็กกำมะถัน ทำมาจากธาตุเหล็ก และธาตุกำมะถัน เหล็กเป็นสารที่เป็นแม่เหล็ก แต่กำมะถันไม่ใช่สารที่เป็นแม่เหล็ก
รูปธาตุไฮโดรเจน กับออกซิเจนรวมตัวกันทางเคมีจนเป็นสารประกอบที่เรียกว่าน้ำ
รูป น้ำเป็นสารประกอบ
น้ำเป็นสารประกอบ ที่ประกอบไปด้วยธาตุของไฮโดรเจน และออกซิเจน สถานะปกติของธาตุทั้งคู่เป็นก๊าซ อย่างไรก็ตาม เมื่อเชื่อมต่อกันทางเคมี มันก็จะกลายเป็นน้ำ ที่สามารถใช้ดับไฟได้ ดูรูปด้านล่าง
รูป ลักษณะเด่นของสารประกอบอาจจะมีความแตกต่างในแต่ละคุณสมบัติของธาตุ ตัวอย่างสารประกอบไฮโดรเจน และออกซิเจน ซึ่งแต่ละธาตุเป็นองค์ประกอบที่ทำให้ไฟติด แต่เมื่อผสมกันเป็นรูปแบบน้ำแล้วมันสามารถดับไฟได้
รูปธาตุโซเดียม (Na)
รูปก๊าซคลอรีน (Cl)
รูป แบบจำลองพันธะทางเคมีของ NaCl
รูปโซเดียมคลอไรด์บริสุทธิ์ หรือที่รู้จักกันว่าเกลือแกง
วิดีโอแสดงสารประกอบ และของผสมทางเคมี
ธาตุโซเดียม และคลอไรด์ เมื่อผสมกันทางเคมี ผลที่ได้ก็คือเกลือแกง ในโซเดียม และคลอไรด์ เมื่อเป็นธาตุเดี่ยวโดยทั่วไปแล้วทั้งคู่จะมีพิษโซเดียมมองดูบริสุทธิ์ สีออกเป็นโลหะคล้ายเงิน สามารถเผาไหม้ได้ ส่วนคลอไรด์เป็นแก๊สสีเขียว แก๊สพิษนี้สามารถฆ่าสิ่งมีชีวิตได้ แต่เมื่อนำสารสองชนิดมาผสมกันทางเคมีก็จะกลายเป็นเกลือแกง ซึ่งสามารถกินได้
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“การมีชีวิตยืนนานเท่าใดนั้นไม่สำคัญ
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ควรมีชีวิตอย่างไร เพื่ออะไร”