บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 637
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 9,296
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 37,531
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,382,028
  Your IP :3.14.70.203

1.2 ประโยชน์ของโลหะวิทยาในภาคอุตสาหกรรม

 

       ความรู้ที่ได้จากการศึกษาโลหะวิทยา สามารถนำมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชิ้นงาน ในภาคอุตสาหกรรมได้ กรณีศึกษาตัวอย่างต่อไปนี้เป็นแนวทางส่วนหนึ่งที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในแวดวงอุตสาหกรรมได้ อันได้แก่

            

กรณีศึกษาที่ 1

       ปัญหา: เฟือง (Gear) ทำหน้าที่ส่งกำลังในเครื่องจักรกล เครื่องจักรบางเครื่องต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง เดินเครื่องเป็นเวลายาวนาน ทำให้การหมุนของเฟืองจะถูกแรงกระทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และหมุนขบกันอย่างรวดเร็วนานวันไปก็จะเกิดการสึกหรอ

 

รูปฟันเฟืองที่มีรอยบิ่น

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปฟันเฟืองตรง

 

รูปเฟืองแตกเสียหาย

 

เมื่อมีการใช้งานที่หนัก วัสดุที่นำมาใช้ทำฟันเฟืองต้องมีความสามารถทนทานต่อการสึกหรอ (Wear) ถ้าสามารถหาวัสดุแข็งที่ทนการสึกหรอมาทำเฟืองได้แต่ก็เกิดปัญหาที่ว่าวัสดุแข็งจะเกิด การเปราะ (Brittle) ขึ้น และเมื่อใช้งานไปนาน ๆ และมีแรงกระทำซ้ำ ๆ กันเกิดขึ้น ก็จะเกิด รอยร้าว (Crack) ขึ้นเล็ก ๆ ที่เฟือง

 

รูปการทำให้แข็งที่นำมาใช้กับเฟือง

 

รูปผลที่ได้จากการทำให้แข็งที่ฟันเฟืองทำให้ตรงฟันเฟืองแข็งแกร่งขึ้น แต่ตัวเฟืองยังสามารถยืดหยุ่นได้เหมือนเดิม

 

วิธีแก้ปัญหา: แก้ปัญหาให้นำกระบวนการทางโลหะวิทยามาใช้ที่เราเรียกกันว่า การทำให้แข็ง (Hardening) เมื่อโลหะที่ทำเฟืองผ่านกระบวนการนี้แล้ว เฟืองจะมีความแข็งที่ผิวโลหะในส่วนที่มีการขบกัน การทำด้วยกระบวนการนี้ตัวเฟืองจะยังคงความเหนียวเอาไว้ ส่วนบริเวณฟันเฟืองจะเกิดความแข็งแกร่งขึ้น (สามารถใช้งานได้โดยไม่เกิดการเปราะของโลหะ)

 

 

วิดีโอการขบกันของเฟืองตรงที่อาจก่อให้เกิดการบิ่น หรือร้าวได้ถ้าไม่ผ่านกระบวนการทางโลหะวิทยา

 

กรณีศึกษาที่ 2

ปัญหา: งานปั๊ม (Punching) เจาะรู ชิ้นงานเล็ก ๆ ที่เรียงติดกันจะเกิดปัญหาขึ้น

 

รูปการปั๊มขึ้นรูป อาจเกิดความเค้นภายในจนแผ่นโลหะบิดตัวได้ ต้องแก้ปัญหาด้วยการอบอ่อน (Annealing)

 

รูปแสดงเครื่องปั๊มโลหะแผ่น

                         

รูปแสดงการปั๊มเจาะรู

 

วิดีโอเครื่องปั๊มรูโลหะ CNC

 

ระยะช่องว่างระหว่างรูควรจะมีไม่น้อยกว่า ± 0.025 มิลลิเมตร เมื่อนำแผ่นโลหะมาเจาะรูอาจเกิดปัญหาของการบิดตัวของแผ่นโลหะมันอาจเกิดขึ้นทันที หรือเกิดขึ้นมาในภายหลังการใช้งาน ขึ้นอยู่กับสภาพของการนำไปใช้งาน การบิดเบี้ยวตัวของแผ่นโลหะสาเหตุหลักอาจเนื่องมาจากความเสียดทานระหว่างตัวเจาะ และแม่พิมพ์ (Die) ด้านล่าง

 

 

วิธีแก้ปัญหา: การแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการทางโลหะวิทยาที่เรียกกันว่า กระบวนการอบอ่อน (Process Annealing) กระบวนการอบอ่อนนี้เป็นวิธีการรักษาความร้อนในตัวโลหะแล้วให้ค่อย ๆ เย็นตัวลงอย่างช้า ๆ ในเตาอบ หรือเตาหลอม เพื่อให้โลหะค่อย ๆ ผ่อนคลายความเครียดภายในตัวของมันเอง วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเค้นภายในลดลง ในกรณีศึกษานี้แผ่นโลหะที่จะใช้ในงานปั๊มเจาะรู จะถูกนำไปเข้าสู่กระบวนการอบอ่อนเมื่อผ่านกระบวนการนี้แล้ว การบิดตัวของโลหะแผ่นจะมีน้อยลง หรือไม่เกิดขึ้นเลย จากนั้นแล้วถึงจะส่งชิ้นงานไปสู่กระบวนการต่อไป

 

กรณีศึกษาที่ 3

ปัญหา: วัสดุมีดกลึงตัดโลหะ ที่นำไปใช้ในงานหนัก ขณะที่มันยังมีความคม มันจะสามารถตัดโลหะได้ผิวโลหะที่สะอาด และมีความละเอียดที่พื้นผิว เมื่อใช้งานไประยะเวลาหนึ่ง มีดกลึงจะหมดความคม และจะเกิดการสึกหรอไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การตัดกลึงโลหะจะไม่ดีผิวงานไม่สวย งานเสียได้ง่าย

 

รูปมีดกลึงที่ติดตั้งอยู่ในป้อมมีดของเครื่องกลึง

 

รูปมีดกลึงแบบต่าง ๆ ที่ใช้ในเครื่องกลึง

 

รูปมีดกลึงเมื่อใช้งานไปนาน ๆ จะเกิดความสึกหรอ วัสดุที่ทำมีดต้องนำเข้าสู่กระบวนการอบคืนตัว

 

รูปมีดกลึงที่ประกอบกับเครื่องกลึงกำลังทำงาน

 

รูปการทำการอบคืนตัวในเตาแบบเหนี่ยวนำไฟฟ้า

วิธีแก้ปัญหา: นำความรู้ทางโลหะวิทยามาใช้แก้ปัญหาอีกครั้งหนึ่ง โดยการทำให้มีดกลึงผ่านกระบวนการที่เรียกกว่า การอบคืนตัว (Tempering) จะทำให้มีดกลึงสามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น ทนทานยิ่งขึ้น สึกหรอได้ยากขึ้น

 

      การอบคืนตัว คือ การนำชิ้นงานโลหะมาให้ความร้อนอีกครั้งหนึ่งเพื่อทำให้โลหะเกิดการอ่อนตัวลงเล็กน้อย กระบวนการนี้จะทำให้โลหะมีความผ่อนคลายทางด้านความเค้น, มีความผ่อนคลายทางด้านการเสียรูป และมีความผ่อนคลายเพื่อลดรอยแตกร้าว

 

กรณีศึกษาที่ 4

ปัญหา: ใบมีดตัดกระดาษ ที่มีความคมเหมือนมีดโกน ในการติดตั้งต้องแน่นหนา และให้แข็งแรงเพื่อใช้ในงานตัดกระดาษ ปัญหาเกิดขึ้นก็คือเมื่อใบมีดไม่คอยคม มีรอยบิ่น การตัดกระดาษจะไม่เรียบเป็นขุย

 

รูปใบมีดตัดกระดาษ

 

วิธีแก้ปัญหา: ได้ค้นพบกระบวนการทางโลหะวิทยาที่เรียกว่า การชุบแข็ง (Quenching) ก็คือการนำเอาวัสดุมีดที่ร้อนที่อยู่ในเตาอบเมื่อถึงอุณหภูมิหนึ่งนำไปจุ่มกับของไหล เช่น น้ำ, น้ำมัน, อากาศ หรืออื่น ๆ จะให้โครงสร้างมีดมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อทำให้ใบมีดสามารถใช้งานหนักได้ และมีความแข็งแกร่งขึ้นมาก ถึงอย่างไรก็ตามการชุบแข็งในน้ำ ถ้าเป็นมีดตัดกระดาษที่มีความบางเกินไป เมื่อชุบแข็งแล้วจะเกิดการบิดตัวของมีด ถ้าเป็นเช่นนี้ก็จะทำ การชุบแข็งด้วยอากาศ (Air quenching) จะนำมาแทนการชุบแข็งด้วยน้ำ วัสดุที่ใช้ทำมีดจะเป็นเหล็กกล้าผสมเครื่องมือที่สูงกว่า แล้วทำการชุบแข็ง จะทำให้มีดที่ได้จะทำให้มีความคมนานขึ้น และบิ่นได้ยากมากขึ้น

 

รูปการนำวัสดุนำไปชุบแข็งในรูปเป็นการชุบแข็งด้วยน้ำมัน

 

วิดีโอแสดงการชุบแข็งด้วยน้ำมันของชิ้นส่วนเครื่องกล

 

วิดีโอการทดลองการปรับสภาพทางความร้อนของโลหะส่วนรายละเอียดจะกล่าวในภายหลัง

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

เส้นบางๆที่คั่นระหว่างความเป็นไปได้และความเป็นไปไม่ได้คือการตัดสินใจของเรา

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา