ตัวอย่างที่ 5.9 ชักรอก
เมื่อวัตถุสองวัตถุมีมวลไม่เท่ากัน ถูกแขวนในแนวดิ่งบนรอก ไม่คิดถึงแรงเสียดทานของมวล ดูที่รูป a
รูป เครื่องแอดวูด a) วัตถุสองตัวต่อกันด้วยเชือกที่ไม่คิดมวลแล้วคล้องกับรอกที่ไม่คิดแรงเสียดทาน b) ผังวัตถุอิสระสำหรับวัตถุทั้งสอง
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
เรียกชุดรอกนี้ว่า เครื่องแอดวูด (Atwood machine)
รูปตัวอย่างเครื่องแอดวูด
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ เพื่อทำการคำนวณค่าของ g คำนวณขนาดของความเร่งของวัตถุทั้งสอง และความตึงในเชือก
วิธีทำ
กรอบความคิด: นึกถึงภาพสถานการณ์ที่ใช้งานดังภาพ a ที่วัตถุหนึ่งเคลื่อนที่ขึ้น และอีกวัตถุหนึ่งเคลื่อนที่ลง เพราะวัตถุมีการเชื่อมต่อกันโดยสายเชือก การเคลื่อนที่ทำให้ขนาดความเร่งทั้งสองเท่ากัน
แบ่งประเภทหมวดหมู่: วัตถุในเครื่องแอดวูด มีแรงโน้มถ่วง และแรงกระทำจากสายเชือกที่ต่อกันอยู่ ดังนั้นเราสามารถจัดหมวดหมู่ปัญหานี้เป็นอนุภาคทั้งสองวัตถุที่อยู่ภายใต้แรงกระทำ
การวิเคราะห์: ผังวัตถุอิสระสำหรับวัตถุทั้งสองที่แสดงในรูป b แรงสองแรงกระทำในแต่ละวัตถุ แรงขึ้น T ด้วยเชือก และแรงลงด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก ในปัญหาเช่นนี้ รอกถูกจำลองให้ไม่มีแรงเสียดทาน และไม่มีมวล ความตึงในเชือกทั้งสองด้านของพูลเลย์เหมือนกัน หากพูลเลย์มีมวล หรือมีแรงเสียดทานความตึงเชือกด้านใดด้านหนึ่งจะไม่เหมือนกัน และสถานการณ์เช่นนี้จะต้องใช้เทคนิคที่จะได้เรียนรู้ในบทที่ 10
เราต้องระวังเรื่องการใช้เครื่องหมายในปัญหานี้ ในรูป a หากวัตถุหนึ่งมีความเร่งขึ้นข้างบน วัตถุ 2 มีความเร่งลงล่าง เพราะฉะนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับเครื่องหมาย ถ้าเรากำหนดทิศทางขึ้นเป็นบวกสำหรับวัตถุที่ 1 แล้วเราต้องกำหนดทิศทางลงเป็นบวกสำหรับวัตถุที่ 2 ด้วยเครื่องหมายนี้ในสองวัตถุ ความเร่งในทิศทางเดียวกันกำหนดโดยการเลือกเครื่องหมาย นอกจากนี้ เครื่องหมายที่เราตกลง ในส่วนประกอบของ y ของแรงที่กระทำต่อวัตถุ 1 เป็น T – m1g และส่วนประกอบ y ของแรงกระทำในวัตถุ 2 เป็น m2g – T
ใช้กฎข้อที่สองของนิวตันที่วัตถุที่ 1
SFy= T – mg = m1ay (1)
ใช้กฎข้อที่สองของนิวตันที่วัตถุที่ 2
SFy= m2g – T = m2ay (2)
นำสมการที่ (2) บวกกับสมการ (1) เพื่อเอา T ออก จะได้
– m1g + m2g = m1ay+ m2ay
แก้สมการเพื่อจะหาความเร่ง
ay = ((m2– m1)/( m1 + m2))g (3)
แทนสมการ (3) ไปที่สมการ (1) เพื่อหาค่า T
T = m1(g+ay)
= ((2m1m2)/( m1 + m2))g (4) ตอบ
ท้ายสุด: ความเร่งที่ให้โดยสมการ (3) สามารถตีความได้ว่าเป็นอัตราส่วนของขนาดของแรงที่ไม่สมดุลของระบบ (m2– m1)g เพื่อการรวมมวลของระบบ (m1+ m2) ตามที่ได้คาดไว้จาก กฎข้อที่สองของนิวตัน สังเกตว่าเครื่องหมายของความเร่งขึ้นอยู่กับมวลที่สัมพันธ์กันของวัตถุทั้งสอง
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ผมชอบคิดการใหญ่
ถ้าคุณคิดจะเริ่มทำอะไรก็ตาม
คุณก็อาจจะคิดการใหญ่ด้วยเหมือนกัน
I like thinking big.
If you’re going to be thinking anything,
you might as well THINK BIG.”
Donald Trump
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>