บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,546
เมื่อวาน 1,080
สัปดาห์นี้ 5,780
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 68,706
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,336,593
  Your IP :44.205.5.65

5.7.2 การวิเคราะห์แบบจำลอง: อนุภาคอยู่ภายใต้แรงสุทธิ

 

      หากว่าวัตถุมีความเร่ง การเคลื่อนที่ของมันสามารถทำการวิเคราะห์ได้ด้วยการจำลองอนุภาคที่อยู่ภายใต้แรงกระทำ สมการที่มีความเหมาะสมสำหรับการจำลองนี้ก็คือ กฎข้อที่สองของนิวตัน ในสมการที่ 5.2

 

 

รูปสมการแรงตามกฏข้อที่สองของนิวตัน

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

ลองมาพิจารณาลังไม้ที่ตั้งอยู่ แล้วถูกคนดึงไปทางด้านขวา โดยไม่ได้คิดแรงเสียดทาน ลากไปตามพื้นราบ ดังรูป a

 

 

 

รูป a) ลังไม้ที่ถูกดึงไปทางขวาบนพื้นที่ไม่มีแรงเสียดทาน b) ผังวัตถุอิสระที่แสดงแรงภายนอกกระทำบนลัง

 

แน่นอน พื้นที่คนเหยียบจะต้องฝืดมีแรงเสียดทาน ไม่เช่นนั้นแล้ว เท้าเขาจะลื่นไม่สามารถดึงลังได้เลย สมมติว่าคุณอยากจะให้หาความเร่งของลังไม้ และแรงที่จะขยับมัน ส่วนแรงกระทำที่ลังไม้ก็สามารถเขียนรูปจำลองเป็นแบบวัตถุอิสระได้ดังรูป b

 

      จากรูปสังเกตได้ว่า แรงแนวนอน T จะกระทำที่ลังไม้ผ่านตัวเชือกที่ใช้ดึง ซึ่งขนาดของ T จะเท่ากับแรงตึงในเส้นเชือก นอกเหนือจากแรงตึงของเชือกที่ใช้ดึงลังไม้แล้ว ในผังวัตถุอิสระยังแสดงแรงที่กระทำกับลังอีกแรงหนึ่งนั่นก็คือ แรงโน้มถ่วงของโลก Fg ที่กระทำกับลัง และแรงปกติ n ซึ่งพื้นกระทำต่อลังเช่นกัน

 

      ในตอนนี้ เราสามารถประยุกต์กฎข้อที่สองของนิวตันมาใช้กับลังไม้ได้ แรงกระทำในแนวแกน x คือแรง T จะใช้  SFx=max ที่เป็นการเคลื่อนที่ในแนวนอน สมการมีดังนี้

 

SFx= T = max

 

หรือ

 

ax = T/m

 

      ไม่มีความเร่งเกิดขึ้นในทิศแนวดิ่ง y  เพราะว่าลังไม้เคลื่อนที่ไปเพียงแนวนอนเท่านั้น ดังนั้น เราใช้การจำลองเป็นจุดอนุภาคในความสมดุลในทิศทาง y ใช้ส่วนประกอบแกน y ของสมการ 5.8 เป็นดังนี้

 

SFy= n + (–Fg) = 0

 

หรือ

 

n = Fg

 

นั่นคือ แรงปกติ (Normal force: n) จะเท่ากันกับแรงโน้มถ่วงของโลก แต่แนวแรงจะกระทำในทิศตรงข้ามกัน

 

      หากว่าแรงตึงเชือก T เป็นแรงคงที่ ความเร่ง ax = T/m ก็จะมีค่าคงที่เช่นกัน ดังนั้น ลังไม้ยังคงถูกสมมติให้เป็นแบบจำลองอนุภาคภายใต้ความเร่งคงที่ในทิศทางในแนวแกน x และสมการจลศาสตร์จากบทที่สอง สามารถใช้เพื่อหาตำแหน่ง x และความเร็ว vx ของลังไม้ซึ่งมันเป็นฟังชันก์ของเวลา

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“จงผลิบานดังหนึ่งดอกบัว

จงทำตัวดังหนึ่งดอกหญ้า

จงเมตตาดังหนึ่งสายฝน

จงรับใช้มหาชนดังหนึ่งตะวัน”

ว.วชิรเมธี

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา