5.5 แรงโน้มถ่วง และน้ำหนัก
สสาร หรือวัตถุทั้งหมดในโลกนี้ จะถูกโลกดึงดูดเอาไว้ด้วย แรงดึงดูด (Attractive force) ไม่ว่าจะมาก หรือน้อยที่โลกมีแรงกระทำต่อวัตถุ เราเรียกว่า แรงโน้มถ่วง (Gravitational force:
) แรงนี้มีทิศทางมุ่งไปยังศูนย์กลางของโลก และขนาดของวัตถุ เรียกว่า น้ำหนัก (Weight) ของวัตถุ
รูปแรงโน้มถ่วงที่โลกกระทำต่อสสารทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
เราได้อ่านมาแล้วในหัวข้อ 2.6 วัตถุที่ตกอย่างอิสระเป็นจะมีความเร่ง g ที่ทำให้วัตถุตกไปยังศูนย์กลางของโลก (เรามีผืนดินคั่นรองรับเอาไว้ จึงไม่ไปสู่กลางโลก)
ทีนี้เราจะทำการประยุกต์กฎข้อที่สองของนิวตันจาก SF = ma แปลงจากการที่วัตถุมวล m ตกอย่างอิสระ ที่มีค่า a = g และ SF = Fg ก็จะได้
Fg = mg (5.6)
กำหนดให้ Fg = แรงโน้มถ่วง
g = ความเร่งโน้มถ่วงของโลก
m = มวลของวัตถุ
ข้อควรรู้: เราคุ้นเคยกับในชีวิตประจำวันว่า น้ำหนักของวัตถุ (Weight of an object) ความหมายนี้ว่ามันหมายถึงอย่างไร มันไม่ได้เป็นคุณสมบัติโดยธรรมชาติของวัตถุ แต่มันเป็นเพียงตัวชี้วัดของแรงโน้มถ่วงระหว่างวัตถุ กับโลก (หรือ เมื่อเทียบกับอื่น ๆ ในจักรวาล) เพราะฉะนั้น น้ำหนัก จึงเป็นคุณสมบัติของระบบ ในระหว่างวัตถุกับวัตถุ เช่น วัตถุ กับโลก
ข้อควรรู้: กิโลกรัม ไม่ใช่หน่วยของน้ำหนัก คุณทราบว่า 1 กิโลกรัม = 2.2 ปอนด์ แม้ปัจจุบันจะมีผูนิยมกล่าวถึงน้ำหนักเป็นกิโลกรัมซะส่วนมาก แต่กิโลกรัมก็ไม่ใช่หน่วยของน้ำหนัก มันเป็นหน่วยของมวล (หน่วยของน้ำหนักก็คือ นิวตัน หน่วยของมวลก็คือ กิโลกรัม) การแปลงหน่วยจะไม่เท่ากัน มันเป็นความสมดุลที่ถูกต้องเพียงแค่อยู่บนพื้นโลกเท่านั้น เพราะมันจะขึ้นอยู่แรงโน้มถ่วงของสถานที่นั้น ๆ
เพราะว่า มันขึ้นอยู่กับค่าโน้มถ่วง หรือจี (Gravity: g) น้ำหนักจะแปรเปลี่ยนไปตามตำแหน่งภูมิศาสตร์ ค่าจีจะน้อยลงถ้ายิ่งอยู่ไกลจากศูนย์กลางของโลก (ยิ่งบินไปบนอากาศสูงเท่าไหร่ ค่าจีจะน้อยลงตาม) น้ำหนักของวัตถุจะน้อยเมื่อระยะความสูงมากขึ้นเมื่อเทียบกับระดับน้ำทะเล
รูปยิ่งสูงยิ่งหนาวไม่พอ ค่าจีที่กระทำต่อเราจะน้อยลงไปด้วย
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
ร่วมน้อมรำลึกถึง คำพ่อสอน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
“เป็นความจริงอยู่โดยธรรมดา
ที่บุคคลในสังคมนั้น ย่อมมีอัชฌาสัยจิตใจ
แตกต่างเหลื่อมล้ำกันเป็นหลายระดับ
ขึ้นอยู่กับพื้นฐานภูมิธรรมของตน
บางคนก็มีความคิดจิตใจสูง
มีความประพฤติปฏิบัติดีงาม
เป็นคุณเป็นประโยชน์อยู่แล้วเป็นปกติ
แต่บางคนไม่สามารถจะทำเช่นนั้นได้
เพราะยังไม่เห็นคุณค่าของการปฏิบัติดี
จึงมักก่อปัญหาให้เกิดแก่สังคม
คนเรานั้น สำคัญอยู่ที่
ควรจะได้ปรารภปรารถนาที่จะพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นเป็นลำดับ
เพื่อให้ชีวิตเป็นสุข และเจริญรุ่งเรือง”
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านในพิธีเปิดการประชุม
ยุวพุทิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ ๑๖ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๒๔
ขอน้อมส่งพระองค์สู่สวรรคาลัย
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ