ตัวอย่างที่ 4.3 การยิงลูกบอล
ในการสาธิตเครื่องยิงลูกบอล โดยลูกบอลจะถูกยิงออกมาในแนววิถีโค้งออกจากกระบอกเครื่องยิง ให้ไปถูกเป้าที่กำลังหล่นลงมา (ลูกบอลอีกลูก) ดูที่รูปด้านล่าง
รูปตัวอย่างที่ 4.3 การยิงบอลด้วยเครื่องยิงลูกบอล
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
รูปแสดงผังการยิง
วิธีทำ
กรอบความคิด: เราคิดปัญหาที่เกิดขึ้นโดยศึกษาในรูปด้านบน โปรดสังเกตว่า ปัญหาไม่ได้มีตัวเลข ที่จะนำมาใช้ในการคำนวณ
แบ่งประเภทหมวดหมู่: ลูกบอลทั้งสองมีแรงโน้มถ่วงของโลกเข้ามาเกี่ยวข้อง เราจะจัดการแก้ปัญหานี้ในสองส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกันกับวัตถุที่มีการตกอย่างอิสระ คือ ลูกบอลจากเป้าเคลื่อนที่แบบหนึ่งมิติตกลงมา และลูกบอลที่ยิงจากเครื่องยิงที่เคลื่อนที่เป็นแบบวิถีโค้ง
การวิเคราะห์: เป้า T เป็นการจำลองอนุภาคภายใต้ความเร่งคงที่ในหนึ่งมิติ รูปผังด้านบน แสดงให้เห็นพิกัดของ y เริ่มต้น yiT ของเป้าคือ xT tan qi และความเร็วเริ่มต้นของมันคือ ศูนย์ ตกลงมาด้วยความเร่ง เท่ากับ ay = –g วิถีโค้ง P คือการจำลองอนุภาคเคลื่อนที่ภายใต้ความเร่งคงที่ในทิศทางแกนวาย และอนุภาคเคลื่อนที่ภายใต้ความเร็วคงที่ในทิศทางแกนเอ็กซ์
เขียนสมการอธิบายพิกัดแกนวายของลูกบอลที่ขณะใด ๆ หลังจากทำการปล่อย สังเกตว่า ความเร็วเริ่มต้นเป็นศูนย์
(1) yT = yiT+ (0)t – ½gt2= xT tan qi – ½gt2
(2)
เขียนสมการอธิบายพิกัดแกนวายของการเคลื่อนที่วิถีโค้งที่ขณะใด ๆ
(2) yP = yiP+ vyiPt – ½gt2= 0 +viP sin qi – ½gt2
= (viP sin qi)t – ½gt2
เขียนสมการอธิบายสำหรับพิกัดแนวแกนเอ็กซ์ของการเคลื่อนที่วิถีโค้งที่ขณะใด ๆ
xP = xiP+ vxiPt = 0 +( viP cos qi)t
= (viP cos qi)t
แก้ปัญหานี้ โดยการย้ายข้างสมการเพื่อหาฟังชันก์สมการของเวลาของตำแหน่งแนวนอนของการเคลื่อนที่วิถีโค้ง
t = xP / (viP cos qi)
แทนค่าเวลาที่ได้ในสมการข้อ (2) จะได้
(3) yP = (viP sin qi)( xP / (viP cos qi)) – ½gt2
= xP tan qi – ½gt2
เปรียบเทียบสมการในตัวอย่าง คือ (1) กับ (3) จะเห็นว่า เมื่อพิกัดแกนเอ็กซ์ของการเคลื่อนที่วิถีโค้ง และเป้า เหมือนกัน นั่นคือ เมื่อ xT = xP พิกัดวายเหล่านั้น จะกำหนดโดยสมการข้อ (1) กับ (3) จะให้ผลที่เหมือนกัน และเกิดการชนปะทะกัน
ตอบ
สังเกตว่า การปะทะกันจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ viP sin qi³ Ö(gd/2)
กำหนดให้ d คือระดับความสูงเริ่มต้นของเป้าหมายเหนือพื้นดิน
ถ้าค่า viP sin qi น้อยกว่าค่านี้แล้ว การเคลื่อนที่วิถีโค้งจะลงพื้นก่อนที่จะถึงเป้าในจุดที่จะปะทะนั่นเอง
ตัวอย่างที่ 4.4 การโยนหิน
หินก้อนหนึ่งถูกขว้างจากยอดตึก ให้หินลอยขึ้นข้างบนทำมุม 30 องศา กับแนวราบด้วยความเร็วเริ่มต้นเท่ากับ 20 เมตรต่อวินาที ดังแสดงในรูปด้านล่าง
รูปตัวอย่างที่ 4.4
ความสูงจากพื้นโลกไปถึงจุดนักขว้างหินมีระยะเท่ากับ 45 เมตร จงหา
a) ใช้เวลาแค่ไหนที่หินจะตกไปถึงพื้นดิน?
b) ความเร็วของหินก่อนที่จะกระทบกับพื้นดินมีค่าเท่าไหร่?
วิธีทำ
a) ใช้เวลาแค่ไหนที่หินจะตกไปถึงพื้นดิน?
แบ่งประเภทหมวดหมู่: ศึกษาที่รูปตัวอย่างนี้ด้านบน เราจะเห็นถึง ขนาด และแนววิถีการเคลื่อนที่ต่าง ๆ ของการเคลื่อนที่ของหิน เราแบ่งประเภทปัญหานี้เป็นปัญหาของการเคลื่อนที่แบบวิถีโค้ง จำลองให้หินเป็นอนุภาคภายใต้ความเร่งคงที่ในทิศทางแกนวาย และอนุภาคมีความเร็วคงที่ในทิศทางแกนเอ็กซ์
การวิเคราะห์: จากโจทย์กำหนดให้ xi = yi =0, yf = –45 m, ay= –g และ vi = 20 m/s (ที่ค่าของ yf เป็นค่าลบเพราะว่าเราเลือกจุดที่ขว้างหินเป็นจุดกำเนิด)
หาความเร็วเริ่มต้นของหิน แล้วแตกแรงตามแนวแกนเอ็กซ์ และวาย
vxi = vi cos qi= (20 m/s) cos 30°= 17.3 m/s
vyi = vi sin qi= (20 m/s) sin 30°= 10 m/s
แสดงตำแหน่งแนวตั้งของหินจากองค์ประกอบแนวดิ่งโดยใช้สมการที่ 4.9
yf = yi + vyit + ½gyt2
ใส่ตัวเลขจากโจทย์ลงไป
–45 m = 0 + (10 m/s)t + ½(–9.80 m/s2)t2
ย้ายข้างสมการเพื่อหาเวลา
t = 4.22 s
ดังนั้น จะใช้เวลา 4.22 วินาทีที่หินจะตกลงสู่พื้น ตอบ
b) ความเร็วของหินก่อนที่จะกระทบกับพื้นดินมีค่าเท่าไหร่?
การวิเคราะห์: ใช้องค์ประกอบของแกนวายของสมการ 4.8 เพื่อให้ได้ความเร็วในส่วนประกอบของแกนวายของหินก่อนที่มันจะตกกระทบพื้น
vyf = vyi + ayt
แทนค่าตัวเลขที่คำนวณได้ t = 4.22 s
vyf = 10 m/s + (–9.80 m/s2)(4.22 s) = –31.3 m/s
ใช้องค์ประกอบนี้กับองค์ประกอบในแนวนอน vxf = vxi = 17.3 m/s เพื่อหาความเร็วของหินที่ t = 4.22 s
รูปวิธีทำ
ดังนั้น ความเร็วสุดท้ายก่อนที่จะกระทบพื้นมีค่าเท่ากับ 35.8 เมตรต่อวินาที ตอบ
ตัวอย่างที่ 4.5 เล่นสกี
นักเล่นสกี ได้กระโดดสกีจากพื้นที่แนวราบด้วยความเร็วในการเคลื่อนที่ 25 เมตรต่อวินาทีดังแสดงในรูปตัวอย่างนี้ด้านล่าง เพื่อกระโดดลงไปที่พื้นเอียงด้านล่างที่มีมุม 35 องศา ให้หาว่า นักกระโดดสกีจะลงตรงบริเวณไหนของพื้นเอียง
รูปตัวอย่างที่ 4.5
วิธีทำ
กรอบความคิด: เราสามารถสร้างกรอบความคิดของปัญหานี้ โดยขึ้นอยู่กับการสังเกตในการนับค่าในใจ โดยเราประมาณการว่านักสกีอยู่ในอากาศนาน 4 วินาที และเคลื่อนที่ไปตามแนวเอียง 100 เมตร เราจะคำนวณค่าของ d ซึ่งเป็นระยะทางในการเคลื่อนที่ตามแนวพื้นเอียง เพื่อจะหาค่าระยะจุดที่ลง
แบ่งประเภทหมวดหมู่: เราจัดให้เป็นการเคลื่อนที่ของอนุภาคแบบวิถีโค้ง
การวิเคราะห์: มันจะสะดวกถ้าเราจะกำหนดจุดเริ่มต้น ของการกระโดดจากจุดกำเนิด ค่าความเร็วตอนต้นจะแยกไปตามแนวแกน นั่นคือ vxi= 25 m/s และ vyi= 0 จากสามเหลี่ยมมุมฉากในรูปด้านบนของตัวอย่างนี้ เราจะเห็นพิกัดของนักกระโดดทั้งเอ็กซ์ และวาย ที่จุดจะลง กำหนดโดย xf = d cosf และ yf = –d sinf
แสดงพิกัดของนักสกีที่กระโดดเป็นฟังชันก์ของเวลา
(1) xf = vxit
(2) yf = vyit + ½gyt2= –½gyt2
แทนค่าของ xf และ yf ที่จุดลงพื้น
(3) d cosf = vxit
(4) –d sinf = –½gyt2
แก้สมการข้อ (3) สำหรับ t และแทนค่าผลที่ได้ ไปยังสมการข้อ (4)
–d sinf = –½g((d cosf)/vxi)2
แก้สมการเพื่อหาค่า d
รูปวิธีทำ
ประเมินพิกัด เอ็กซ์ และวายของจุดที่ซึ่งนักสกีเหินลงพื้น
xf = d cosf = (109 m) cos 35°= 89.3 m
yf = –d sinf = – (109 m) sin 35°= – 62.5 m
ท้ายสุด: ให้เราเปรียบเทียบผลลัพธ์กับการที่เราสมมติไว้แต่แรก ที่เราคาดว่าระยะที่เราคาดคะเนประมาณ 100 เมตร และผลที่ได้คือ 89.3 เมตร ซึ่งน่าจะเป็นที่แน่นอนสำหรับคำตอบ และค่านี้มันอาจจะมีประโยชน์ที่จะคำนวณในช่วงเวลาที่นักสกีลอยอยู่กลางอากาศ (ถ้ามีการถาม) และนำไปเปรียบเทียบกับการประมาณการเบื้องต้นที่ประมาณว่าเป็น 4 วินาที
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ทุกสิ่งที่เราจับต้องได้ ล้วนไม่ยั่งยืน
การพบกัน เป็นสิ่งชั่วคราว
การพลัดพรากจากกัน เป็นสิ่งสมบูรณ์”