4.3 การเคลื่อนที่วิถีโค้ง
รูปชู๊ตบาตเกตบอลลงบ่วง
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
ลองสังเกตการณ์เคลื่อนที่ของลูกบาสเกตบอลที่โยนขึ้นไปที่ห่วง แล้วตกลงสู่พื้น การเคลื่อนที่แบบนี้ก็คือ การเคลื่อนที่แบบวิถีโค้ง หรือโปรเจคไตล์ (Projectile motion)
รูปการเคลื่อนที่แบบวิถีโค้ง
วิดีโอแอนิเมทชันการเคลื่อนที่วิถีโค้ง
การเคลื่อนที่ของวัตถุจะวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น หากเราสมมติว่า
1) ความเร่งจากการที่มันตกอย่างอิสระ เป็นค่าคงที่ตลอดช่วงของการเคลื่อนที่ และมีทิศทางตกลงต่ำ
2) ผลของแรงต้านอากาศมีน้อยจนตัดออกไปได้
รูปการยิงกระสุนปืนใหญ่ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่แนววิถีโค้ง
ด้วยสมมติฐานเหล่านี้ เราจะพบว่าเส้นทางของการเคลื่อนที่โค้ง ซึ่งเราเรียกมันว่า เส้นโคจร (Trajectory) ของมัน มันเป็นรูปร่างโค้งแบบพาราโบลา (Parabola) เสมอ
รูปการเคลื่อนที่โปรเจคไตล์จะเป็นการเคลื่อนที่แบบพาราโบลาเสมอ
ซึ่งเราจะใช้สมมติฐาน นำมาใช้ในตลอดบทนี้
อธิบายเวกเตอร์ตำแหน่งของวิถีโค้ง เป็นไปตามฟังชันก์ของเวลา ซึ่งคล้ายกันกับสมการที่ 4.9 ต่างกันตรงที่ ความเร่งของมันจะได้มาจากแรงโน้มถ่วงของโลก
รูปสมการที่ 4.10
ซึ่งองค์ประกอบเอ็กซ์ และวายเริ่มต้นของความเร็วในการเคลื่อนที่แบบโปรเจคไตล์ก็คือ
vxi = vi cos qi vyi = vi sin qi (4.11)
รูปส่วนประกอบของการเคลื่อนที่วิถีโค้ง
รูปเวกเตอร์ตำแหน่ง rf ของการเคลื่อนที่แบบโปรเจคไตล์จากจุดกำเนิด
สำหรับการเคลื่อนที่วิถีโค้งที่เปิดตัวจากจุดกำเนิด จะให้ ri = 0 ส่วนตำแหน่งสุดท้ายของอนุภาค จะสามารถพิจารณาให้เป็นการทับซ้อนกัน กับตำแหน่งเริ่มต้นของมัน
ในส่วนของ vit ซึ่งจะเป็นเพียงระยะขจัดของมันหากไม่มีความเร่ง ณ ตรงนี้ และในส่วนของ ½gt2 ที่เกิดขึ้นจากความเร่งของมันเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ถ้าไม่มีความเร่งจากแรงโน้มถ่วงของโลกแล้ว อนุภาคจะเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องไปตามแนวเส้นตรงในทิศทางของ vi
เพราะฉะนั้น ระยะทางในแนวดิ่ง ½gt2 โดยที่อนุภาคตกลงมา เป็นแนวเส้นตรงดิ่งในระยะทางเดียวกันกับที่วัตถุได้ตกลงมาในช่วงเวลาเดียวกัน
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“หากเราวิ่งหนีปัญหา ไม่พ้น
ก็ลองวิ่งชน กับมันดูซักที”