บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 2,384
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 8,614
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 36,849
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,381,346
  Your IP :3.19.31.73

เวกเตอร์ตำแหน่งสำหรับการเคลื่อนที่ของอนุภาคในระนาบเอ็กซ์วายสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

 

 

รูปสมการที่ 4.6

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

กำหนดให้ x, y และเวกเตอร์ตำแหน่ง r เปลี่ยนแปลงพร้อมกับเวลาซึ่งการเคลื่อนที่ของอนุภาคขณะที่เวกเตอร์หนึ่งหน่วยในแกนไอ  และเจ  รักษาค่าคงที่ ถ้าเราทราบเวกเตอร์ตำแหน่ง แล้วความเร็วของอนุภาคสามารถหาได้จากประยุกต์สมการ 4.3 และ 4.6 ซึ่งจะได้เป็นสมการดังข้างล่างนี้

 

 

รูปสมการที่ 4.7

 

      เพราะว่าความเร่ง a ของอนุภาคถูกสมมติให้เป็นค่าคงที่ในการอธิบายนี้ ซึ่งส่วนประกอบของมันคือ ax และ ay ก็เป็นค่าคงที่เช่นกัน

      เพราะฉะนั้น เราสามารถจำลองอนุภาค ซึ่งอนุภาคอยู่ภายใต้ความเร่งคงที่เป็นอิสระในแต่ละสองทิศทาง และใช้สมการจลศาสตร์แยกออกไปในแต่ละแนวแกน x และ y ของเวกเตอร์ความเร็ว

 

จากสมการ 2.13 vxf = vxi + axt และ vyf = vyi + ayt แทนที่ไปยังสมการที่ 4.7 เพื่อคำนวณความเร็วสุดท้ายที่เวลาใด ๆ เราจะได้

 

 

รูปสมการที่ 4.8

 

ผลที่ได้นี้ ระบุว่าความเร็วของอนุภาคในบางช่วงเวลา t จะเท่ากับผลรวมของเวกเตอร์ในความเร็วเริ่มต้น vi ของมัน ที่เวลา t = 0 และความเร็วที่เพิ่มขึ้น at  ที่ได้มาในเวลา t ซึ่งเป็นผลของความเร่งคงที่ สมการที่ 4.8 ที่พัฒนามาจากเวกเตอร์ของสมการ 2.13

 

      ซึ่งคล้ายคลึงกับสมการ 2.16 เราทราบว่าพิกัดเอ็กซ์ และวายของการเคลื่อนที่ของอนุภาคด้วยความเร่งคงที่ คือ

 

xf = xi + vxit + ½axt2 

 

yf = y + vyit + ½ayt2 

 

แทนสมการข้างบนเหล่านี้ ไปยังสมการ 4.6 (และเขียนกำกับด้วยว่า เป็นเวกเตอร์ตำแหน่งสุดท้าย rf ) ซึ่งเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

 

 

รูปสมการที่ 4.9

 

      ซึ่งเป็นเวกเตอร์ที่พัฒนามาจากสมการ 2.16 ในสมการที่ 4.9 จะบอกเราว่าเวกเตอร์ตำแหน่งสุดท้าย rf ของอนุภาคเป็นผลรวมเวกเตอร์ตำแหน่งเริ่มต้น ri บวกกับระยะขจัด vit ที่เริ่มขึ้นจากความเร็วเริ่มต้นของอนุภาค และบวกกับระยะขจัด 1/2at2  ซึ่งเป็นผลจากความเร่งคงที่ของอนุภาค

 

รูปเวกเตอร์ และส่วนประกอบของ a) ความเร็ว b) ตำแหน่งของอนุภาคที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร่งคงที่

 

แสดงภาพกราฟิกของสมการ 4.8 และ 4.9 แสดงในรูปด้านบน ที่แสดงส่วนประกอบของเวกเตอร์ตำแหน่ง และความเร็ว

 

 

ข้อสังเกต จากรูป a เวกเตอร์ความเร็วสุดท้าย vf มักจะเกิดไม่พร้อมทุกทิศทาง แต่จะเป็นทิศทางใด ทิศทางหนึ่งจะ vi   หรือ a  เพราะว่าความสัมพันธ์ระหว่าง ปริมาณเหล่านี้คือ การแสดงออกทางเวกเตอร์ที่เกิดจากเหตุผลเดียวกัน

 

        คล้ายกัน สำหรับรูป b เราเห็นเวกเตอร์ตำแหน่งสุดท้าย rf โดยทั่วไป ไม่เป็นไปตามทิศทางของ ri ,vi หรือ a ที่ท้ายสุดพบว่า vf  และ rf โดยทั่วไปไม่ได้อยู่ในทิศทางเดียวกัน

 

 

ตัวอย่างที่ 4.1 การเคลื่อนที่ในระนาบ

อนุภาคหนึ่งเคลื่อนที่ในระนาบเอ็กซ์วาย เริ่มต้นจากจุดกำเนิดที่ t = 0 มีความเร็วเริ่มต้นไปทางแกนเอ็กซ์ด้วยความเร็ว 20 เมตรต่อวินาที และในแนวแกนวายความเร็วเท่ากับ -15 เมตรต่อวินาที อนุภาคมีความเร่งในทิศทางแกนเอ็กซ์ เท่ากับ ax = 4.0 m/s2

 

จงหา     a) คำนวณเวกเตอร์ความเร็วโดยรวมที่เวลาใด ๆ

 

            b) คำนวณหาความเร็ว และอัตราเร็วของอนุภาคที่ t = 5.0 s และมุมเวกเตอร์ความเร็วที่ทำกับแกนเอ็กซ์

 

            c) คำนวณหาพิกัดของเอ็กซ์ และวายของอนุภาคที่เวลาใด ๆ และเวกเตอร์ตำแหน่งของมันที่เวลานี้

 

 

วิธีทำ

 

a) คำนวณเวกเตอร์ความเร็วโดยรวมที่เวลาใด ๆ

 

ส่วนประกอบของความเร็วเริ่มต้น นั่นคือ อนุภาคเริ่มต้นโดยการเคลื่อนที่ไปทางขวา และลงต่ำ จากโจทย์ ส่วนประกอบทางแกนเอ็กซ์มีความเร็ว 20 m/s และเพิ่มขึ้น 4.0 m/s ทุก ๆ วินาที

 

      ในส่วนประกอบของแกนวายความเร็วไม่เปลี่ยนแปลงจากค่าเริ่มต้นของ -15 m/s เราจะสเกตซ์ ผังการเคลื่อนที่ของสถานการณ์ตามรูปด้านล่าง

 

 

 

รูปตัวอย่างที่ 4.1 ไดอะแกรมการเคลื่อนที่สำหรับอนุภาค

 

เพราะว่าอนุภาคมีความเร่งในทางแกนบวกเอ็กซ์ +x ในทิศทางที่เพิ่มขึ้นนี้ และมีส่วนโค้งดังแสดงในผังไดอะแกรม

 

      สังเกตว่าระยะระหว่างภาพที่ต่อเนื่องจะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาเปลี่ยนไป เพราะว่ามันมีอัตราเร็วเพิ่มขึ้นนั่นเอง ตำแหน่งของเวกเตอร์ความเร่ง และความเร็วดูในรูปด้านบน เพื่อจะสามารถมองภาพรวมออก

 

      ความเร็วเริ่มต้นจะมีองค์ประกอบในทั้งทิศทางแกนเอ็กซ์ และแกนวาย เราจะแบ่งปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอนุภาคไปในการเคลื่อนที่สองมิติ เพราะว่าอนุภาคในส่วนประกอบของแกนเอ็กซ์จะมีความเร่ง เราจึงจำลองมัน ให้อนุภาคอยู่ภายใต้ความเร่งคงที่ในทิศทางแกนเอ็กซ์ และอนุภาคภายใต้ความเร็วคงที่ในทิศทางแกนวาย

 

            การวิเคราะห์ปัญหา เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ ในโจทย์เราได้ vxi= 20m/s, vyi = - 15m/s, ax = 4.0 m/s2 ay = 0    

 

จะใช้สมการ 4.8 สำหรับเวกเตอร์ความเร็ว

 

 

รูปตัวอย่างที่ 4.1 1

 

สังเกตว่า ส่วนประกอบในแนวแกนเอ็กซ์ มีการเพิ่มความเร็วขึ้นตามเวลา ขณะที่ส่วนประกอบในแกนวายยังคงรักษาค่าคงที่อยู่

 

 

b) คำนวณหาความเร็ว และอัตราเร็วของอนุภาคที่ t = 5.0 s และมุมเวกเตอร์ความเร็วที่ทำกับแกนเอ็กซ์

 

ประเมินผลต่อเนื่องจากสมการในข้อที่แล้ว ที่เวลา t = 5.0 s

 

 

รูปตัวอย่างที่ 4.1 2

 

      มีเครื่องหมายลบสำหรับมุม q แสดงให้เห็นว่า เวกเตอร์ความเร็วได้ทำมุมเท่ากับ 21° ที่มุดลงด้านล่างของแกนบวกเอ็กซ์

 

สังเกตว่าถ้าการคำนวณความเร็วเริ่มต้น vi จากส่วนประกอบแกนเอ็กซ์ และวาย ของ vi เราพบว่า vf> vi

 

 

c) คำนวณหาพิกัดของเอ็กซ์ และวายของอนุภาคที่เวลาใด ๆ และเวกเตอร์ตำแหน่งของมันที่เวลานี้

 

ใช้องค์ประกอบของสมการที่ 4.9 ทดแทนกันด้วย xi = yi = 0  ที่ t = 0 ซึ่งระยะตำแหน่งทาง เอ็กซ์ และวายมีหน่วยเป็นเมตร และเวลาเป็นหน่วยวินาที

 

xf = vxit + ½axt2

 

= 20t + 2.0t2

 

yf = vyit = -15t 

 

แสดงเวกเตอร์ตำแหน่งของอนุภาคที่เวลาใด ๆ

 

 

รูปตัวอย่างที่ 4.1 3

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ขนาดเวลายังเดินต่อ

แล้วเราจะมัวท้อ อยู่ทำไม”

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา