ความเร่งเฉลี่ย (Average acceleration:
) ของอนุภาค กำหนดให้เป็นการเปลี่ยนแปลงในเวกเตอร์ความเร็วชั่วขณะ เวกเตอร์ความเร็ว
หารด้วยช่วงเวลา Dt ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น สมการจะเป็นดังนี้
รูปสมการที่ 4.4 ความเร่งเฉลี่ย
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
เพราะว่า ความเร่งเฉลี่ยเป็นอัตราส่วนของปริมาณเวกเตอร์ เวกเตอร์ความเร็ว
กับปริมาณสเกล่าร์ของช่วงเวลา Dt ที่เป็นบวก
เราสรุปได้ว่าความเร่งเฉลี่ยเป็นปริมาณเวกเตอร์ที่เป็นเวกเตอร์ความเร็ว
แสดงให้เห็นในรูปด้านล่าง
รูปการเคลื่อนที่ของอนุภาคจากตำแหน่ง A ไปสู่ตำแหน่ง B เวกเตอร์ความเร็วของมันเปลี่ยนแปลงจาก ความเร็วตอนเริ่มต้นไปสู่ความเร็วตอนปลาย ผังของเวกเตอร์ที่ด้านขวาบนแสดงเป็นสองทางของการคำนวณเวกเตอร์ความเร็ว จากความเร็วเริ่มต้น และความเร็วสุดท้าย
ทิศทางของเวกเตอร์ความเร็ว
มาจากการบวกของค่าลบเวกเตอร์ความเร็วเริ่มต้น
(การเป็นลบของ
) บวกกับเวกเตอร์ความเร็วสุดท้าย
เนื่องมาจากโดยคำนิยาม
= 
(รูป) เปรียบเทียบกับสมการ 4.4 กับสมการ 2.9
เมื่อความเร็วเฉลี่ยของอนุภาคเปลี่ยนไประหว่างช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป มันเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดความเร่งชั่วขณะ (Instantaneous acceleration:
)
ในความเร่งชั่วขณะ กำหนดใช้ค่าลิมิตของการอัตราส่วนการหารของเวกเตอร์ความเร็วกับช่วงเวลา
/Dt ซึ่ง Dt เข้าสู่ศูนย์ ความเร่งชั่วขณะจะเป็นดังนี้
รูปสมการที่ 4.5 ความเร่งชั่วขณะ
กล่าวอีกนัยหนึ่ง ความเร่งชั่วขณะจะเท่ากับอนุพันธ์ของเวกเตอร์ความเร็วกับเวลา เปรียบเทียบกับสมการ 4.5 กับสมการ 2.10
การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ สามารถเกิดขึ้นเมื่ออนุภาคเกิดความเร่ง
อันดับแรก ขนาดของเวกเตอร์ความเร็ว (อัตราเร็ว) อาจเปลี่ยนไปตามเวลาซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง (หนึ่งมิติ)
ต่อมาข้อสอง ทิศทางของเวกเตอร์ความเร็วอาจเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาแม้ว่าขนาดของมัน (อัตราเร็ว) ยังรักษาไว้อย่างคงที่ ในการเคลื่อนที่ในสองมิติไปตามเส้นทางโค้ง
สุดท้าย ทั้งขนาด และทิศทางของเวกเตอร์ความเร็วอาจเปลี่ยนแปลงไปพร้อม ๆ กัน
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
ขออัญเชิญพระบรมราโชวาทของในหลวง ให้เป็นแนวคิดดี ๆ
แก้ปัญหาด้วยปัญญา
ปัญหาทุกอย่างไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ มีทางแก้ไขได้
ถ้ารู้จักคิดให้ดี ปฏิบัติให้ถูก
การคิดได้ดีนั้น มิใช่การคิดได้ด้วยลูกคิด หรือด้วยสมองกล
เพราะโลกเราในปัจจุบันจะวิวัฒนาการไปมากเพียงใดก็ตาม
ก็ยังไม่มีเครื่องมืออันวิเศษชนิดใด
สามารถขบคิดแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างสมบูรณ์
การขบคิดวินิจฉัยปัญหา จึงต้องใช้สติปัญญา
คือคิดด้วยสติรู้ตัวอยู่เสมอ
เพื่อหยุดยั้งและป้องกันความประมาทผิดพลาด
และอคติต่างๆมิให้เกิดขึ้น
ช่วยให้การใช้ปัญญาพิจารณาปัญหาต่างๆ
เป็นไปอย่างเที่ยงตรง ทำให้เห็นเหตุเห็นผลที่เกี่ยวเนื่องกัน
เป็นกระบวนการได้กระจ่างชัด ทุกขั้นตอน
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1 สิงหาคม 2539
ทรงพระเจริญ