บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,817
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 8,047
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 36,282
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,380,779
  Your IP :3.144.28.50

3.3 คุณสมบัติบางอย่างของเวกเตอร์

 

         ในหัวข้อนี้ เราจะตรวจสอบคุณสมบัติทั่วไปของเวกเตอร์ที่แสดงออกมาในรูปแบบปริมาณทางฟิสิกส์ นอกจากนี้เราจะทำการ บวก และลบเวกเตอร์โดยใช้วิชาพีชคณิต และวิธีการเรขาคณิต

 

3.3.1 ความเท่ากันของสองเวกเตอร์

 

 

รูปตัวอักษรเวกเตอร์

(เขียนแบบนี้เพื่อให้เข้าใจว่า ถ้ากล่าวถึงเวกเตอร์เอ บี หรืออะไรก็ตาม จะเป็นรูปแบบตามข้างบน เพราะเขียนแล้วลงเว็บแล้วรูปแบบไม่ขึ้นตามที่ต้องการ)

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      เพื่อวัตถุประสงค์หลากหลาย เวกเตอร์เอ และเวกเตอร์บี อาจจะมีค่าเท่ากันได้ ถ้าพวกมันมีขนาดเดียวกัน และถ้าพวกมันชี้ไปในทิศทางเดียวกัน นั้นจะกล่าวได้ว่า เวกเตอร์เอ = เวกเตอร์บี เพียงถ้า A = B และถ้า เวกเตอร์เอ และเวกเตอร์บี ชี้ไปในทิศทางที่เหมือนกัน และแนวเส้นขนานกัน

 

 

รูปเวกเตอร์ที่มีขนาด และทิศทางเดียวกัน

 

      ยกตัวอย่างเช่น เวกเตอร์ทั้งหมดในรูปด้านบน จะเท่ากันถึงแม้ว่าจุดเริ่มต้นจะแตกต่างกัน คุณสมบัตินี้ทำให้เราเคลื่อนที่เวกเตอร์จากตำแหน่งหนึ่งเคลื่อนที่ไปตามแนวขนานกันตามแผนภาพโดยไม่มีผลกับเวกเตอร์

 

 

3.3.2 การบวกเวกเตอร์

 

        กฎของการบวกเวกเตอร์ สามารถอธิบายให้เห็นด้วยวิธีกราฟิก การบวกเวกเตอร์บี กับเวกเตอร์เอ โดยการวาดเวกเตอร์เอลงบนกราฟกระดาษกราฟ พร้อมกับขนาดของมันตามสเกลขนาดยาว และวาดเวกเตอร์บีที่ที่หัวลูกศรของเวกเตอร์เอจะเป็นจุดเริ่มต้นของเวกเตอร์บี แสดงให้เห็นในรูปด้านล่าง

 

รูปการบวกเวกเตอร์

 

รูปเวกเตอร์ลัพธ์

 

   เวกเตอร์ลัพธ์ (Resultant) เวกเตอร์ลัพธ์ = เวกเตอร์เอ + เวกเตอร์บี คือเวกเตอร์ที่ลากจากหางของเวกเตอร์เอ ไปจรดที่ปลายลูกศรของเวกเตอร์บี

 

 

รูปเวกเตอร์ลัพธ์

 

      รูปร่างทางเรขาคณิตสามารถใช้เพื่อบวกกันได้มากกว่าสองเวกเตอร์ดังแสดงในรูปด้านล่าง

 

 

รูปเมื่อเวกเตอร์มีมากกว่า สองเวกเตอร์ก็บวกกันได้เพื่อหาเวกเตอร์ลัพธ์

 

สำหรับกรณีมีมากกว่าสองเวกเตอร์ เวกเตอร์ลัพธ์ก็จะเป็นดังนี้

 

รูปการบวกกันมากกว่าสองเวกเตอร์

 

                เมื่อลากเวกเตอร์เสร็จแล้วก็จะเห็นเป็นรูปหลากหลายเหลี่ยม กล่าวอีกนัยหนึ่ง เวกเตอร์ลัพธ์เป็นเวกเตอร์ที่ลากจากหางของเวกเตอร์แรกไปจรดถึงปลายหัวลูกศรของเวกเตอร์สุดท้าย เทคนิคนี้ของการบวกเวกเตอร์ซึ่งมีอยู่บ่อยครั้ง เราจะเรียกว่า วิธีการหัวต่อหาง (Head to tail method)

 

รูปตัวอย่างวิธีการหัวต่อหาง

 

                เมื่อสองเวกเตอร์บวกกัน การรวมกันจะเป็นอิสระตามลำดับที่เพิ่มขึ้น (ความจริงอาจจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่คุณจะเห็นความสำคัญได้ในบทที่ 11 เรื่องเกี่ยวกับลำดับความสำคัญเมื่อเวกเตอร์ถูกคูณกัน ซึ่งวิธีการคูณเวกเตอร์จะกล่าวละเอียดในบทที่ 7 และบทที่ 11) คุณสมบัตินี้ สามารถเห็นได้จากรูปร่างทางเรขาคณิตในรูปด้านล่าง

 

รูปร่างนี้เวกเตอร์เอ + เวกเตอร์บี = เวกเตอร์บี + เวกเตอร์เอ หรือเรียกอีกอย่างว่า เวกเตอร์การสลับที่

 

ที่เรียกว่า กฎการบวกสลับที่ (Commutative law of addition)

 

รูปสมการที่ 3.5

 

      เมื่อมีการบวกกันมากกว่าสองเวกเตอร์ ผลรวมก็เป็นอิสระตามแนวทาง ในแต่ละเวกเตอร์ที่จับกลุ่มกัน การพิสูจน์ทางเรขาคณิตของกฎนี้สำหรับสามเวกเตอร์ดูได้ในรูปด้านล่าง

 

รูปทางเรขาคณิต ของกฎการบวกเชื่อมโยง

 

คุณสมบัตินี้เรียกว่า กฎการบวกเชื่อมโยง (Associative law of addition)

 

รูปสมการที่ 3.6

 

      ในการสรุป ปริมาณเวกเตอร์จะมีทั้งขนาด และทิศทาง อีกทั้งยังสามารถเกิดกฎของการบวกเวกเตอร์อีกด้วย ซึ่งอธิบายไว้ข้างบน

 

      แล้วเมื่อเวกเตอร์ที่มากกว่าสองมาบวกกัน พวกมันทั้งหมดจำเป็นต้องมีหน่วยที่เหมือนกัน และทั้งหมดต้องมีประเภทของปริมาณที่เหมือนกันด้วยถึงจะบวกกันได้

 

      ในเรื่องของเวกเตอร์ เวลามันไม่ค่อยมีความหมายเท่าไหร่นัก ที่จะเอาเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องกับเวกเตอร์ จนกลายเป็นความเร็ว ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์วิ่ง 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงไปทางทิศตะวันออก

 

      แต่ในเรื่องของเวกเตอร์จะกล่าวเพียงอนุภาคที่วิ่งไปตามแนวเส้นทิศทางเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น 200 กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือ

 

      เพราะว่า เวกเตอร์เหล่านี้จะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันของปริมาณทางฟิสิกส์ ซึ่งเป็นกฎเดียวกันกับการใช้งานของปริมาณสเกล่าร์ มันจึงไม่ค่อยความหมายที่จะนำเรื่องเวลา หรืออุณหภูมิเพิ่มเข้าไปในเวกเตอร์ ซึ่งเมื่อเอาเรื่องเวลา หรืออุณหภูมิเข้าไปอธิบาย มันจะกลายไปเป็นการเรียนรู้เรื่องอื่นแทน เช่น การเรียนรู้ในเรื่องพลศาสตร์, อุณหพลศาสตร์, อุทกศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งจะได้กล่าวถึงในโอกาสต่อไป

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 “คนมีปัญญา มักมองเห็นโอกาส ในทุก ๆปัญหา

คนขาดปัญญา มักมองเห็นปัญหา ในทุก ๆโอกาส”

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา