บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 2,902
เมื่อวาน 1,670
สัปดาห์นี้ 6,094
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 47,294
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,391,791
  Your IP :18.117.186.92

3.2 ปริมาณสเกลาร์  และเวกเตอร์

 

      ตอนนี้เราจะได้อธิบายให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างปริมาณสเกลาร์ (Scalar quantities) และปริมาณเวกเตอร์ (Vector quantities)

 

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราจะต้องออกจากบ้านไปทำธุระ บางครั้งเรามีความจำเป็นที่จะต้องทราบเกี่ยวกับอากาศภายนอกว่าร้อนหรือหนาว ก็เพื่อที่เราจะสามารถเลือกเสื้อผ้าที่จะใส่ออกไปข้างนอกได้

 

      อากาศที่ร้อน หรือหนาวนั่นก็คือ อุณหภูมิ ซึ่งเราจะต้องทราบว่ามันมีค่าเท่าไหร่ในหน่วยขององศาเซลเซียส (°C) หรือองศาฟาเรนไฮต์ (°F) ซึ่งอุณหภูมินี้เป็นตัวอย่างของปริมาณสเกลาร์ (รู้แต่ขนาดอย่างเดียว แต่ไม่ทราบทิศทาง)

 

 

รูปตัวอย่างปริมาณสเกล่าร์

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปมวลของวัตถุถือเป็นปริมาณสเกล่าร์

 

      ส่วนตัวอย่างอื่น ๆ ของปริมาณสเกลาร์ คือ ปริมาตร, มวล, ความเร็ว และเวลา บางอย่างค่าของสเกลาร์จะเป็นค่าบวกอย่างเดียว เช่น มวล และความเร็ว ส่วนค่าอื่น ๆ เช่น อุณหภูมิ จะมีทั้งค่าบวก และค่าลบ จะสามารถใช้กฏทางคณิตศาสตร์มาจัดการคำนวณปริมาณสเกลาร์ได้

 

รูปนักขับเครื่องบินมีความจำเป็นที่จะต้องรู้เกี่ยวกับทิศทาง และความเร็วลม

 

      ถ้าสมมติคุณเป็นนักบิน และต้องทำการบิน คุณจะต้องรู้ว่าลมที่พัดตอนนั้นมีความเร็วลมอยู่ที่เท่าไหร่ ซึ่งจะต้องรู้ให้ได้ถึงความเร็วของลม และทิศทางลมที่พัดมา เพราะว่าทิศทางลมจะมีความสำคัญมากเมื่อจะต้องนำขึ้นบินขึ้นบิน ซึ่งจะเกี่ยวกับแรงในการบินขึ้น, การเผาผลาญเชื้อเพลิง, เวลาที่จะต้องใช้ในการบิน ฯลฯ ดังนั้น ความเร็วของลม นั่นก็คือ ปริมาณเวกเตอร์ (รู้ทั้งขนาด และทิศทาง) นั่นเอง

 

      ส่วนตัวอย่างอื่น ๆ ของปริมาณเวกเตอร์ นั่นก็คือ ระยะขจัด (Displacement) ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วในบทที่ 2 สมมติว่าอนุภาคเคลื่อนที่จากจุดหนึ่ง ไปสู่จุดหนึ่ง ไปตามเส้นตรง ดังแสดงในรูปด้านล่าง

 

รูประยะขจัดในการเคลื่อนที่

 

เราแทนระยะขจัดด้วยลูกศรโดยการลากลูกศรจาก A ไป B เป็นเส้นตรงโดยไม่สนใจ ระยะทาง (Distance) ที่คดเคี้ยว

      จากรูปด้านบน จะอธิบายถึงระยะขจัดโดยการลากเส้นลูกศรเป็นแนวตรงจากจุดเริ่มต้น (A) ไปถึงจุดสุดท้าย (B) ความยาวของลูกศรจะแสดงให้เห็นถึงปริมาณของขนาด ส่วนทิศทางของหัวลูกศรแสดงให้เห็นถึงทิศทางว่าขนาดนั้น จะไปในทิศทางไหน

 

      ถ้าการเคลื่อนที่ของอนุภาคเคลื่อนที่คดเคี้ยวไปตามรูปข้างบนจาก เอ ไปที่ บี  จะเลี้ยวคดเคี้ยวแค่ไหน ระยะขจัดก็จะเป็นลูกศรมุ่งตรงจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสุดท้ายแค่นั้น ดังนั้น เวกเตอร์ของระยะขจัด ก็คือ การเดินทางเป็นเส้นทางตรงของอนุภาคระหว่างจุดสองจุดที่ว่า

 

 

รูปสัญลักษณ์ของเวกเตอร์

 

 

รูปสัญลักษณ์

 

      ในหนังสือเล่มนี้ จะใช้ตัวอักษรที่มีลูกศรคาดอยู่ข้างบน เช่น  แสดงให้เห็นว่าเป็นเวกเตอร์ เครื่องหมายอื่นทั่วไปของเวกเตอร์ ที่ควรจะคุ้นเคยเป็นลักษณะตัวหนา ขนาดของเวกเตอร์  จะเขียนได้ทั้งแบบ A หรือ  ขนาดของเวกเตอร์จะมีหน่วยในทางฟิสิกส์ เช่น เมตรเป็นหน่วยวัดของระยะขจัด หรือ เมตรต่อวินาทีเป็นหน่วยวัดของความเร็ว ขนาดของเวกเตอร์มักจะเป็นค่าบวกเสมอ

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“หากไม่เคยไปอยู่ ที่จุดลำบาก

ก็จะไม่รู้ ศักยภาพของตัวเอง”

 

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา