บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,369
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 12,398
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 59,555
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,807
  Your IP :18.116.85.108

บทที่ 3 เวกเตอร์

     

      ในการศึกษาฟิสิกส์ มีอยู่บ่อยครั้งเราจำเป็นที่จะต้องรู้งานที่เกิดขึ้น อยู่ในรูปแบบปริมาณทางฟิสิกส์ นั่นคือ งานที่ต้องการรู้จะมีคุณสมบัติทั้งขนาด และทิศทาง ซึ่งเป็นปริมาณที่เกิดตามธรรมชาติ นั่นก็คือ ปริมาณของเวกเตอร์ (Vector quantities)

 

รูปปริมาณเวกเตอร์ของอนุภาค มีทั้งขนาด และทิศทาง

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปการเตะลูกบอลของนักฟุตบอล เป็นปริมาณทางเวกเตอร์เพราะมันจะมีขนาดของแรง และทิศทางที่จะไป

 

      บทนี้ เราจะกล่าวถึงความสัมพันธ์กัน พร้อมกับกล่าวถึงคุณสมบัติทั่วไปในรูปแบบปริมาณเวกเตอร์ เราจะอธิบายถึงการบวก และลบปริมาณเวกเตอร์ ที่สามารถพบเห็น และใช้งานที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ที่เป็นสถานการณ์ทางฟิสิกส์ (ทุกอย่างจะต้องมีฟิสิกส์ หรือทางกายภาพเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งนั้น)

 

3.1 ระบบพิกัด

 

                มีมุมมองมากมายที่มีความเกี่ยวพันกันในทางฟิสิกส์ ที่สามารถอธิบายลักษณะของตำแหน่งในพื้นที่ว่าง สามารถย้อนกลับไปดูได้ในบทที่ 2 แสดงให้ดูเป็นตัวอย่างเบื้องต้น เราจะเห็นการอธิบาย ในรูปแบบทางคณิตศาสตร์ของการเคลื่อนที่ของวัตถุ ที่จำเป็นเพื่อใช้ในการพิจารณาตำแหน่งของวัตถุ ณ ช่วงเวลาใด ๆ  ในระนาบ 2 มิติ

 

      การพิจารณาเหล่านี้ จะถูกอธิบายในรูปแบบของตำแหน่ง ที่ถูกกำหนดเป็นพิกัด ที่เรียกว่า ระบบพิกัดคาร์ทีเซียน (Cartesian coordinates) จะมีแกนเส้นตรงสมมติสองแกนตัดกัน แล้วตั้งฉากซึ่งกันและกัน และจุดที่ตัดก็คือ จุดกำเนิด (Origin) ดูที่รูป

 

รูปแบบพิกัดคาทีเซียน

 

รูปพิกัดคาทีเซียน

 

พิกัดคาร์ทีเซียนเราสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พิกัดรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก (Rectangular coordinates)

 

                แต่บางครั้งสามารถทำให้ดูสะดวกมากขึ้น เมื่อแทนจุดในระนาบพิกัดอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นก็คือการใช้ ระนาบพิกัดเชิงขั้ว (Plans polar coordinates: r, q) มาอธิบายแทน ดังแสดงในรูป

 

รูปแบบพิกัดเชิงขั้ว

 

รูปพิกัดเชิงขั้วในรูปอย่างง่าย

 

      ในระบบระนาบพิกัดเชิงขั้วนี้ r คือระยะทางจากจุดกำเนิด ไปจนถึงจุดที่มีพิกัดคาร์ทีเชียน (x, y) อยู่ และมุม q เป็นมุมที่ถูกวัดระหว่างแกนหลัก กับเส้นที่ลากจากจุดกำเนิดไปจนถึงจุดปลาย ในแกนหลักนั้น ปกติที่มีการใช้บ่อย ๆ ก็คือแกนบวกเอ็กซ์ และมุมที่วัดนั้นก็ปกติจะเริ่มวัดจากแกนบวกเอ็กซ์ขึ้นมาเหมือนกัน ดูรูปด้านล่าง

 

รูประนาบพิกัดเชิงขั้ว

 

จากสามเหลี่ยมมุมฉากในรูปด้านบน เราสามารถหาค่ามุม q ตามทฤษฏีตรีโกณมิติ ได้ดังนี้ 

 

sin q = y/r

 

cos q = x/r

 

ดังนั้นแล้ว เมื่อมีการเริ่มต้นตำแหน่งด้วยระนาบพิกัดเชิงขั้ว ที่จุดใด ๆ ก็ตาม เราสามารถคำนวณหาตำแหน่งนั้น ๆ ให้เป็นพิกัดคาร์ทีเชียนได้ โดยการใช้สมการดังข้างล่างนี้

 

x = r cos q                                 (3.1)

 

y = r sin q                                  (3.2)

 

      นอกจากนี้ หากเราทราบพิกัดคาร์ทีเชียนแล้ว เราก็ยังที่จะสามารถใช้ความรู้ทางตรีโกณมิติเพื่อที่จะหามุมได้จากสมการด้านล่างนี้

 

            tan q = y/x                                 (3.3)

 

            r = Ö(x2 + y2)                             (3.4)

 

ซึ่งสมการที่ 3.4 นั่นคือ ทฤษฏีพิธากอรัส (Pythagorean theorem) อันคุ้นเคย

 

รูปทฤษฏีพิธากอรัส

 

                ทั้งสี่สมการข้างต้นเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงเรื่องที่สัมพันธ์ และเกี่ยวข้องกันของระบบพิกัดคาร์ทีเชียน (x, y) เชื่อมโยงไปถึงพิกัดเชิงขั้ว (r, q) ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการคิดคำนวณกลับไปกลับมาได้

 

      เมื่อ q เป็นมุมจากการวัดทวนเข็มนาฬิกาจากตำแหน่งแกน x (เครื่องคิดเลขที่เป็นวิทยาศาสตร์จะทำการแปลงไปมาระหว่าง พิกัดคาทีเซียน และเชิงขั้ว) แต่ถ้าเปลี่ยนแปลงเพื่ออ้างอิงกับแกนอื่นก็สามารถอ้างอิงได้ โดยการหาค่ามุม q ในพิกัดเชิงขั้วของแกนนั้น ๆ ได้

 

ตัวอย่างที่ 3.1  พิกัดเชิงขั้ว

 

      พิกัดคาทีเชียนของจุดในระนาบ xy ก็คือ (x,y) = (-3.5, -2.5) m ดังแสดงในรูปด้านล่าง จงแสดงให้เห็น อยู่ในรูปของพิกัดเชิงขั้ว

 

รูปตัวอย่าง 3.1

วิธีทำ

เราสามารถทำการพล็อตกราฟ กำหนดรูปพิกัดคาทีเชียนได้เหมือนดังรูปด้านบน เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาข้อนี้ เราจะทำการแปลงพิกัดคาทีเชียน ไปเป็นพิกัดเชิงขั้วโดยการทดแทนค่าจากพิกัดหนึ่ง ไปอีกพิกัดหนึ่ง

 

      ซึ่งปัญหาที่พบทั่วไปจะไม่ได้มีการวิเคราะห์คำนวณอย่างละเอียด มักจะมีค่าตัวเลขมาให้เห็นเลย และก็แทนที่ค่าตัวเลขลงไปในสมการ แต่ในบางปัญหามีความจำเป็นที่จะต้องพิสูจน์สมการ และหาเหตุผลในคำตอบที่ได้

 

      นอกเสียจาก การแทนที่ของตัวเลขลงไปในสมการที่กำหนดให้ ในทำนองเดียวกัน เมื่อคำนวณเสร็จก็จะต้องมีการพิสูจน์ตรวจสอบ จะทำให้แน่ใจในคำตอบที่มีเหตุมีผล  

 

เพราะฉะนั้น ปัญหาการแทนที่ จะไม่จำเป็นที่จะทำการวิเคราะห์ ในขั้นตอนสุดท้าย

 

ใช้สมการ 3.4 เพื่อหาค่า r

 

r = Ö(x2 + y2)

 

= Ö((-3.50 m)2 + (-2.50 m)2)

 

= 4.30 m

 

ใช้สมการ 3.3 เพื่อหาค่า q

 

tan q = y/x

 

= (-2.50 m)/(-3.50 m)

 

= 0.714

 

q = 216°                              ตอบ

 

ข้อสังเกต ทำไมต้องใส่เครื่องหมายลบที่ x และ y  นั่นก็เพราะจะได้ทราบจุดตำแหน่งของระบบพิกัดได้นั่นเอง

 

นั่นคือ q = 216° (นับทวนเข็มนาฬิกา) ซึ่งไม่ใช่ 35.5°  (นับตามเข็มนาฬิกา) ที่ซึ่ง ค่าแทนเจนท์ มันเป็น 0.714 เช่นกัน

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ปัญหาชีวิตที่พบเจอ

เมื่อแพ้ จะเป็นถ่าน

 

แต่ถ้าผ่าน จะกลายเป็นเพชร”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา