บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,061
เมื่อวาน 4,800
สัปดาห์นี้ 13,139
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 54,339
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,398,836
  Your IP :13.58.244.216

สมการจลศาสตร์

 

      ตอนนี้เราสามารถกำหนดสมการสำหรับความเร่ง และความเร็วที่ได้รับมาทั้งสองสมการ คือ สมการ 2.13 และ 2.16

สมการที่กำหนดสำหรับความเร่ง สมการ 2.10

 

a = dv/dt

 

สามารถย้ายข้างสมการเขียนใหม่ได้ดังนี้

 

dv = a.dt

 

หรือในเทอมของการอินทิเกรต เขียนได้ดังนี้

 

 

รูปสมการอินทีเกรต

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

สำหรับในกรณีพิเศษที่ซึ่งมีความเร่งคงที่ ความเร่ง a (สมการอินทีเกรต บอกว่า ค่าคงที่ (c) = 0 ซึ่งมาจาก dc/dx = 0) นั้นสามารถลบหายไปจากการอินทีเกรตได้ดังนี้

 

           

รูปสมการที่ 2.20

 

ซึ่งเป็นสมการ 2.13

 

ทีนี้ให้เราพิจารณากำหนดสมการสำหรับความเร็ว สมการ 2.5

 

v = dx/dt

 

เราสามารถย้ายข้าง และเขียนสมการนี้ใหม่เพื่อเข้าสู่การอินทิเกรต ดังนี้

 

dx = v.dt

 

หรือในรูปแบบการอินทิเกรต ได้ดังนี้

 

 

รูปสมการอินทีเกรต

 

เพราะว่า v = vx = vi + at ดังนั้นจะกลายเป็นดังสมการด้านล่าง

 

 

รูปสมการอินทีเกรต

 

แก้สมการอินทีเกรตตามสูตร รูปสูตรการอินทีเกรต

 

= vi (t – 0) + a ((t2/2) – 0)

 

ดังนั้น

 

xf – xi = vit + ½at2

 

ซึ่งเป็นตัวอย่างในการพิสูจน์สมการที่ 2.16

 

 

 

บทสรุปของการเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ

 

·       เมื่ออนุภาคเคลื่อนที่ตามแนวแกนเอ็กซ์จากตำแหน่ง หรือระยะเริ่มต้น (xi) ไปสู่ตำแหน่งสุดท้าย (xf) มันก็คือ ระยะขจัด (Displacement) (Dx)

 

Dº xfxi                       (2.1)

 

·       ความเร็วเฉลี่ย (Avearage velocity: vx, avg) ค่าความเร็วเฉลี่ยก็คือ ระยะขจัดของอนุภาคหารด้วยระยะเวลา

 

   vx, avg º Dx/Dt                  (2.2)

 

·       อัตราเร็วเฉลี่ย (Average speed: vavg) ของอนุภาค ก็คือ ระยะทางโดยรวมในการเคลื่อนที่ (Total distance: d) หารด้วยเวลารวมที่ใช้ในการเคลื่อนที่

 

vavg º d/Dt                            (2.3)

 

·       ความเร็วชั่วขณะ (Instantaneous velocity) ของอนุภาคกำหนดให้เป็นขอบเขตจำกัดของอัตราส่วน Dx/Dt ซึ่ง Dt เข้าใกล้ศูนย์ ตามคำนิยาม ขอบเขตลิมิตนี้จะเท่ากับค่าอนุพันธ์ของ x เทียบกับ หรืออัตราของเวลาของการเปลี่ยนไปของตำแหน่ง

 

vint  º limDt®0 Dx/Dt = dx/dt                    (2.5)

 

      ส่วนอัตราเร็วชั่วขณะ ของอนุภาค มีค่าเท่ากับเพียงขนาดของความเร็วชั่วขณะ แต่ไม่ได้กล่าวถึง      ทิศทาง

 

·       อนุภาคเคลื่อนที่ภายใต้ความเร็วคงที่ ถ้าอนุภาคเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงและรักษาความเร็วให้คงที่

 

vx = Dx / Dt                       (2.6)

 

·       ตำแหน่ง หรือระยะทางของมันก็คือ

 

xf = xi + vx t    (vx = ค่าคงที่)               (2.7)

 

 

·       อนุภาคภายใต้อัตราเร็วคงที่ ถ้าอนุภาคเคลื่อนที่มีระยะทาง d ตามส่วนของเส้นโค้ง หรือตรงด้วยอัตราเร็วคงที่ อัตราเร็วคงที่ของมันก็คือ

 

v = d / Dt                    (2.8)

 

·        ความเร่งเฉลี่ย (Average acceleration) ของอนุภาค หมายถึงอัตราส่วนของการเปลี่ยนแปลงในความเร็วของมัน หารด้วยเวลา ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

 

      aavgDv/Dt = (vf – vi)/ (tf – ti)                 (2.9)

 

·       ความเร่งชั่วขณะ (Instantaneous acceleration) มีค่าเท่ากับ ลิมิตของอัตราส่วน Dv/Dt ซึ่ง Dt เข้าใกล้ศูนย์ ตามคำนิยาม ขอบเขตลิมิตนี้จะเท่ากับค่าอนุพันธ์ของ v เทียบกับ หรืออัตราของเวลาของการเปลี่ยนไปของความเร็ว 

 

 

รูปสมการ 2.10

 

·       อนุภาคภายใต้ความเร่งคงที่ ถ้าอนุภาคมีการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงด้วยความเร่งคงที่ a การเคลื่อนที่ของมันก็จะถูกพิจารณาโดยสมการทางจลศาสตร์ ซึ่งมีสมการดังนี้

 

vf = vi + at (สำหรับความเร่งที่เป็นค่าคงที่) (2.13)

 

vx,avg = (vxi + vxf)/2   (สำหรับความเร่งคงที่)    (2.14)

 

xf = xi  + ½(vi + vf)t       (2.15)

 

xf = xi  + vit+ ½at2   (ความเร่งคงที่)          (2.16)

 

vf2 = vi2 + 2a(xf – xi) (ความเร่งคงที่)     (2.17)

 

 

จบบทที่ 2 ครั้งหน้าพบกับ บทที่ 3 เวกเตอร์

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

“เมื่อมี จงรู้จักให้ 

เมื่อได้ จงรู้จักพอ 

เมื่อขอ จงรู้คุณค่า 

คนเราเกิดมา ถึงเวลา........ก็ ต้องจากไป”

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา