บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 912
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 7,142
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 35,377
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,379,874
  Your IP :3.145.2.184

ตัวอย่างที่ 2.8 รถยนต์คันหนึ่งวิ่งด้วยความเร็วคงที่ 70 m/s แล้วมีตำรวจทางหลวงดักรออยู่หลังเสาไฟ ทันทีที่รถยนต์วิ่งผ่านเสาไฟที่ตำรวจอยู่ และถูกตำรวจทางหลวงจับความเร็วรถยนต์ขับตามรถยนต์คันนั้น ด้วยความเร่งที่อัตราคงที่ 5 m/s2 จะต้องใช้เวลาเท่าไหร่ที่ตำรวจจะขับทันรถยนต์คันนั้น

 

รูปตำรวจทางหลวง

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปตัวอย่างที่ 2.8

 

วิธีทำ 

 

จากรูปที่แสดง แจงลำดับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น การจำลองอนุภาคของรถภายใต้ความเร็วคงที่ รถและตำรวจทางหลวงถูกสมมติให้เป็นแบบจำลองอนุภาคด้วยเช่นกันภายใต้ความเร่งคงที่

 

      อันดับแรก เราจะเขียนอธิบายถึงตำแหน่งของรถยนต์แต่ละคัน เป็นฟังชันก์ของเวลา เพื่อความสะดวกจะเลือกตำแหน่งของเสาไฟเป็นจุดเริ่มต้น และเพื่อกำหนดเวลาให้เท่ากับศูนย์ ซึ่งก็เป็นเวลาที่ตำรวจทางหลวงเริ่มที่จะเคลื่อนที่ ทันทีที่ รถได้เดินทางระยะ 70 เมตร จากเสาไฟ เพราะว่าการเคลื่อนที่ของรถมีความเร็วคงที่ก็คือ v = 70 m/s ใน 1 s

 

      เพราะฉะนั้น ตำแหน่งเริ่มต้นของความเร็วรถจะมีค่าเท่ากับ x = 70 m

 

ใช้อนุภาคภายใต้รูปแบบจำลองความเร็วคงที่ จะใช้สมการ 2.7 เพื่อหาตำแหน่งของรถยนต์ในเวลาใด ๆ 

 

xรถ = xb + vรถt

 

การตรวจสอบอย่างเร็วของตำรวจแสดงที่เวลา t = 0 การอธิบายอย่างนี้จะให้ตำแหน่งเริ่มต้นของรถ และตำรวจเริ่มที่จะขี่รถออกมา

 

xรถ = xb = 70 m

 

 รถตำรวจเริ่มเคลื่อนที่ t = 0 และความเร่งที่ a = 5 m/s2 จากจุดเริ่มต้น จะใช้สมการ 2.16 เพื่อหาตำแหน่งของตำรวจในเวลาใด ๆ

 

xf = xi  + vit+ ½at2

 

xตำรวจ = 0 + (0)t+ ½at2 

 

= ½at2 

 

ระบุตำแหน่งของรถ และตำรวจให้มีค่าเท่ากันเพื่อแสดงให้เห็นว่าตำรวจกำลังจะแซงรถที่ตำแหน่ง c

 

xตำรวจ = xรถ

 

½at2 = xb + vรถt

 

ทำการจัดเรียงสมการเสียใหม่ให้เป็นสมการยกกำลังสอง (Quadratic equation)

 

½at2 vรถt – xb = 0

 

เราจะมาแก้สมการยกกำลังสองกันสำหรับเวลาที่ตำรวจทางหลวงจะเข้าไปถึงตัวรถ จะใช้สมการด้านล่างนี้ (การแก้สมการกำลังสองหาอ่านได้ในหนังสือคณิตศาสตร์ทั่วไป ถ้าจำไม่ได้ก็ขอให้จำสมการนี้ก่อน มีโอกาสจะได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้อ่านนะ)

 

 

 

รูปแบบสมการเพื่อแก้สมการยกกำลังสองในหนังสือคณิตศาสตร์ทั่วไป

 

เมื่อนำมาใช้กับตัวอย่างนี้ รูปแบบของสมการก็คือ

 

วิธีทำของตัวอย่างที่ 2.8

 

 

ดังนั้น รถของตำรวจจะต้องใช้เวลา 28.966 วินาที ในการที่ตำรวจจะขับทันรถยนต์คันนั้น

 

 

 

      มีคำถามว่าทำไมเราไม่เลือก t = 0 ซึ่งเป็นเวลาที่รถตำรวจวิ่งผ่าน ถ้าเราทำเช่นนั้น เราไม่สามารถใช้อนุภาคภายใต้แบบจำลองความเร่งคงที่ในรถตำรวจทางหลวง ความเร่งของตำรวจจะเป็นศูนย์ในวินาทีแรก และ 5 m/s2 สำหรับเวลาที่เหลือ โดยการกำหนดเวลา t = 0 เมื่อตำรวจเริ่มต้นเคลื่อนที่ เราสามารถใช้อนุภาคแบบจำลองภายใต้ความเร่งคงที่สำหรับการเคลื่อนไหวของตำรวจสำหรับเวลาทั้งหมดที่เป็นบวก

 

ลองสมมติเล่น ๆ จะเกิดอะไรขึ้นถ้า ตำรวจมีรถจักรยานยนต์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถสร้างความเร่งที่มากขึ้น วิธีการนี้จะทำให้เวลาเมื่อขี่ไปถึงรถที่จะจับใช้เวลาน้อย ลงหรือไม่?

 

คำตอบ ถ้ารถจักรยานยนต์มีความเร่งมากขึ้น ตำรวจควรจะจับรถนั้นได้ในไม่ช้า ดังนั้นคำตอบสำหรับเวลาควรจะได้น้อยกว่า 28.966 วินาที เพราะว่าเทอมทั้งหมดในด้านขวาของสมการ จะมีความเร่งในตัวหารมากขึ้น เราจะเห็นถึงการเพิ่มความเร่งมากขึ้น และจะลดเวลาที่รถตำรวจไปถึงรถที่วิ่ง

 

 

2.7 วัตถุตกอย่างอิสระ

 

      เป็นที่ทราบกันดีว่า ในกรณีที่ไม่มีแรงต้านของอากาศ วัตถุทั้งหมดที่ตกลงใกล้พื้นผิวโลก จะล่วงหล่นไปยังพื้นโลกเหมือนกัน ด้วยความเร่งคงที่ภายใต้อิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลก แต่ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2143 ตอนนั้นยังไม่มีใครยอมรับ โดยอริสโตเติล (Aristotle) ช่วงปี พ.ศ. 159 – 221 นักปรัชญาชาวกรีก เขาถือว่า วัตถุที่หนักกว่า จะตกเร็วกว่าวัตถุที่เบากว่า

 

 

รูปปั้นของอริสโตเติล

 

      นักปราชญ์ชาวอิตาเลี่ยนที่ชื่อ กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) พ.ศ. 2107 – 2185 ผู้ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแนวความคิดเกี่ยวกับการตกของวัตถุ จนถึงปัจจุบัน

 

 

 

รูปกาลิเลโอ

 

กล่าวว่า เขาได้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของการตกลงมาของวัตถุโดยการสังเกตจากวัตถุสองอย่างที่มีน้ำหนักแตกต่างกันโดยปล่อยให้ตกลงมาจากยอดหอเอนปิซ่า วัตถุทั้งสองจะตกลงมากระทบพื้นในเวลาเดียวกัน

 

 

รูปหอเอนปิซ่า อิตาลี อิตาลี

 

 

รูปวาดกาลิเลโอทดลองการตกของวัตถุลงสู่พื้นที่หอเอนปิซ่า

 

วิดีโอการ์ตูนการทดลองการตกของวัตถุที่หอเอนปิซ่า

 

วิดีโอการทดลองการตกของวัตถุในอวกาศ

 

 

ถึงแม้ว่าอาจมีข้อสงสัยบางอย่างในการทดลอง (เนื่องจากข้อจำกัดในเทคโนโลยีของเครื่องมือในการทดลองหลายอย่างในสมัยนั้น) แต่กาลิเลโอก็ได้มีการทดลองมากมายในการทดลองการตกของวัตถุมากมาย ตัวอย่างที่เห็นก็คือการทดลองในการเคลื่อนที่ของวัตถุบนระนาบเอียง

 

 

รูปวาดการทดลองการกลิ้งลูกบอลบนพื้นเอียงของกาลิเลโอ

 

วิดีโอการทดลองกลิ้งลูกบอลในพื้นลาดเอียง

 

      ในการทดลองของเขา เขาได้ทดลองกลิ้งลูกบอลบนพื้นลาดเอียง และวัดระยะทางการเคลื่อนที่ในแล้วทำการจับเวลา วัตถุประสงค์ของการเอียงก็คือลดความเร่ง ซึ่งทำให้มันสามารถวัดได้อย่างถูกต้องแม่นยำของการวัดตามช่วงเวลา โดยการทดลองจะค่อย ๆ เพิ่มความชันของทางลาด

 

 

รูปการเคลื่อนที่ตามการจับเวลา จากพื้นราบ ระนาบเอียง และแนวดิ่งตามแนวคิดของกาลิเลโอ

 

      ในที่สุดเขาก็ได้วาดข้อสรุปเกี่ยวกับการตกของวัตถุอย่างอิสระ เพราะลูกบอลตกอย่างอิสระเทียบเท่ากับการที่ลูกบอลตกจากแนวดิ่ง

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

“สิ่งที่สอนคนเราไม่ได้ ก็คือ  'สามัญสำนึก'

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา