บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,200
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 7,430
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 35,665
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,380,162
  Your IP :3.141.200.180

2.4 ความเร่ง

 

       ในขณะที่อนุภาคกำลังเคลื่อนที่ จู่ ๆ แล้วความเร็วในการเคลื่อนที่ของมันเปลี่ยนแปลงไป เมื่อความเร็วของอนุภาคเปลี่ยนไปตามเวลา ก็กล่าวได้ว่าอนุภาคนั้นกำลังเกิดความเร่ง ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์เมื่อเหยียบคันเร่งความเร็วรถก็เพิ่มขึ้น จะกล่าวได้ว่ารถยนต์เกิด ความเร่ง (Acceleration) (เพิ่มขึ้น)

 

รูปรถยนต์เกิดความเร่ง (ออกตัวล้อฟรี)

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

ในทางกลับกัน เมื่อต้องการชะลอรถ ก็จะทำการผ่อนคันเร่ง และถ้าต้องการให้รถหยุด ก็ทำการเหยียบเบรก แสดงให้เห็นว่ารถยนต์เกิด ความหน่วง (Deceleration) (ลดลง) (ตรงข้ามกับความเร่ง)

 

รูปรถยนต์เกิดความหน่วงจากการเบรก

 

สมมติว่าวัตถุที่ถูกสมมติให้จำลองเป็นอนุภาคเคลื่อนที่ตลอดแกนแนวนอน (แกน x) ที่ตำแหน่งเริ่มต้นมีความเร็วเริ่มต้น vxi ที่เวลา ti ที่ตำแหน่งสุดท้ายความเร็วสุดท้าย vxf ที่เวลาtf ดังในรูปด้านล่าง

 

รูปกราฟความเร็ว – เวลา ในกราฟเป็นความเร่งคงที่

 

รูปความเร่งมาจากความเร็วต่อเวลา

 

รูปกราฟความเร็ว-เวลา

 

รูปแบบจำลองอนุภาคของรถยนต์ และกราฟความเร็ว-เวลา

 

 

 

เพราะฉะนั้น เราเห็นว่าความเร็วของอนุภาคที่เคลื่อนที่ก็คือความเอียงของเส้นกราฟส่วนหนึ่งที่อยู่ในกราฟระยะทาง – เวลา

 

      แต่ถ้าจะหาความเร่งของอนุภาคก็คือความเอียงของเส้นกราฟส่วนหนึ่งในกราฟความเร็ว – เวลา

 

ถ้าจะอธิบายให้เกิดความเข้าใจง่ายก็คือ ของความเร่งก็เกิดมาจากความเร็วกับเวลานั่นเอง นั่นก็คือความเร็วเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา

 

รูปเปรียบเทียบกราฟระยะทาง, ความเร็ว, ความเร่ง

 

ถ้าความเร่งเป็นบวก ความเร่งที่อยู่ในนั้นก็จะเป็นบวกในทิศทางแนวแกนเอ็กซ์ แต่ถ้าความเร่งเป็นลบ ความเร่งอยู่ในรูปการลบทิศทางแนวแกนเอ็กซ์

 

รูปกราฟเปรียบเทียบระยะทาง, ความเร็ว, ความเร่ง

 

จากกราฟด้านบนเป็นการเปรียบเทียบกราฟระยะทาง, ความเร็ว, ความเร่ง แสดงให้เห็นถึงความเร่ง – เวลา ที่มีความสัมพันธ์กับกราฟความเร็ว – เวลา ความเร่งเกิดขึ้นที่เวลาใด ๆ นั่นก็คือความลาดเอียงเส้นกราฟที่อยู่ในกราฟความเร็ว –  เวลา ณ เวลานั้น

 

                สำหรับกรณีของการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง ทิศทางของความเร็วของวัตถุ และทิศทางของความเร่งของมันมีความเกี่ยวข้องที่ตามกันไป เมื่อความเร็ว และความเร่งของวัตถุอยู่ในทิศทางเดียวกัน วัตถุก็จะเร็วขึ้น ในทางตรงกันข้าม เมื่อความเร็ว และความเร่งของวัตถุอยู่ในทิศทางตรงกันข้ามกัน วัตถุก็จะช้าลง

 

                เพื่อช่วยให้อธิบายได้ชัดเจน ในการอธิบายเครื่องหมายความเร็ว และความเร่ง เราสามารถดูความสัมพันธ์ของความเร่งของวัตถุ จากแรงภายนอกโดยรวมที่กระทำต่อวัตถุ จนก่อให้เกิดความเร่ง ซึ่งเราจะได้อธิบายในรายละเอียดในบทที่ 5 แต่ให้จำไว้ก่อนว่า แรงที่มากระทำกับวัตถุ จะทำให้วัตถุนั้นเกิดความเร่งซึ่งเป็นสัดส่วนโดยตรงกัน ดังสมการ

 

แรงไปตามแนวราบ (แกนเอ็กซ์) เป็นสัดส่วนโดยตรง กับความเร่งตามแนวราบ

 

                                                                Fx a ax                          (2.11)

 

รูปแรงจะเป็นสัดส่วนโดยตรงต่อความเร่ง

 

ค่าสัดส่วนแปรผันตรงนี้บ่งบอกถึงความเร่งที่เกิดขึ้นมาจากแรงภายนอกมากระทำกับวัตถุ นอกจากนี้ แรง และความเร่งเป็นปริมาณเวกเตอร์ทั้งคู่ และปริมาณเวกเตอร์เหล่านี้มักจะกระทำไปในทิศทางเดียวกัน

 

      เพราะฉะนั้น ทำให้เราคิดเกี่ยวกับเครื่องหมายของความเร็ว และความเร่ง โดยการสมมตินำแรงไปกระทำกับวัตถุ และทำให้วัตถุเกิดความเร่ง ถ้าสมมติว่าความเร็ว และความเร่งอยู่ในทิศทางเดียวกัน จากสถานการณ์นี้จะสนองตอบต่อวัตถุที่ถูกแรงกระทำในทิศทางเดียวกันกับความเร็ว ในกรณีนี้ ความเร็วของวัตถุจะสูงขึ้น

 

รูปแรงกระทำจนเกิดทำให้ความเร่งอยู่ในทิศทางเดียวกัน

 

      ถ้าสมมติว่าความเร็ว และความเร่งทิศทางตรงกันข้ามกัน ในสถานการณ์เช่นนี้ แนวแรงกระทำจะอยู่ในทิศทางตรงกันข้าม ทำให้วัตถุจะที่เคลื่อนที่ช้าลง

 

รูปเครื่องบินลงจอดโดยใช้ร่มชูชีพเพื่อหน่วงเครื่องบินให้ช้าลง

 

ต่อจากนี้ เราจะใช้คำว่าความเร่ง ซึ่งก็หมายถึงความเร่งชั่วขณะ แต่เมื่อเราหาความความเร่งเฉลี่ย เราจะคำว่า ค่าเฉลี่ย เพราะว่า vx = dx/dt ทำให้ความเร่งสามารถเขียนได้ดังนี้

 

a = dvx/dt

 

         = d(dx/dt)/dt

 

                      = d2x/dt2           (2.12)

 

สมการข้างบนนี้เป็นการเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ ความเร่งจะเท่ากับ ค่าอนุพันธ์สองชั้นของเอ็กซ์ ต่ออนุพันธ์เวลา

 

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา