บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 2,306
เมื่อวาน 4,086
สัปดาห์นี้ 9,584
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 50,784
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,395,281
  Your IP :3.12.41.106

ตัวอย่างที่ 2.4 จากสมการการเคลื่อนที่ x(t) = 8t 2 + t + 10

 t เป็นเวลา หน่วยเป็น นาที และ s เป็นระยะทาง หน่วยเป็น เมตร เมื่อจับเวลา t2 = 35 วินาที โดยเริ่มต้นจากจุดหยุดนิ่ง t1 = 0

จงหา ก) ความเร็วชั่วขณะที่เวลา 0 วินาที; ข) ความเร็วชั่วขณะที่เวลา 15 วินาที

 

วิธีทำ โจทย์กำหนดสมการการเคลื่อนที่มาให้ก็คือ x(t) = 8t 2 + t + 10

 

จะใช้การหาค่าโดยสมการอนุพันธ์ จากสมการที่ (2.5)

vint  = dx/dt

 

(ถ้ายังไม่มีพื้นฐานแคลคูลัส ให้จำสมการชุดนี้ไว้ก่อนนะครับ

                                         d(c)/dt = 0 (c = ค่าคงที่ หรือตัวเลขเพียงอย่างเดียว)

 

d(x)/dt = 1

     

    d(xn)/dt = nxn-1

 ไว้มีโอกาสจะได้มาเรียนรู้กัน)

 

ก) ความเร็วชั่วขณะที่เวลา 0 วินาที

แก้สมการอนุพันธ์ (จากสมการอนุพันธ์ด้านบน)

x(t) = dx/dt =  d(8t 2 + t + 10)/dt

 

นำ dx/dt เข้าไปคูณในวงเล็บ

 

= d(8t 2)/dt + d(t)/dt + d(10)/dt

 

d(xn)/dt = nxn-1   ® d(8t 2)/dt = (2´8)t 2-1 = 16t

d(x)/dt = 1                ® d(t)/dt = 1

d(c)/dt = 0        ® d(10)/dt = 0

 

ก็จะได้

 

dx/dt =  (2´8)t 2-1 + t + 10

dx/dt = 16t1 + 1+0

 

แทนค่า 0 s ลงในสมการ

= 16´0 + 1

                  = 1 m/s                   ตอบ

 

ข) ความเร็วชั่วขณะที่เวลา 15 วินาที

dx/dt = 16t2 + 1

= 16´15 + 1

 = 241 m/s               ตอบ

 

ดังนั้น ความเร็วชั่วขณะของสมการการเคลื่อนที่ เมื่อ t = 0 จะเท่ากับ 1 เมตรต่อวินาที และเมื่อ t = 15 จะเท่ากับ 241 เมตรต่อวินาที           

 

 

2.3 การวิเคราะห์แบบจำลองของอนุภาคภายใต้ความเร็วคงที่

 

 

      เราได้กล่าวถึงความสำคัญของแบบจำลองมาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำคัญของแบบจำลองที่ใช้ในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ ซึ่งเราจะเรียกมันว่า การวิเคราะห์แบบจำลอง (Analysis model) โดยมันจะช่วยในการวิเคราะห์สถานการณ์ทั่วไปของปัญหาทางด้านฟิสิกส์ และสามารถนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาได้

 

การวิเคราะห์แบบจำลอง จะสามารถพิจารณาได้ทั้ง

 

1) พฤติกรรมบางอย่างที่เป็นลักษณะเฉพาะในทางฟิสิกส์

 

2) ปฏิกิริยาระหว่าง สิ่งที่เป็นลักษณะเฉพาะ กับ สภาพแวดล้อมรอบตัว

 

      เมื่อเราเผชิญกับปัญหาที่เกิดใหม่ สิ่งที่ทำเป็นอันดับแรกก็คือเราควรที่จะระบุรายละเอียดของปัญหา และพยายามที่จะให้ทราบถึงชนิดของปัญหาให้ได้ในเบื้องต้น การใช้การวิเคราะห์แบบจำลองจะทำให้เรามีความพร้อมในการแก้ปัญหา แล้วบางครั้งก็พร้อมที่จะนำไปใช้ในทางปฏิบัติ

 

      ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์คันหนึ่งเคลื่อนที่ไปในแนวตรงด้วยความเร็วคงที่ แต่ถ้ามีคนคนหนึ่งถามว่า ปัญหานี้รถยนต์สำคัญใช่มั๊ย? หรือเส้นทางที่เคลื่อนนี้สำคัญใช่มั๊ย? ถ้าเป็นปัญหาที่ถามแบบกำกวม ก็อาจจะมีคำตอบว่าทั้งใช่ และไม่ใช่ นั่นอาจทำให้เกิดข้อขัดแย้งกัน วิธีการที่ดีที่สุดก็คือ เราต้องทำการสร้างแบบจำลองการแล่นของรถยนต์ ที่มีข้อกำหนดให้รถยนต์เป็นจุดอนุภาคที่วิ่งด้วยความเร็วคงที่เพื่ออธิบายให้หายสงสัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราจะได้ทำการอธิบายกันในหัวข้อนี้

 

      วิธีการนี้ก็ค่อนข้างคล้ายกับการนำ ตัวบทกฎหมาย (Legal precedents) ไปใช้ในวิชาชีพด้านกฎหมายในการค้นหาข้อกฎหมายที่นำมาใช้ในคดีความ โดยตัวบทกฎหมายบางหมวดบางมาตราที่นำมาบังคับใช้ อาจเขียนขึ้นมาบังคับใช้กันมานานมาก บางตัวบทอาจมีอายุเป็นร้อยปี และยังสามารถนำมาใช้ได้จนถึงปัจจุบัน นี้เป็นตัวอย่างของการใช้แบบจำลอง และถูกนำไปเป็นข้อโต้แย้งที่ใช้ในทางศาลเพื่อเชื่อมโยงคดีกันอย่างมีเหตุมีผลในการตัดสินความผิดถูกที่เคยสามารถใช้ในคดีเก่า ๆ ที่ผ่านมาแล้ว และคดีที่อาจจะเกิดขึ้นอีกต่อไปในอนาคต

 

      แน่นอน เมื่อนำมาเทียบเคียงกับกฎทางฟิสิกส์จะมีความคล้ายคลึงกันในการปฏิบัติ สำหรับปัญหาที่พบในทางฟิสิกส์ ที่มีทำการค้นหาคำตอบเราเรียกว่า ฟิสิกส์แบบอย่าง (Physics precedent) ซึ่งเป็นแบบจำลองที่มีความคุ้นเคย เพราะบางแบบมีการปฏิบัติกันมานานมาแล้ว บางแบบอาจมีอายุเป็นร้อยปี และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกับปัญหาที่พบในปัจจุบัน หรืออนาคตได้

     

เราจะเริ่มต้นวิเคราะห์แบบจำลองตั้งอยู่บนสี่พื้นฐานของแบบจำลองอย่างง่าย

 

แบบแรกคืออธิบายแบบจำลองอนุภาค (Particle model) กล่าวไว้แล้วในตอนต้นของบทนี้ เราจะมองอนุภาคอยู่ภายใต้พฤติกรรม และสภาพแวดล้อมหลากหลายที่มีความสัมพันธ์กัน ส่วนสิ่งอื่นที่เพิ่มเข้ามาในการวิเคราะห์แบบจำลองก็คือการนำความรู้ในบทต่าง ๆ มาใช้งานเรายังกล่าวไปไม่ถึง ซึ่งจะได้กล่าวในภายหลัง

 

      โดยสิ่งที่จะกล่าวในบทต่อ ๆ ไป และที่ต้องมีการใช้แบบจำลองอย่างง่ายได้แก่ แบบจำลองระบบ (System model), แบบจำลองวัตถุแข็งเกร็ง (Rigid object model) และแบบจำลองคลื่น (Wave model) ทันทีที่เรามีการวิเคราะห์แบบจำลองในเบื้องต้น เราจะสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา และอาจจะสร้างมันขึ้นอีกครั้ง หรือสร้างหลาย ๆ ครั้ง ในสถานการณ์ที่ปัญหามีความแตกต่างกัน

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา