บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 719
เมื่อวาน 1,522
สัปดาห์นี้ 2,241
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 43,441
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,387,938
  Your IP :18.119.107.96

2.2 อัตราเร็ว และความเร็วชั่วขณะ

 

      อัตราเร็ว และความเร็ว ณ ชั่วขณะหนึ่ง, ความเร็ว ณ ขณะนั้น หรือความเร็วชั่วขณะ (Instantaneous velocity & speed) คือความเร็ว หรืออัตราเร็วของอนุภาคที่เราต้องการทราบ ณ เวลานั้น ๆ หรือที่จุดตำแหน่งนั้น ๆ ว่ามีความเร็วเท่าไหร่ ซึ่งมีอยู่บ่อยครั้งที่เรามีความจำเป็นที่จะต้องรู้เพื่อที่ต้องการระบุความเร็วที่ต้องการทราบค่าในเวลานั้น ๆ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่อนุภาคมีความเร็วเฉลี่ยในช่วงเวลาที่สั้นมาก ๆ หรือวิ่งผ่านจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งเวลาที่สั้นอย่างมากนี้เป็นช่วงเวลาเพียงแค่นิดเดียว หรือแทบที่จะแช่แข็ง หรือหยุดเวลา (Freeze time) นั้นไปเลย (เวลาเกือบเป็นศูนย์ หรือเวลาเข้าสู่ศูนย์: Dt®0)

 

รูปสมการทางแคลคูลัส

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ในเวลาปลายปี พ.ศ. 2143  ได้มีการคิดค้นสมการหนึ่ง ที่เรียกว่า สมการแคลคูลัส (Calculus) ทำให้นักวิทยาศาสตร์เริ่มที่จะเข้าใจ และหาวิธีอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุที่เคลื่อนที่ ณ ชั่วเวลาขณะใด ขณะหนึ่งได้

 

      เพื่อให้เห็นได้ชัดเจนจะยกตัวอย่างจากกราฟความเร็วในรูป

 

รูปกราฟแสดงการเคลื่อนที่ระยะทาง เวลา

 

รูปรถยนต์เคลื่อนที่แนวตรง

 

 

รถยนต์คันหนึ่งเคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรงเคลื่อนที่ไปในระยะทาง 15 เมตร ก่อนที่รถจะเคลื่อนไปถึงจุดหมาย รถอาจจะใช้ความเร็ว, มีการเหยียบเบรก หรือมีการชะลอ เมื่อรถยนต์เคลื่อนไปถึงจุดสีดำในรูปกราฟด้านบน

 

 

รูปกราฟความเร็วชั่วขณะ

 

จากกราฟด้านบนเห็นว่ากราฟเป็นเส้นโค้ง อาจเกิดได้จากรถเกิดการชะลอตัว เมื่อเราต้องการทราบค่าตรงจดใดจุดหนึ่งในกราฟ สมมติตามกราฟด้านบน เราจะทำการลากเส้นตรงมีความชันไปสัมผัสกับเส้นโค้งของกราฟ ตรงจุดเส้นตรงที่สัมผัสเส้นโค้งนี้ สามารถคำนวณค่าความเร็วชั่วขณะได้ โดยหาได้จากสมการของความเร็วชั่วขณะ (vint) เท่ากับค่าลิมิตของอัตราส่วน Dx/Dt ซึ่ง Dt เข้าใกล้ศูนย์ สมการคือ

 

   

ความเร็วชั่วขณะ สมมูลกับ ลิมิตระยะขจัด หารด้วย ระยะเวลา โดยระยะเวลาเข้าใกล้ศูนย์

 

 

            vint  º limDt®0 (Dx/Dt)               (2.4)

 

ส่วนในทางแคลคูลัส ค่าลิมิตนี้จะถูกเรียกเป็น ค่าอนุพันธ์ (Derivative) ของระยะทางเอ็กซ์ เทียบกับเวลาที (ในตอนที่เรียนจะเรียกสั้น ๆ ว่า ดิฟเอ็กซ์บายดิฟที ไม่รู้ใครเรียกแบบนี้บ้าง) เขียนเป็นสมการได้ดังนี้

 

            vint  =    dx/dt                 (2.5)

 

หมายเหตุ ความเป็นมาของลิมิต และสมการแคลคูลัส การพิสูจน์สมการ จะไม่ได้กล่าวไว้ในที่นี้ เพราะเป็นเรื่องของคณิตศาสตร์ แต่จะเขียนให้ดูเพียงสั้น ๆ ถ้ามีโอกาสจะได้กล่าวถึงรายละเอียดให้ครับ แต่จะอยู่ในส่วนของคณิตศาสตร์

 

ความเร็วชั่วขณะ ค่าที่ได้อาจเป็นได้ทั้งค่าบวก, ลบ หรือค่าศูนย์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะการพล็อตกราฟ

 

      จากที่นี่ไป เราใช้คำว่าความเร็ว ก็จะหมายถึงความเร็วชั่วขณะ และเมื่อเราสนใจในความเร็วเฉลี่ย เราควรใช้คำว่าค่าเฉลี่ย

 

      ส่วนอัตราเร็วชั่วขณะของอนุภาค หมายถึง ขนาดของความเร็วชั่วขณะ ซึ่งจะเป็นเหมือนกับอัตราเร็วเฉลี่ย อัตราเร็วชั่วขณะจะไม่มีทิศทางเข้ามาเกี่ยวข้องกับมัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าอนุภาคหนึ่งมีความเร็วชั่วขณะเท่ากับ +25m/s และอีกอนุภาคหนึ่งมีความเร็วชั่วขณะเท่ากับ -25m/s  (ทั้งสองค่ามีเครื่องหมายบวก, ลบ ก็คือมีทิศทางกำหนดไว้) แต่เมื่อกล่าวถึงอัตราเร็วชั่วขณะ ทั้งคู่จะมีอัตราเร็วอยู่ที่ 25m/s (ไม่มีเครื่องหมายบวก หรือลบ คือไม่มีทิศทางบอก)

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา