บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 319
เมื่อวาน 683
สัปดาห์นี้ 4,462
สัปดาห์ก่อน 11,188
เดือนนี้ 14,427
เดือนก่อน 61,209
ทั้งหมด 4,763,692
  Your IP :35.173.48.18

4 ระบบกันสะเทือนไฟฟ้าไดนามิกส์

 

 

รูปรถไฟความเร็วสูงระบบอีดีเอส

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ระบบกันสะเทือน (ช่วงล่าง) ไฟฟ้าไดนามิกส์ (ElectroDynamic Suspension: EDS) ถูกพัฒนา และสร้างขึ้นมาโดยวิศวกรญี่ปุ่น ที่เรียกตามภาษาญี่ปุ่นว่า รถไฟชินกันเซน (Shinkansen) รถไฟหัวกระสุนใช้ระบบรองรับการเคลื่อนที่ไฟฟ้า หรือระบบกันสะเทือนไฟฟ้าไดนามิกส์ ในการที่จะให้ขบวนรถไฟลอยขึ้นมา

 

รูประบบอีดีเอส

 

วิดีโอแสดงหลักการพื้นฐานของรถไฟความเร็วสูงระบบอีดีเอส

 

      อีดีเอส ใช้แม่เหล็กไฟฟ้าแบบตัวนำยิ่งยวด หรือแม่เหล็กถาวรที่มีสนามแม่เหล็กที่เข้มข้น เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กซึ่งจะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าในตัวนำโลหะ ให้มีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ในการผลักดันขบวนรถไฟให้ไปข้างหน้า โดยออกแบบให้รถไฟมีการลอยตัวอยู่ในราง

 

รูปการลอยตัวกับขั้วแม่เหล็ก

 

รูปรถไฟความเร็วสูงระบบอีดีเอส

 

      หลักการพื้นฐานของมันก็คือ จะใช้แรงผลักดันของแม่เหล็กขั้วที่เหมือนกันของราง กับตัวรถไฟ เพื่อสร้างแรงผลักดัน เพื่อให้รถไฟทั้งขบวนชนะแรงโน้มถ่วงของโลก แล้วเกิดการลอยตัวขึ้นเหนือราง

 

      ระบบอีดีเอสแบบนี้มีใช้ในประเทศญี่ปุ่น (ส่วนแบบอีเอ็มเอสมีใช้ในเยอรมัน) ระบบนี้จะใช้เทคโนโลยีของ ความเย็นเหนือเย็น (Super-cooled) หรือระบบไครโอเจนิกส์ (Cryogenics) จนทำให้ตัวนำกลายเป็น แม่เหล็กไฟฟ้าตัวนำยิ่งยวด (Superconducting electromagnets) นำมาใช้ในรถไฟ ซึ่งทำให้มีการใช้กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในการสร้างสนามแม่เหล็กใช้น้อยกว่าระบบของรถไฟของเยอรมัน

 

รูปตัวนำยิ่งยวดลอยตัว โดยใช้หลักการไครโอเจนิกส์

 

รูปด้านข้างของรางที่มีถังไครโอเจนิกส์

 

วิดีโอแสดงการยกตัวโดยใช้ความเย็น

       

        ในระบบอีเอ็มเอส เป็นเพียงการใช้กระแสไฟฟ้าปล่อยเข้าไปในชุดคอยล์ขดลวดเพื่อสร้างแม่เหล็กไฟฟ้าเท่านั้น ซึ่งเป็นหน้าที่พื้นฐานของการใช้พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ต้องมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำที่เป็นคอยล์ขดลวด ถึงจะสามารถจ่ายกำลังงานทำให้รถไฟทำงานได้

 

รูปรถไฟความเร็วสูงแบบอีดีเอส

 

      ส่วนในระบบอีดีเอส จะสร้างความเย็นให้แก่คอยล์ให้มีอุณหภูมิต่ำ ทำให้ระบบอีดีเอสที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่นมีความประหยัดพลังงานกว่าระบบอีเอ็มเอส

 

      ระบบไครโอเจนิกส์ ที่นำมาใช้ในระบบรถไฟความเร็วสูงที่ญี่ปุ่น มันมีความสามารถที่จะยกรถไฟให้ลอยตัวได้สูงถึง 10 เซนติเมตรเหนือราง

 

วิดีโอรถไฟหัวกระสุนที่ประเทศญี่ปุ่น

 

      ระบบอีดีเอสก็มีข้อเสียอยู่บ้าง นั่นก็คือระบบแบบนี้จะมีราคาที่สูงมาก และจะต้องมีลูกกลิ้งยางประคอง เมื่อรถไฟมีความเร็วสูงขึ้น (เกินกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เพื่อประคองรถไฟไม่ให้หลุดราง และมีล้อยางรองรับใต้รถไฟในกรณีขัดข้องเพื่อป้องกันรถไฟกระแทกกับรางโดยตรง

 

      ถ้ากำลังงานที่จ่ายให้กับระบบเกิดการขัดข้อง หรือไฟฟ้าดับ จนระบบต้องปิดตัวเอง ในระบบอีดีเอสที่เป็นแม่เหล็กตัวนำยิ่งยวดยังคงใช้งานได้อยู่ช่วงเวลาหนึ่ง จนหมดความเย็นของไครโอเจนิกส์ รถไฟถึงจะไม่ลอยขึ้น ก็จะมีล้อยางประคองช่วยรองรับรถไฟ

 

      ส่วนรถไฟที่เป็นระบบอีเอ็มเอสของเยอรมัน จะมีอุปกรณ์การจ่ายกำลังไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน เช่นกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้โดยสารเกิดอันตรายจากการที่เกิดเหตุการณ์การขัดข้อง

     

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“หากทุกเช้า คุณสามารถลุกขึ้นมาออกกำลังกาย

แล้วสวดมนต์ หรือทำสมาธิ ได้ต่อเนื่องสองเดือนขึ้นไป

ชีวิตจะเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน”

             ดังตฤณ

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา