บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,145
เมื่อวาน 1,431
สัปดาห์นี้ 1,145
สัปดาห์ก่อน 18,479
เดือนนี้ 60,824
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,405,321
  Your IP :3.21.104.109

โปรโมทหนังสือ

 

ดวงดาว และอวกาศ (Stars & Space) 2 (จบ)

 

รูปหน้าปกหนังสือ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน

เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้ 

 

คลิก 

 

มีหนังสือ ดวงดาว และอวกาศ (Stars & Space) 2

ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์

 

สามารถโหลดอ่านตัวอย่างก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี

หากผู้อ่านสนใจคลิกที่ชื่อสำนักพิมพ์

 

meb          Se-ed

 

บทที่ 1 สภาพแวดล้อมอวกาศพลาสมา

 

 

 

รูปที่ 1.1 สภาพแวดล้อมอวกาศพลาสมา

ที่มา : https://www.ucl.ac.uk

 

 

      ความเร็วของ ลมสุริยะ (Solar wind: เป็นกระแสลำธารการไหลของอนุภาคประจุไฟฟ้า ที่ถูกปล่อยออกมาจากบรรยากาศชั้นนอกของดวงอาทิตย์ หรือดาวฤกษ์อื่น แล้วพุ่งออกไปสู่อวกาศในทุกทิศทาง (รายละเอียดได้กล่าวไว้ใน ดวงดาว และอวกาศ เล่ม 1)) จะไหลออกจากดวงอาทิตย์ ด้วยความเร็วคงที่ ไหลไปตามระยะทางที่มันไป (ด้วยความเร็วเหนือเสียง ในสภาวะสุญญากาศ) แต่จะเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อ มันอยู่ในระยะทางที่ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีอะไรมาคอยต้าน หรือบดบัง โดยนับระยะจากดวงอาทิตย์

 

 

      หากลมสุริยะไหลเข้าไปปะทะกับดวงดาว หรือวัตถุบางอย่าง ความเร็วของมันจะช้าลง

 

การเคลื่อนที่ของลมสุริยะ โดยทั่วไปแล้วมีสองแบบ ไม่ว่าจะเป็น การเกิดลมสุริยะระหว่างดวงอาทิตย์ กับดาวเคราะห์ภายในระบบสุริยะจักรวาลของเรา

 

และลมสุริยะนี้ สามารถไหลออกไปสู่บริเวณต่าง ๆ นอกระบบสุริยะจักรวาลของเรา อีกทั้งยังสามารถรับลมสุริยะมาจากดาวฤกษ์ที่อยู่ด้านนอกระบบสุริยะของเราก็เป็นได้

 

 

รูปที่ 1.2 จำลองการไหลของลมสุริยะ

ที่มา : https://www.nasa.gov

 

 

1.1 เฮลิโอสเฟียร์

 

          เฮลิโอสเฟียร์ (heliosphere) เป็นอาณาเขตคล้ายฟอง (bubble) ภายในอวกาศ ที่ขยายตัวโดยลมสุริยะ ไปในตัวกลางระหว่างดาว (interstellar medium) หรือก๊าซไฮโดรเจน และก๊าซฮีเลียมที่แพร่กระจายไปทั่วกาแล็กซี

 

      ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ต่าง ๆ ไม่เพียงแต่ลอยอยู่ในสุญญากาศที่ว่างเปล่า ที่บางบริเวณเป็นอาณาเขตเฮลิโอสเฟียร์ ภายในอวกาศท่านั้น

 

      สิ่งมีชีวิตอย่างมนุษย์เราเอง ก็เป็นส่วนหนึ่งของ กาแล็กซี หรือดาราจักร (Galaxy) (ในเล่มอาจเรียกสลับไปมา ไม่ว่ากันนะครับ) (มีอีกคำหนึ่งที่ขอใช้สลับกันไปมาบ่อย แต่ให้รู้ว่าเป็นตัวเดียวกัน ก็คือ เอกภพ กับจักรวาล (Universe)) ย่อมได้รับผลกระทบจากสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอวกาศด้วยเช่นกัน

 

 

รูปที่ 1.3 กาแล็กซี

ที่มา : https://c4.wallpaperflare.com

 

      ซึ่งกาแล็กซีหนึ่ง ๆ เกิดจากดาวหลายแสน หรือหลายล้านดวงมารวมตัวกัน อีกทั้งยังมีก๊าซ และฝุ่นในระหว่างระบบดวงดาวปะปนอยู่ในกาแล็กซี

 

 

ดูการจำลองกาแล็กซีทางช้างเผือก (Milky way galaxy) ของเรา ในรูปที่ 1.4 – รูปที่ 1.6

 

 

รูปที่ 1.4 ภาพจำลองที่เชื่อว่าน่าจะเป็นกาแล็กซีของเรา

ที่มา : https://f.ptcdn.info

 

รูปที่ 1.5 กาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา

ที่มา : https://s3-us-west-2.amazonaws.com

 

 

รูปที่ 1.6 กาแล็กซีของเรา

ที่มา : https://www.space.fm

 

จากรูปด้านบน เป็นภาพจำลองที่เชื่อว่าเป็นโครงสร้างที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด สำหรับกาแล็กซีของเรา และสภาพพื้นที่ใกล้เคียงรอบ ๆ

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“คำว่า ไม่รู้

เป็นศัตรูของความ ก้าวหน้า

 

The word "I don't know"

is the enemy of progress.

คำคมคนทำงาน

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา