บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 81
เมื่อวาน 1,008
สัปดาห์นี้ 81
สัปดาห์ก่อน 12,853
เดือนนี้ 17,385
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,832,637
  Your IP :13.58.50.62

1.1.2 มวล

 

      หน่วยพื้นฐานของเอสไอของมวล ก็คือ กิโลกรัม (Kilogram: kg) กำหนดให้เป็นมวลที่เป็นมาตรฐานของแท่งทรงกระบอกโลหะผสมที่ทำมาจาก ทองคำขาว-อิริเดียม โดยเก็บรักษาอยู่ใน สำนักงานระหว่างประเทศด้านงานบริการน้ำหนัก และมวล (International Bureau of Weights and Measures at Sèvres) ที่ประเทศฝรั่งเศส

 

รูปมวลมาตรฐานทำจาก ทองคำขาว-อิริเดียม ที่ประเทศฝรั่งเศส

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

มาตรฐานของมวลนี้ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2430 และยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในเวลานั้น เพราะว่า ทองคำขาว-อิริเดียมเป็นโลหะผสมที่มีความเสถียรเป็นพิเศษ ไม่เปลี่ยนแปลง หรือมีการเปลี่ยนแปลงที่น้อยมาก

 

      ยังมีอีกแท่งหนึ่งที่ถูกสร้างเหมือนกันโดยเก็บรักษาไว้ที่ สถาบันมาตรฐาน และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Institute of Standards and Technology: NIST) ในกีตาร์เบิร์ก รัฐแมรี่แลนด์ (Gaithersburg, Maryland) ดูที่รูป

 

รูปที่เป็นมวลมาตรฐาน 1 กิโลกรัม ที่สถาบันมาตรฐาน และเทคโนโลยีแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา

 

ส่วนตารางที่ 1.2 เป็นการประมาณค่ามวลของวัตถุต่าง ๆ

 

วัตถุ

ค่าประมาณของมวล (กิโลกรัม)

มวลของจักรวาลที่สังเกตถึง

1 ´ 1052

กาแลกซีทางช้างเผือก

1 ´ 1042

ดวงอาทิตย์

1.99 ´ 1030

โลก

5.98 ´ 1024

ดวงจันทร์

7.36 ´ 1022

ฉลาม

1 ´ 103

มนุษย์

1 ´ 102

กบ

1 ´ 10-1

ยุง

1 ´ 10-5

แบคทีเรีย

1 ´ 10-15

อะตอมไฮโดรเจน

1.67 ´ 10-27

อิเล็กตรอน

9.11 ´ 10-31

ตารางที่ 1.2 มวลของวัตถุต่าง ๆ

 

1.1.3 เวลา

 

      ก่อนปี พ.ศ. 2510 มาตรฐานของเวลาถูกนิยามในเทอมของ ค่าเฉลี่ยดวงอาทิตย์ในตอนกลางวัน (Mean solar day) (ช่วงกลางวันเป็นเวลาระหว่างการปรากฏขึ้นของดวงอาทิตย์ที่จุดสูงสุดไปจนถึงลับขอบฟ้าในแต่ละวัน) เวลามีพื้นฐานของหน่วยก็คือ วินาที (Second: s) กำหนดให้เป็น (1/60) (1/60) (1/24) เป็นค่าเฉลี่ยดวงอาทิตย์ในตอนกลางวัน คำนิยามนี้ขึ้นอยู่กับการหมุนของโลก ดังนั้นการเคลื่อนที่อย่างนี้ไม่ความแน่นอน ไม่ได้เป็นเวลาที่เป็นมาตรฐานสากล

 

รูปเกี่ยวกับเวลา

 

       ในปี พ.ศ. 2510 ได้กำหนดคำนิยามความหมายใหม่เป็นครั้งที่สอง ทำให้มีความเที่ยงตรงแม่นยำสูง ในอุปกรณ์ที่เรียกกันว่า นาฬิกาอะตอม (Atomic clock) ดูที่รูป

 

รูปนาฬิกาอะตอมซีเซียม

 

วิดีโอแสดงนาฬิกาอะตอม

 

ซึ่งเป็นการวัดการสั่นสะเทือนของ อะตอมซีเซียม (Cesium atoms) หนึ่งวินาทีกำหนดให้เป็นเท่ากับ 9,192,631,770 ครั้งในช่วงเวลาของการสั่นสะเทือนของรังสีจากอะตอมของซีเซียม-133

 

ในตารางที่ 1.3 เป็นค่าประมาณของเวลาของเหตุการณ์ต่าง ๆ

 

การประมาณเวลา

ช่วงเวลา (วินาที)

อายุของจักรวาล

4 ´ 1017

อายุของโลก

1.3 ´ 1017

อายุเฉลี่ยของนักเรียนวิทยาลัย

6.3 ´ 108

1 ปี

3.2 ´ 107

1 วัน

8.6 ´ 104

 1 คาบ

3.0 ´ 103

ช่วงเวลาการเต้นของหัวใจ

8 ´ 10-1

ระยะเวลาคลื่นเสียงที่ได้ยิน

1 ´ 10-3

ระยะเวลาคลื่นวิทยุทั่วไป

1 ´ 10-6

เวลาการสั่นสะเทือนของอะตอมในของแข็ง

1 ´ 10-13

ระยะเวลาของคลื่นแสงที่มองเห็น

1 ´ 10-15

ระยะเวลาการปะทะกันของปฏิกิริยานิวเคลียร์

1 ´ 10-22

เวลาของแสงที่ข้ามผ่านโปรตอน

1 ´ 10-24

ตารางที่ 1.3 ค่าประมาณของบางช่วงเวลา

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา