บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 245
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 8,904
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 37,139
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,381,636
  Your IP :18.226.177.223

ปัญหาที่ ๙ การธุดงค์ (ธุตังคปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน ฆราวาสผู้อยู่ครองเรือน นอนระคนอยู่ในหมู่บุตรภรรยา และทัดทรงของหอมได้ทุกอย่าง แต่ก็มีโอกาสได้บรรลุมรรคผลเหมือนบรรพชิต เหมือนกันมิใช่หรือ”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร ถ้าจะนับจำนวนก็เกือบจะไม่ถ้วน”

 

      ม: “ถ้าเช่นนั้น เธอบวช และสมาทานธุดงค์เพื่อประโยชน์อะไร โรคหายด้วยประการอื่นได้ จะต้องดื่มยาให้ขมคอทำไม เมื่อปฏิบัติชอบก็ได้บรรลุมรรคผลเช่นเดียวกัน ดังนั้นอยู่เป็นฆราวาสจะมิสบายกว่าหรือ จะได้ไม่ต้องไปนอนแรมอยู่ในป่าสมาทานธุดงค์”

 

      น: “ขอถวายพระพร ไม่เป็นเช่นนั้นอันการสมาทานธุดงค์ย่อมกอปรด้วยคุณ  ๒๘ ประการ

 

      ๑) การเลี้ยงชีพดำเนินไปได้อย่างบริสุทธิ์

      ๒) ได้รับความสุข

      ๓) เป็นกิจหาโทษไม่ได้

      ๔) เป็นการบรรเทาทุกข์ของผู้อื่น

      ๕) หาภัยมิได้

      ๖) หาสิ่งจะเบียดเบียนมิได้

      ๗) นำแต่ความเจริญมาให้อย่างเดียว

      ๘) ปราศจากมายา

      ๙) ไม่มีความขุ่นมัว

      ๑๐) เป็นที่ป้องกันรักษา

      ๑๑) เป็นคุณที่ชนทั้งหลายปรารถนา

      ๑๒) เป็นการฝึกหัดตน

      ๑๓) เป็นการป้องกันศัสตราวุธ

      ๑๔) เป็นการเกื้อกูลแก่การสำรวม

      ๑๕) เป็นกิจที่พอเหมะจะบำเพ็ญ

      ๑๖) ทำให้จิตใจสงบระงับ

      ๑๗) พ้นจากความเศร้าหมองใจ

      ๑๘) เป็นเหตุทำให้ราคะหมดสิ้นไป

      ๑๙) เป็นเหตุทำให้โทสะหมดสิ้นไป

      ๒๐) เป็นเหตุทำให้โมหะหมดสิ้นไป

      ๒๑) เป็นเหตุทำให้มานะหมดสิ้นไป

      ๒๒) เป็นเหตุกำจัดเสียซึ่งวิตก

      ๒๓) เป็นเหตุกำจัดเสียซึ่งความสงสัย

      ๒๔) เป็นเหตุกำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน

      ๒๕) เป็นเหตุกำจัดเสียซึ่งความไม่ยินดี

      ๒๖) เป็นเหตุให้มีความอดทน

      ๒๗) มีคุณเหลือที่จะชั่งจะประมาณ

      ๒๘) เป็นเหตุให้ความทุกข์หมดสิ้นไป

 

      ขอถวายพระพร ผู้สมาทานธุดงค์ ย่อมประกอบไปด้วยคุณ ๑๘ ประการ คือ

 

      ๑) มีมรรยาทบริสุทธิ์ดี

      ๒) มีปฏิปทาเป็นสุจริต

      ๓) รักษากายทวารวจีทวารได้ดี

      ๔) มีจิตผ่องใส

      ๕) เป็นผู้ขยัน

      ๖) ระงับเสียซึ่งความกลัว

      ๗) สละเสียซึ่งอัตตานุวาททิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวเรา ตัวกูของกู)

      ๘) ระงับเสียซึ่งความอาฆาตจองเวร

      ๙) มีจิตกอปรด้วยเมตตา

      ๑๐) อาหารที่จะบริโภคมีกำหนด

      ๑๑) มีจิตหนักในสัตว์ทั้งปวง

      ๑๒) รู้จักประมาณในการบริโภค

      ๑๓) ประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่

      ๑๔) เป็นผู้ไม่มีความอาลัยในที่อยู่

      ๑๕) ที่ไหนสงบก็อยู่ที่นั่น

      ๑๖) มีความละอายต่อบาป

      ๑๗) ยินดีในที่วิเวก

      ๑๘) เป็นผู้ไม่ประมาทเนือง ๆ

 

      ขอถวายพระพร บุคคลจะสมาทานธุดงค์ได้ต้องประกอบด้วย

คุณสมบัติ ๑๐ ประการคือ

 

      ๑) มีศรัทธา

      ๒) มีหิริ ความละอายต่อบาป

      ๓) มีปัญญา

      ๔) มิใช่คนคดโกง

      ๕) รู้จักคุณของธุดงค์

      ๖) มิใช่คนโลเล

      ๗) เป็นคนใคร่ต่อการศึกษา

      ๘) มีการสมาทานมั่นคง

      ๙) ไม่เป็นคนชอบยกโทษ

      ๑๐) มีจิตกอปรด้วยเมตตาพรหมวิหาร

 

      ขอถวายพระพร อันผู้ที่จะกระทำให้แจ้งซึ่งมรรคผลนิพพานได้ ต้องเป็นผู้ได้สมาทานธุดงค์มาเป็นปทัฏฐาน (แบบแผนสําหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ) ก่อน

 

เพราะว่า ธุดงค์ย่อมทรงคุณมากอย่างประการ ล้วนแต่ทำกายวาจาใจให้บริสุทธิ์ทั้งนั้น เหตุนี้จึงมีบุคคลบางจำพวกสมาทานธุดงค์ไม่ได้ ซึ่งมีประเภทดังนี้

 

      ๑) ผู้มีความปรารถนาลามก

      ๒) ผู้มีจิตริษยาท่าน

      ๓) ผู้มีปรากติกล่าวเท็จ

      ๔) ผู้มีความโลภจัด

      ๕) ผู้มุ่งลาภยศสรรเสริญ

      ๖) เป็นผู้ไม่ควรไม่เหมาะแก่การสมาทาน

 

 

      ขอถวายพระพร อันธุดงค์นี้มี ๑๓ ประการ

 

      ๑) องค์แห่งผู้มีอันทรงผ้าบังสกุลเป็นวัตร

      ๒) องค์แห่งผู้มีอันทรงผ้าสามผืนเป็นวัตร

      ๓) องค์แห่งผู้มีอันเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร

      ๔) องค์แห่งผู้มีอันเที่ยวบิณฑบาตตามแถว เป็นวัตร

      ๕) องค์แห่งผู้มีอันบริโภคในอาสนะเดียวเป็นวัตร

      ๖) องค์แห่งผู้มีอันบริโภคในบาตรเป็นวัตร

      ๗) องค์แห่งผู้ห้ามภัตรที่เขานำมาถวาย เมื่อภายหลังเป็นวัตร

      ๘) องค์แห่งผู้มีอันอยู่ในป่าเป็นวัตร

      ๙) องค์แห่งผู้มีอันอยู่โคนไม้เป็นวัตร

      ๑๐) องค์แห่งผู้มีอันอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร

      ๑๑) องค์แห่งผู้มีอันอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร

      ๑๒) องค์แห่งผู้มีอันอยู่ในเสนาสนะอันท่านจัดไว้อย่างไร

      ๑๓) องค์แห่งผู้มีอันนั่งเป็นวัตร

 

      ขอถวายพระพร ผู้ที่สมาทานธุดงค์ ๑๓  ประการนี้แล้วย่อมถึงพร้อมด้วยคุณอันประเสริฐ ๓๐ ประการ คือ

 

      ๑) มีจิตประกอบด้วยเมตตา

      ๒) กำจัดกิเลสเสียได้

      ๓) กำจัดความถือตัวเสียได้

      ๔) มีความเชื่อมั่นคง

      ๕) ได้รับความสุขอย่าละเอียด

      ๖) มีกลิ่นหอมไปด้วยศีล

      ๗) เป็นที่รักใคร่ของเทวดามนุษย์ทั้งหลาย

      ๘) ได้เป็นพระอริยเจ้า

      ๙) เทวดามนุษย์กราบไหว้บูชา

      ๑๐) หมู่บัณฑิตสรรเสริญ

      ๑๑) ไม่ติดอยู่ในโลก

      ๑๒) เป็นผู้พิจารณาเห็นภัยในโลกแม้เล็กน้อย

      ๑๓) ทำประโยชน์ให้แก่ชนทั่วไป

      ๑๔) มหาชนบูชาด้วยสักการะ

      ๑๕) เป็นผู้ไม่ติดที่อยู่

      ๑๖) มีฌานเป็นวิหารธรรม

      ๑๗) เป็นผู้รื้อข่ายคือกิเลส

      ๑๘) ตัดคติที่กีดกั้นได้เด็ดขาด

      ๑๙) เป็นผู้มีธรรมไม่กำเริบ

      ๒๐) เป็นผู้มีที่อยู่อันจัดไว้โดยเฉพาะ

      ๒๑) เป็นผู้บริโภคสิ่งที่หาโทษมิได้

      ๒๒) เป็นผู้พ้นแล้วจากคติ

      ๒๓) เป็นผู้ไม่มีความสงสัย

      ๒๔) เป็นผู้มีตนอาบแล้วด้วยวิมุติ

      ๒๕) เป็นผู้มีธรรมอันเห็นแล้ว

      ๒๖) เป็นผู้ไม่หวาดกลัวต่อสิ่งใดๆ

      ๒๗) เป็นผู้มีอนุสัยถอนขึ้นแล้ว

      ๒๘) เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะ

      ๒๙) เป็นผู้มีสมบัติคือความสุขอย่างสุขุม เป็นวิหารธรรม

      ๓๐) เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมณคุณทั้งปวง

 

      ขอถวายพระพร อันผู้สมาทานธุดงค์ ๑๓ ประการ ย่อมกอบไปด้วยคุณอันมากประการเช่นนี้แล”

 

      ม: “เธอแจงละเอียดจริง”

 

จบธุตังคปัญหา

จบวรรค ๙ เมณฑกปัญหา

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา