บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 2,396
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 8,626
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 36,861
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,381,358
  Your IP :3.135.185.194

ปัญหาที่ ๘ การอนุมาณพระนิพพาน (อนุมานปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน เธอได้เห็นพระพุทธเจ้าหรือไม่”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร ไม่ได้เห็น”

 

      ม: “อาจารย์ของเธอได้เห็นหรือไม่”

 

      น: “อาจารย์ก็ไม่ได้เห็นเช่นเดียวกัน”

 

      ม: “ถ้าเช่นนั้น พระพุทธเจ้าก็ไม่มี”

 

      น: “อาตมภาพขอทูลถามพระองค์ก่อนว่า ปฐมกษัตริย์ของพระองค์มีหรือไม่”

 

      ม: “มีสิเธอ”

 

      น: “พระองค์เคยทอดพระเนตรเห็นพระองค์ท่านหรือไม่”

 

      ม: “ไม่เคยเห็น”

 

      น: “พวกราชบริพารของพระองค์ เคยเห็นหรือไม่”

 

      ม: “ไม่เคยเห็นเหมือนกัน”

 

      น: “ถ้าอย่างนั้น ปฐมกษัตริย์ของพระองค์ก็ไม่มี”

 

      ม: “มีสิเธอ เพราะว่ายังมีเครื่องราชูปโภค คือเศวตฉัตร พระมหามงกุฎ ฉลองพระบาท วาลวิชนี พระขรรค์แก้วปรากฏเป็นพยานอยู่”

 

      น: “นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระพุทธเจ้ามีจริง เพราะยังมี โพธิปักขิยธรรม (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ ) ๓๗ ประการเป็นพยานปรากฏอยู่

 

      ขอถวายพระพร ธรรม ๓๗ ประการเหล่านี้แลทำให้อนุมานได้ว่า พระพุทธเจ้ามีจริง และเป็นผู้ที่ฉลาดที่สุด”

 

 

อ่านโพธิปักขิยธรรม

 

 

 

      ม: “เธอลงหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง”

 

 

 

รูปเปรียบเหมือนกับการจัดวางผังเมือง

 

 

 

      น: “นายช่างก่อสร้าง จะต้องกะแผนผังวางรูปโครงพระนครให้มีโรงร้านโรงมหรสพ และถนนหนทาง เพื่อให้ผู้อาศัยได้รับสันติสุข ทุกประการฉันใด

     

      แม้พระพุทธเจ้า ก็ทรงสร้างธรรมนครอันวิจิตรตระการตาขึ้นอย่างสวยงาม และมั่นคง ด้วยมีศีลเป็นกำแพง มีหิริเป็นคู มีญาณเป็นซุ้มประตู มีวิริยะเป็นหอรบ มีศรัทธาเป็นเสาระเนียด (เสาที่เรียงรายกัน) มีสติเป็นนายประตู มีปัญญาเป็นปราสาท

 

      มีพระสุตตันตปิฎก (พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมต่าง ๆ) เป็นท้องสนาม มีพระอภิธัมมปิฎก (หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชา ล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคล หรือเหตุการณ์) เป็นถนนสามแพร่ง มีพระวินัยปิฎก (พุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบ ธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่างๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณี) เป็นศาล มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นถนน

 

      ขอถวายพระพร ในถนน ๔ สายนั้นพระพุทธเจ้าเปิดร้านขายของต่าง ๆ เช่นร้านดอกไม้ ร้านของหอม ร้านผลไม้ ร้านยาถอนพิษ ร้านยาแก้โรค ร้านขายน้ำอมฤต ร้านเครื่องแก้ว และร้านขายของทุกชนิด”

 

      ม: “เธอจงเทียบร้านสินค้านั้น ๆ เป็นธรรมมาฟังเถิด”

 

      น: “ขอถวายพระพร ร้านดอกไม้ได้แก่สัญญา ๑๐ ร้านของหอมได้แก่ศีล ร้านผลไม้ได้แก่พระอริยผล ๔  ร้านยาถอนพิษได้แก่พระอริยสัจ ๔ ร้านยาแก้โรคได้แก่โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ร้านขายน้ำอมฤตได้แก่คตาสติ  ร้านเครื่องแก้วได้แก่ศีล สมาธิปัญญา วิมุติ วิมุติญาณทัสสนะ ปฏิสัมภิทาและโพชฌงค์ ร้านขายของต่างชนิดได้แก่วังคสัตถุสาสน์

 

      ขอถวายพระพร ชาติสมบัติ ธนสมบัติอโรคยสมบัติ (สมบัติคือความไม่มีโรค) วรรณสมบัติ ปัญญาสมบัติ มนุษย์สมบัติ  ทิพยสมบัติ นิพพานสมบัติ เหล่านี้เป็นของที่พระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่ไว้ในร้านขายของทั้งนั้น ผู้ปรารถนาสมบัตินั้น ๆ ต้องซื้อด้วยกระทำความเพียร ในการรักษาศีลเจริญสมาธิทำให้เกิดปัญญา

 

      ขอถวายพระพร ชาวธรรมนครนั้น ได้แก่เหล่าท่านผู้ทรงพระไตรปิฎก ผู้บริบูรณ์ด้วยศีลสมาธิปัญญา ผู้สมาทานธุดงค์ และท่านที่ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน

 

      ขอถวายพระพร ในธรรมนครนั้น ผู้ที่เป็นเสนาบดีคือ ท่านที่ทรงไว้ซึ่งญาณอันประเสริฐ ยังธรรมจักรให้เป็นอยู่เนือง ๆ

 

      ผู้ที่เป็นปุโรหิต คือท่านที่มีฤทธิ์มาก ยากที่ใครจะผจญได้ สามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ได้ต่าง ๆ

 

      ผู้ที่เป็นผู้พิพากษา คือท่านที่มีความปรารถนาน้อย วางอารมณ์อยู่ในธุดงคคุณ

 

      ผู้ที่ทำพระนครให้สว่างไสว คือท่านที่ได้ทิพพจักษุ ฉลาดในจุตูปปาตญาณ

 

      ผู้รักษาธรรมนคร คือท่านที่เป็นพหูสูตทรงนวังคสัตถุสาสน์

 

      ผู้จัดระเบียบธรรมนคร คือท่านผู้แตกฉานในพระวินัย

 

      ผู้ขายดอกไม้ คือท่านที่มหาชนรักใคร่ และปรารถนาอย่างยิ่ง

 

      ผู้ขายผลไม้ คือท่านผู้ได้มรรคผล แล้วย่อมจำแนกผลนั้น ๆ แก่ผู้ปฏิบัติแม้เหล่าอื่น

 

      ผู้ขายของหอม คือท่านผู้บริสุทธิ์ด้วยศีลคุณนักดื่มในธรรมนครนั้น ล้วนแต่ท่านที่รื่นเริงในพระธรรมวินัย จะทำจะพูดจะคิดย่อมเกี่ยวด้วยรสคือพระธรรมทั้งนั้น

 

      ผู้ดูแลธรรมนคร คือเหล่าท่านที่ประกอบความเพียรขวนขวายแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์สุข

 

      ผู้ที่เป็นครู ก็บอกกล่าวเฉพาะแต่นวังคสัตถุสาสน์ตามอรรถ ตามพยัญชนะ ตามเหตุ ตามนัย

 

      เศรษฐี คือผู้ที่มั่นคั่งไปด้วยแก้ว คือพระธรรม

 

      ราชบัณฑิต คือผู้ฉลาดในการชี้แจงข้ออรรถธรรม

 

      ขอถวายพระพร ตามที่อาตมภาพทูลถวายมานี้ ย่อมจะชี้ให้เห็นว่า ธรรมนครมีความวิจิตรพิสดารเพียงไร เหตุนี้ขอพระองค์ได้ทรงอนุมานธรรมนครดูว่า นอกจากพระพุทธเจ้า ผู้อื่นไม่มีใครสามารถจะสร้าง และตั้งแต่งขึ้นได้ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าผู้สร้างสรรค์ธรรมนครจึงมีอยู่จริง

 

      อย่างเดียวกับพระองค์ทรงอนุมานในพระหฤทัย แล้วย่อมจะทรงทราบว่าทะเลมีคลื่นและกว้างใหญ่ หรือทรงทราบว่า ภูเขาหิมพานต์เป็นภูเขาสูงสุด เป็นต้นฉะนั้น”

 

      ม: “เธอว่านี้ชอบแล้ว”

 

จบอนุมานปัญหา

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา