บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 193
เมื่อวาน 4,800
สัปดาห์นี้ 12,271
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 53,471
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,397,968
  Your IP :3.128.94.171

ปัญหาที่ ๒ ไม่ให้เบียดเบียนสัตว์ (อหึสานิคคหปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าตรัสว่า

 

ผู้ที่นับถือพระรัตนตรัยว่าของเรา ไม่พึงเบียดเบียนผู้อื่น จักได้เป็นที่รักในโลก

 

ฉะนี้มิใช่หรือ”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร เป็นดังพระองค์ตรัสนั้นแล”

 

      ม: “ถ้าอย่างนั้น เหตุอะไรเล่า พระองค์เองจึงตรัสว่า

 

เราตถาคต พึงข่มสภาพที่ควรข่ม พึงยกย่องสภาพที่ควรยกย่อง

 

ฉะนี้ ก็การตัดมือตัดเท้า จำขัง ทรมาน ประหารชีวิตเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกิริยาข่มทั้งนั้นนี่เธอ”

 

      น: “ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์ที่ว่า เราพึงข่มสภาพที่ควรข่มนั้น พระองค์มิได้ทรงหมายกิริยาข่มเช่นพระองค์ตรัสนั้น ทรงมุ่งถึงการข่มจิตที่ฟุ้งซ่าน จิตที่เป็นอกุศล และการข่มผู้ปฏิบัติผิดหรือเป็นโจร”

 

      ม: “นี่เธอ ก็ถ้าการข่มมิใช่อาการที่ว่านั้น จะพึงข่มโจรได้อย่างไร”

 

      น: “ก็ข่มด้วยการขู่บ้าง ด้วยการปรับสินไหมบ้าง ด้วยการขับไล่บ้าง ด้วยการจองจำบ้าง ด้วยการฆ่าเสียบ้าง”

 

      ม: “การฆ่านั้นเป็นพระอนุมัติของพระพุทธเจ้าด้วยหรือ”

 

      น: “หามิได้”

 

      ม: “ถ้ามิใช่พระอนุมัติของพระพุทธเจ้าจะพึงฆ่าด้วยเหตุอะไร”

 

      น: “ก็ฆ่าด้วยเหตุ คือความผิดที่โจรผู้นั้นกระทำ ขอถวายพระพร เมื่อลงโทษตามความผิดเช่นนั้น จะจัดว่าพระพุทธเจ้าผู้สอนมีผิดด้วยหรือ”

 

      ม: “ไม่มี”

 

      น: “ถ้าเช่นนั้น พระพุทธโอวาทที่ตรัสสอนนั้น ก็เป็นอันให้ประโยชน์สุข”

 

      ม: “ถูกแล้ว”

 

จบอหึสานิคคหปัญหา

 

 

 

ปัญหาที่ ๓ พระพุทธเจ้าขับไล่พระอัครสาวกทั้งสอง พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์ (ภิขุปณามปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าตรัสว่า

 

เราตถาคตไม่มีความโกรธ เป็นผู้ปราศจากโทสะแล้ว

 

ฉะนี้มิใช่หรือ”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร ตรัสดังนั้นจริง”

 

      ม: “ถ้าอย่างนั้น ไฉนจึงทรงขับไล่พระสารีบุตรพระโมคคัลลานะพร้อมทั้งบริษัทเล่า”

 

(เรื่องเดิม (ในจาตุมสูตร มัชฌิมติกาย มัชฌิมปัณณาสก)

 

        ว่าสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้า เสด็จประทับอยู่ ณ อาลมดีวันใกล้จาตุมคาม มีพระภิกษุประมาณ ๕๐๐ ซึ่งมี พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เป็นหัวหน้า พากันเดินทางมาเพื่อจะเฝ้าพระพุทธเจ้า

 

        พอมาถึงต่างก็ดีอกดีใจ จัดเสนาสนะเก็บบาตรจีวรเสียงอึกทึกครึกโครมดังไปจนถึง ที่ประทับ พระพุทธเจ้าจึงให้พระอานนท์ไปตามพระภิกษุเหล่านั้นพร้อมด้วย

พระอัครสาวกทั้ง ๒ มาเฝ้า

 

        ครั้นทรงทราบเรื่องอึกทึกก็ตรัสว่า ท่านทั้งหลายไม่ควรอยู่ในสำนักของเรา พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะจึงพาบริษัทหลีกไป เผอิญเดินมาพบพวกศากยราชชาวเมืองจาตุมะ

 

        พวกศากยราชตรัสถามและทราบเหตุที่ท่าน พากันกลับจึงนิมนต์ให้ท่านหยุดก่อน แล้วเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลว่า ขอพระองค์จงทรงอนุเคราะห์พระภิกษุสงฆ์เถิด เพราะพระภิกษุเหล่านั้น โดยมากเป็นพระบวชใหม่ และต่างก็ตั้งใจจะมาเฝ้าพระองค์เมื่อไม่ได้เฝ้าตามที่มุ่งมาก็จะเสียใจ ความเลื่อมใสก็จะแปรผันไปเสีย เปรียบเหมือนลูกโคเมื่อไม่ได้อยู่กับแม่ ก็จะซูบผอมฉะนั้น

 

        เรื่องนี้ พระพรหมมุนี (แฟง) วัดมกุฏกษัตริย์ได้แสดงมติไว้ในหนังสือ

ปัญหาธรรมวินิจฉัยว่า "ในจาตุมสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงขับไล่ภิกษุทั้งหลาย

ซึ่งพูดจาปราศรัยกันอื้ออึงเสียนั้นข้าพเจ้าพิจารณาเห็นว่า ในครั้งนั้น จะเป็น

กาลที่พระองค์มีพระพุทธประสงค์จะทรงประกอบสุขวิหารเครื่องอยู่สำราญ

ในทิฏฐธรรม จึงขับไล่ภิกษุที่พูดจาอื้ออึงเหล่านั้นเสีย เพราะเสียงอื้ออึงนั้น

เป็นข้าศึกแก่สุขวิหาร

 

        อนึ่งถ้าพระองค์จะทรงทรมานสั่งสอนโดยวิธีอื่นก็ได้ ก็แต่พระองค์ทรงดำริ เห็นว่าพระอัครสาวกทั้ง ๒ อาจจะปกครองภิกษุเหล่านั้นได้ พระองค์จึงมิได้ทรงทรมานโดยวิธีอื่น:

 

        ได้ความในจาตุมสูตรนั้นว่า ภายหลังพระอัครสาวกทั้ง ๒ ได้ช่องที่จะ

เฝ้า จึงพาภิกษุเหล่านั้นขึ้นไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ตรัสถามพระ

สารีบุตรเถรเจ้าว่า ดูก่อนสารีบุตร เมื่อเราขับไล่ภิกษุสงฆ์เสียแล้ว ท่านมีจิต

คิดว่ากระไร

 

        พระเถระทูลว่า ข้าพระองค์คิดว่า ภิกษุสงฆ์พระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็ทรงขับไล่เสียแล้ว บัดนี้พระองค์จักมีความขวนขวายน้อยทรงประกอบสุข

วิหารในทิฏฐธรรมอยู่แต่พระองค์ 

 

        แม้เราก็จักเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ประกอบสุขวิหารในทิฏฐธรรมอยู่เหมือนกัน พระองค์ตรัสห้ามพระเถรเจ้าว่า ดูก่อนสารีบุตรท่านจงรอกาลก่อน ท่านอย่าพึงยังจิตอย่างนี้ให้เกิดขึ้นเลย พระองค์ตรัสห้ามดังนี้แล้ว จึงตรัสถามพระโมคคัลลานะเถรเหมือนดังนั้น ต่อไป พระเถรเจ้าทูลว่า ข้าพระองค์คิดว่า ภิกษุสงฆ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขับไล่เสียแล้ว

 

        บัดนี้พระองค์จักเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ทรงประกอบสุขวิหารในทิฏฐธรรมอยู่แต่พระองค์ ข้าพระองค์กับพระสารีบุตรจักช่วยกันปกครองภิกษุสงฆ์นั้นไว้ พระองค์ทรงสรรเสริญพระเถรเจ้าว่า ดูก่อนโมคคัลลานะความคิดของท่านดีถูกต้องละ ถึงเราก็คิดว่าสารีบุตร และโมคคัลลานะทั้ง ๒ อาจจะปกครองรักษาพระภิกษุสงฆ์ได้

 

        ครั้นพระองค์ตรัสดังนี้แล้ว จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายที่พระองค์ทรงขับไล่เหล่านั้นมา ตรัสเทศนาสั่งสอนต่อไป อาศัยเรื่องความที่มีมาในจาตุมสูตรนั้น ฉะนี้ 

สันนิษฐานลงว่า ขณะพระองค์ทรงขับไล่ภิกษุทั้งหลายที่พูดจาปราศรัย

กันอื้ออึงอยู่นั้น จะเป็นคราวพระองค์มีพระพุทธประสงค์จะทรงประกอบ

สุขวิหาร

 

        ทั้งทรงพระดำริเห็นว่า  พระอัครสาวกทั้ง ๒  อาจจะปกครอง

ภิกษุสงฆ์นั้นได้ด้วย ขณะนั้นพระองค์จึงมิได้ทรงทรมานสั่งสอนโดยวิธี

อื่นฉะนี้

 

        เชิญท่านผู้มีปัญญาพิจารณาสอบสวนดูเถิด ถ้าเห็นว่า คำดังว่ามานี้

มิต้องโดยพระพุทธประสงค์แล้ว พึงคิดค้นด้วยปัญญา แสวงหาเหตุผล

ซึ่งจะตรงโดยพระพุทธประสงค์นั้นเทอญ")

 

      น: “การที่พระพุทธองค์ทรงขับไล่พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ พร้อมทั้งบริษัทนั้น หาได้ทรงกระทำด้วยอำนาจแห่งความโกรธไม่ ทรงกระทำตามความผิดของท่านเหล่านั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นจะว่าเป็นความผิดของพระพุทธองค์ได้อย่างไร เปรียบเหมือนคนเดินทางพลาดล้มลงนอนกะพื้นดิน จะว่าแผ่นดินโกรธเคืองหรือจึงให้ล้ม”

 

      ม: “หามิได้ เป็นเพราะผู้นั้นเดินล้มไปเอง หาใช่เป็นเพราะแผ่นดินโกรธเคืองไม่”

 

      น: “นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระองค์มิได้ทรงยินร้ายต่อท่านเหล่านั้น การที่ทรงขับไล่ก็เพราะความผิดของท่านเหล่านั้นเป็นเหตุ และทั้งทรงเห็นประโยชน์ว่าพระภิกษุเหล่านั้นจักพ้นความเกิดความแก่ความตายได้ด้วยอุบายอย่างนี้”

 

      ม: “ฟังได้”

 

จบภิขุปณามปัญหา

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา