บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 298
เมื่อวาน 4,086
สัปดาห์นี้ 7,576
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 48,776
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,393,273
  Your IP :3.14.6.194

ปัญหาที่ ๘ ดำริแรกของพระพุทธเจ้าเมื่อทรงโปรดสัตว์ (ภควโตธัมมเทสนายอัปโปสุกตภาวปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าทรงพยายามสร้างสมบารมีมาสิ้นกาลนาน ก็ด้วยมีพระพุทธประสงค์จะทรงนำหมู่ชนให้ พ้นจากสังสารวัฏ มิใช่หรือ”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร เป็นดังพระองค์ตรัสนั้นแล”

 

      ม: “ก็ถ้าอย่างนั้น เป็นเพราะอะไร เมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ พระพุทธองค์จึงทรงท้อพระหฤทัยในการที่จะทรงสั่งสอน มีพระหฤทัยน้อมไปในความขวนขวายน้อยเหมือนนายขมังธนู (นักธนู) บางคน

 

      เบื้องต้นก็พยายามเรียนการยิงธนูเพื่อไว้ต่อสู้ข้าศึก แต่ครั้นเกิดศึกขึ้นจริง ก็ท้อใจคิดไม่สู้ฉะนั้น”

 

      น: “เป็นเพราะพระพุทธองค์ทรงดำริถึงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วนั้นว่า เป็นของลึกละเอียดยากที่ผู้มีกิเลสหนาจะรู้ตามเห็นตามได้

 

      ขอถวายพระพร พระพุทธองค์ทรงรำพึงอยู่ฉะนี้ พระหฤทัยจึงน้อมไปในความขวนขวายน้อย”

 

      ม: “เธอจงหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง”

 

      น: “ธรรมดาหมอ เมื่อตรวจดูอาการคนที่ป่วยหนักแล้วย่อมรำพึงอยู่ว่า อาการป่วยมากถึงเช่นนี้แล้ว ย่อมยากแก่การรักษา ฉะนี้มิใช่หรือ”

 

      ม: “ก็ต้องเป็นอย่างนั้นสิเธอ”

 

      น: “นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระพุทธองค์ทรงพิจารณาถึงธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้แล้วนั้น ว่าเป็นของลึกสุขุม ยากที่ผู้หมักหมมด้วยกิเลสจะรู้ตามเห็นตามได้ จึงท้อพระหฤทัยในการที่จะตรัสสั่งสอน”

 

      ม: “เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ก็เหตุไรเล่าพระพุทธองค์จึงกลับหวนพระหฤทัยมาทรงแสดงธรรมโปรดเล่า”

 

      น: “ขอถวายพระพร เหตุว่าท้าวสหัมบดีพรหม ทราบพระพุทธดำรินั้นแล้ว ได้ลงมากราบทูลอาราธนาเพื่อทรงแสดงธรรมโดยอ้างว่า ผู้มีกิเลสเบาบางอาจรู้ตามเห็นตามธรรมนั้นได้ก็มีอยู่ พระพุทธองค์ทรงพิจารณาสอบดูด้วยพระญาณ ก็ทรงเห็นด้วย จึงทรงรับอาราธนาของท้าวสหัมบดีพรหม

 

      ขอถวายพระพร เรื่องนี้เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ต่อเมื่อมีพรหมมาอาราธนาพระพุทธเจ้านั้น ๆ จึงจะแสดงธรรม

 

      เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมเคารพนับถือเชื่อฟังคำสั่งสอนของพรหมทั่วกัน เพราะฉะนั้นจึงต้องให้พรหมผู้เป็นประธานมาอาราธนาเสียก่อน

 

(เรื่องท้าวสหัมบดีพรหมลงมาอาราธนานี้ ทุกวันนี้ยังมีการอาราธนาธรรมปรากฏเป็นหลักธรรมเนียมอยู่ คือ ก่อนแต่พระจะแสดงธรรมย่อมมีผู้กล่าวข้อความโดยอ้างถึงความข้อนี้

 

        สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงสันนิษฐานความข้อนี้ไว้ในหนังสือพุทธประวัติว่าดังนี้

 

"เรื่องนี้กล่าวขยายพระพุทธดำริปรารภการแสดงพระธรรมเทศนาเป็นบุคคลาธิษฐานพรหมนั้นมีเมตตา กรุณา เป็นวิหารธรรม กล่าวถึงท้าวสหัมบดีพรหม ก็คือ กล่าวถึง พระกรุณาในสัตว์โลกนั้นเอง

 

        กล่าวถึง พรหม มากราบทูลอาราธนา ก็คือกล่าวถึงพระกรุณาทำให้กลับทรงพระปรารภถึงการแสดงธรรมอีกเล่า กล่าวถึงทรงรับอาราธนาของพรหม ก็คือทรงเปิดช่องแก่กรุณาให้เป็นปุเรจาริก (เครื่องนำหน้า, เป็นอารมณ์, เป็นหัวหน้า) คือ ไปข้างหน้า" 

 

        ความจริงต้องเป็นอย่างพระมติ ที่ทรงประทานไว้นี้ แต่ก็น่าคิดว่าเหตุไฉนพระคันรถจนาจารย์ จึงแสร้งสมมติธรรมให้เป็นตัวบุคคลขึ้นดังนั้นเล่า?

 

        ข้อนี้เมื่อมาอ่านความนิยมของคนหมู่มาก ในยุคนั้นดูก็จะเห็นได้ว่าพากันนับถือพรหมว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด (ดังกล่าวไว้ในท้ายปัญหานี้) ก็ท่านที่ได้ชื่อว่า พรหม ย่อมมีอัธยาศัยเต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตากรุณา

 

        เมื่อเป็นเช่นนั้น พระคันถรจนาจารย์ ผู้รู้สึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้า จึงได้หลักในการแต่งตั้งพระพุทธดำริอันมีพระกรุณาในหมู่สัตว์ ขึ้นเป็นตัวบุคคลคือ พรหมและกล่าวถึงพรหมมาอาราธนา ก็เพราะท่านมีความประสงค์จะเชิดชูพระพุทธเจ้า ให้ลอยเลิศสมกับความเลื่อมใสของท่าน และให้สมกับกาลเทศะ เพราะฉะนั้นจึงน่าชมความคิดที่ท่านสามารถแต่งธรรมาธิษฐาน สมมติเป็นบุคคลาธิษฐานขึ้นได้โดยมีเหตุผลสมทุกอย่างทุกประการ)”

 

      ม: “เธอว่านี้ชอบแล้ว”

 

จบภควโตธัมมเทสนายอัปโปสุกตภาวปัญหา

 

 

 

ปัญหาที่ ๙ พระพุทธเจ้าไม่มีครู ไม่มีอาจารย์ (พุทธอาจริยานาจริยปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

 

เราตถาคต ไม่มีใครเป็นครู เป็นอาจารย์

 

ฉะนี้มิใช่หรือ”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร เป็นดังพระองค์ตรัสนั้นแล”

 

      ม: “ถ้าอย่างนั้น เหตุไรพระองค์จึงตรัสว่า อาฬารดาบสกาลามโคตร ผู้เป็นอาจารย์ ตั้งเราผู้เป็นอันเตวาสิกไว้เสมอด้วยตนฉะนี้เล่า”

 

      น: เหตุที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า อาฬารดาบสเป็นอาจารย์ของพระองค์นั้น ก็เพราะเมื่อพระองค์ยังมิได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาอยู่ในสำนักของดาบสนั้น

 

      ขอถวายพระพร ถ้าจะว่าถึงจำนวนอาจารย์ ครั้งพระพุทธองค์เสด็จไปทรงศึกษาวิชาก่อนหน้าตรัสรู้ ก็นับได้หลายคน

 

      มีอาทิเช่น พราหมณ์สัพพมิต ผู้ซึ่งพระชนกได้ทรงฝากให้ทรงศึกษาวิชาในเบื้องต้น หรือเช่นเทวดาที่มากระทำให้ทรงสังเวชถึงกะเสด็จออกบรรพชา

 

      หรืออุทกดาบสรามบุตร ซึ่งเป็นอาจารย์ก่อนหน้าท่านอาฬารดาบส ท่านเหล่านี้ นับว่าเป็นอาจารย์ให้วิชาความรู้มาในเบื้องต้นทั้งสิ้น

 

      ขอถวายพระพร แต่ว่าอาจารย์เหล่านั้น ทำเป็นแต่สอนวิชาทางโลก หรือแม้จะเกี่ยวด้วยธรรม ก็เป็นแต่เพียงชั้นโลกิยะเท่านั้น หาได้สอนถึงธรรมส่วนโลกุตระด้วยไม่

 

      เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าผู้ได้ตรัสรู้โลกุตรธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมีพระพุทธดำรัสว่า เราตถาคตไม่มีใครเป็นครูอาจารย์”

 

      ม: “เธอว่านี้ชอบแล้ว”

 

จบพุทธอาจริยานาจริยปัญหา

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา