บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,867
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 10,526
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 38,761
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,383,258
  Your IP :3.135.195.249

ปัญหาที่ ๒ พระพุทธเจ้าทรงสอนธรรมไม่ปิดบัง (ฐปนียาพยากรณปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธพจน์ที่ตรัสกะพระอานนท์ว่า

 

ความรู้ทุกอย่างที่พระองค์มีอยู่ พระองค์หาได้ทรงปิดบังไม่ ได้ทรงเปิดเผยให้แจ่มแจ้งแล้ว

 

ทุกอย่างนั้น จริงหรือ”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร จริง

 

(เรื่องเดิมของปัญหานี้มีว่า วันหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ ร่มเงาแห่งพระวิหารพระอานนท์จึงเข้าไปเฝ้ากราบทูลว่า ข้าพระองค์เห็นพระองค์ทรงประชวร จิตใจหดหู่ แต่มาอุ่นใจอยู่ว่า พระองค์ยังไม่ปรารภพระภิกษุสงฆ์และตรัสพระพุทธพจน์อันใดอันหนึ่งก่อนแล้ว ก็จักยังไม่ปรินิพพานพระพุทธองค์จึงตรัสว่า ภิกษุสงฆ์ยังจะมาหวังอะไรในเราอีกเล่า ความรู้ทุกอย่างพระองค์ได้ทรงเปิดเผยให้แจ่มแจ้งแล้ว และตรัสว่า พระองค์มิได้ทรงรำพึงว่า ภิกษุสงฆ์ย่อมมีตัวเราเป็นที่พึ่ง ฉะนี้เลย (ข้อความตอนหลังนี้ที่เกิดเป็นปัญหาที่ ๑๐ ในวรรคนี้ขึ้น))”

 

      ม: “ถ้าอย่างนั้น เหตุไฉนเมื่อพระมาลุงกยะทูลถามปัญหาเรื่องโลก เป็นต้น จึงไม่ทรงตอบปัญหานั้นให้พระมาลุงกยะฟังเล่า (เรื่องนี้ในพระสูตร จูฬมาลุงกโยวาทสูตร มัชฌิมนิกาย  มัชฌิมปัณณาสก)

 

      ปรากฏว่า พระมาลุงกยะทูลถามถึงทิฐิ ๑๐ ซึ่งมีความเห็นว่าโลกเที่ยงเป็นต้น และทูลพ้อว่า ถ้าไม่ทรงพยากรณ์ก็จักไม่อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ต่อไป พระพุทธองค์จึงตรัสว่า

 

เมื่อพระมาลุงกยะจะมาประพฤติพรหมจรรย์ พระองค์ไม่ได้ทรงสัญญาไว้ว่า จักแสดงทิฐิ ๑๐ ให้ฟัง

 

      น: “ขอถวายพระพร อันลักษณะปัญหามีอยู่ ๔ อย่างคือ

 

(๑)     ปัญหาที่ต้องอธิบายโดยส่วนเดียว เช่นอธิบายว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยง

 

(๒)     ปัญหาที่ต้องแยกแยะ เช่น แยกรูปออกแสดงให้เห็นเป็นส่วนๆ

 

(๓)     ปัญหาที่ต้องย้อนถามแล้วจึงอธิบายต่อไป เช่น ถามว่า เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยงแล้ว จะเป็นสุข หรือทุกข์

     

(๔)    ปัญหาอีกอย่างเป็นปัญหาซึ่งไม่ควรตอบ เพราะจะตอบก็ไม่เกิดผลอะไรแก่ผู้ฟัง

 

ลักษณะ  ปัญหามีอยู่ ๔ อย่างฉะนี้

 

      ขอถวายพระพร ปัญหาที่พระมาลุกยะทูลถามพระพุทธเจ้านั้น ก็อยู่ในเกณฑ์แห่งลักษณะปัญหาที่ ๔  และการที่พระพุทธองค์ไม่ทรงแสดงนั้น ใช่ว่าพระองค์จะทรงคิดปิดบังก็หาไม่

 

      เหตุที่ไม่ทรงแสดงก็เป็นด้วยทรงเห็นว่า แม้จะแสดงพระมาลุงกยะก็ไม่ได้รับผล คือสันติสุขอะไร กลับจะทำความคิดความเห็นของพระมหาลุงกยะ ให้ห่างจากพระอริยมรรคอริยผลไปเสียอีก เหตุว่าปัญหาที่ถามเป็นปัญหาเดินออกนอกเขตแห่งมรรคผล”

 

      ม: “เธอฉลาดว่า”

 

จบฐปนียาพยากรณปัญหา

 

 

 

ปัญหาที่ ๓ สัตว์ทุกจำพวกหวาดกลัวต่อความตาย (มัจจุภายนปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าตรัสว่า

 

สัตว์ทุกจำพวกย่อมสะดุ้งต่ออาชญา ย่อมกลัวต่อความตาย

 

แต่ไฉนอีกครั้งจึงตรัสว่า

 

พระอรหันต์ย่อมไม่กลัวต่อภัยอันตรายอะไร

 

ก็ถ้าตรัสไว้จริงทั้ง ๒ ประการ ดังนั้นจะมิค้านกันหรือ”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร ถ้ายกพระพุทธพจน์ทั้ง ๒ นั้นมาเทียบกันดังพระองค์ตรัสถามฉะนี้ก็ค้านกัน แต่แท้จริงหาเป็นเช่นนั้นไม่

 

      คำว่าสัตว์ทุกจำพวกย่อมสะดุ้งต่ออาชญา ย่อมกลัวต่อความตายนั้น พระพุทธองค์หาได้ทรงหมายถึงพระอรหันต์ด้วยไม่เพราะว่า พระอรหันต์ท่านตัดรากแห่งความสะดุ้งความหวาดกลัวได้เด็ดขาดแล้ว”

 

      ม: “เธอจงยกตัวอย่างความข้อนี้มาเปรียบให้ฟัง”

 

      น: “อำมาตย์ ๔ นาย ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงจัดตั้งไว้ให้บังคับบัญชาราชกิจต่าง ๆ ภายหลังพระมหากษัตริย์ทรงบัญชาว่า ประชาชนทั้งพระราชอาณาจักรจงกระทำพลี (บูชา บรวงสรวง) แก่เรา ขอถวายพระพร ความสะดุ้งความกลัวต่อราชพลี (ให้เป็นของหลวง) จะพึงมีแก่ ๔ อำมาตย์นั้นบ้างหรือไม่”

 

      ม: “หามิได้”

 

      น: “เพราะเหตุไร”

 

      ม: “เพราะอำมาตย์ทั้ง ๔ นั้น พระมหากษัตริย์ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งผู้บังคับบัญชาราชกิจนั้น ๆ หาได้ทรงหมายถึงเขาทั้ง ๔ นั้นด้วยไม่”

 

      น: “ขอถวายพระพร นี่ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน พระพุทธพจน์ต้นนั้น พระองค์หาได้ทรงหมายถึงพระอรหันต์ด้วยไม่ แต่ที่มีพระพุทธดำรัสรวมไว้เช่นนั้น ก็เพราะพระองค์ทรงมุ่งจะสั่งสอนพวกที่มีนิสัยทารุณให้สำนึกว่า แม้ผู้อื่นก็สะดุ้งก็กลัวด้วยกันทั้งนั้น”

 

      ม: “ข้อนี้เข้าใจละ แต่มานึกสงสัยว่า สัตว์นรกซึ่งทนทุกขเวทนาอยู่ทุกขณะเล่า จะอยากตายให้พ้นจากทุกข์หรือว่ากลัวความตายเหมือนกัน”

 

      น: “ขอถวายพระพร แม้สัตว์นรกจะระอาต่อการทรมานก็จริง แต่ก็ยังกลัวความตายอยู่นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะเหตุปัจจัยแห่งความกลัวตัวยังถอนไม่ได้”

 

      ม: “เธอจงหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง”

 

      น: “คนเป็นหน่อเดินโขยกเขยกเพราะเจ็บ เกิดความระอาใจจึงเรียกหมอผ่าตัดมา ครั้นเห็นหมอถือมีดและเหล็กนาบซึ่งสุมไฟจนแดงมาเขาจะหวาดกลัวต่อการกระทำของหมอนั้นหรือไม่”

 

      ม: “หวาดสิเธอ แม้ทั้งรู้อยู่ว่า หมอจะบำบัดโรคนั้นให้หาย”

 

      น: “ขอถวายพระพร นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกันแม้ความใคร่จะพ้นจากนรก  ซึ่งเป็นขุมแห่งทุกขเวทนาทั้งหลายมีอยู่ แต่สัตว์นรกก็ยังหวาดกลัวต่อความตายอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสว่า สัตว์ทุกจำพวกย่อมสะดุ้งต่ออาชญา ย่อมกลัวต่อความตาย”

 

      ม: “เธอว่านี้ชอบแล้ว”

 

จบมัจจุภายนปัญหา

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา