บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 558
เมื่อวาน 1,522
สัปดาห์นี้ 2,080
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 43,280
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,387,777
  Your IP :18.222.163.31

ปัญหาที่ ๘ พระพุทธเจ้าทรงละบาปจนหมดสิ้น หรือยังเหลืออยู่บ้าง (สัพพัญญุตํปัตตปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าทรงละบาปอกุศลได้ทั้งหมด หรือทรงละได้แต่บางส่วน”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร ทรงละได้ทั้งหมด”

 

      ม: “ทุกขเวทนาก็มีเกิดขึ้นในพระสรีรกายของพระพุทธเจ้าบ้างมิใช่หรือ”

 

      น: “ขอถวายพระพร มี ดังคราวที่ถูกสะเก็ดหินกระทบพระบาท (การทรงประชวรครั้งนี้ พิเคราะห์ดูตามพฤติการณ์พระอาการน่าจะมากจนถึงจะทรงบำเพ็ญพุทธกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นไม่ได้เสด็จพุทธดำเนินโปรดสัตว์เวลาเช้าเป็นต้น ด้วยปรากฏว่าหมอชีวกโกมารภัจมาทำศัลยกรรมนำเลือดและเนื้อร้ายออก และประกอบพระโอสถสำหรับชะทาถวายจนกว่าจะทรงหายเป็นปรกติ และเพราะเหตุที่พระพุทธองค์ทรงกระทำประโยชน์สุขให้แก่โลก หรือคนหมู่มากไม่ได้เต็มที่เช่นนี้แล การทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงห้อพระโลหิต จึงจัดเป็นอนันตริยกรรมๆ ให้ผลในลำดับ เป็นครุกรรม ๆ หนักในฝ่ายบาปด้วยประการหนึ่ง)”

 

      ม: “ก็เธอว่าพระพุทธองค์ทรงละบาปอกุศลได้หมดแล้วไฉนจึงต้องทรงทนทุกขเวทนา ซึ่งเป็นผลของบาปอกุศลด้วยเล่า”

 

      น: “ทุกขเวทนามิได้เป็นผลอันเกิดแต่บาปอกุศลอย่างเดียวไม่ ขอถวายพระพร อันทุกขเวทนาย่อม

 

เกิดแต่ลมกำเริบบ้าง

 

เกิดแต่ดีกำเริบบ้าง

 

เกิดแต่เสมหะกำเริบบ้าง

 

เกิดแต่ธาตุทั้งสี่แปรผันบ้าง

 

เกิดแต่บาปอกุศลบ้าง

 

      ขอถวายพระพร เหตุ ๘ ประการนี้แลเป็นปัจจัยให้เกิดทุกขเวทนา”

 

      ม: “ถ้าอย่างนั้น ทุกขเวทนาที่เกิดแก่พระพุทธเจ้าคราวถูกสะเก็ดหินกระทบพระบาทนั้น เกิดแต่อะไร”

 

      น: “ขอถวายพระพร เกิดแก่ความเพียรพยายามปองร้ายของพระเทวทัต”

 

      ม: “ถึงอย่างนั้น ก็จัดว่าเป็นผลเกิดแต่พระพุทธองค์ทรงกระทำไม่ได้ ซึ่งเป็นบรรยายของบาปอกุศลอยู่นั่นเอง เหตุว่าเรื่องนี้ถ้าพระพุทธองค์ทรงพยายามปลอบโยนพระเทวทัตทรงชี้แจงโทษให้ฟังพระเทวทัตก็น่าจะละพยศอันร้ายนั้นได้”

 

      น: “ขอถวายพระพร คนที่มีพยศอันร้ายมีนิสัยเลวทรามประพฤติชั่วช้าอยู่เป็นนิตย์ พระองค์จะทรงสามารถปลอบโยนประทานพระราโชวาทให้ละพยศอันร้ายนั้น จะได้หรือไม่”

 

      ม: “ไม่ได้ อย่าว่าแต่ปลอบโยนเลย คนเช่นนั้นแม้จะลงโทษทัณฑ์ก็เชื่อว่าคงไม่ทิ้งนิสัยเดิม ปราบให้ละพยศอันร้ายนั้นไม่ได้”

 

      น: “ขอถวายพระพร นี่ก็เป็นเช่นนั้นแล พระเทวทัตมีพยศอันร้าย เพราะถือตัวว่าเป็นพี่น้องร่วมท้องกับพระนางพิมพา มีฐานะเท่าเทียมกับพระพุทะเจ้า

 

      เมื่อบรรพชาแล้วจึงไม่ปรากฏว่าไม่มีใครนิยมนับถือ ไม่มีใครถวายจตุปัจจัยเหมือนอย่างกษัตริย์พวกศากยะ ซึ่งออกบรรพชาคราวเดียวกัน

 

      ลำดับนี้แลจิตมุ่งคิดมักมาก มุ่งแสวงหาลาภสักการะแข่งขันและเนื่องด้วยท่านเป็นเชื้อกษัตริย์มีความคิดสูง จึงเริ่มติดต่อกับพระอชาตสัตตุราชกุมาร ถึงยุยงให้ปลงพระชนมชีพพระเจ้าพิมพิสารผู้พระชนก

 

      ส่วนตัวประกอบอุบายต่าง ๆ ในการที่จะปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า ขอถวายพระพร พระเทวทัตตั้งจิตไว้ผิดแต่เดิมมาเป็นข้อสำคัญฉะนี้ พระพุทธองค์จึงทรงกระทำให้ละพยศร้ายนั้นไม่ได้ และเมื่อเป็นเช่นนี้จะกล่าวว่าพระพุทธองค์ทรงกระทำไม่ได้ อย่างไรได้

 

      แท้จริงเรื่องนี้ ถ้าพระพุทธองค์มัวทรงตามปลอบโยนพระเทวทัตอยู่ก็จะเป็นอันว่าพระองค์ยังมีการถือเราถือเขายังทรงยินดีช่วยเหลือพวกของพระองค์แม้เป็นผู้ผิด หรือถ้าไม่เช่นนั้น พระพุทธองค์จะทรงลงโทษทัณฑ์พระเทวทัตก็จะเป็นอันว่า พระองค์ทรงผูกพยาบาทพระเทวทัต

 

      เพราะฉะนั้น การที่พระพุทธองค์มีพระหฤทัยเป็นอุเบกขาวางเฉยไม่ยินดียินร้าย  ทรงแสดงพระเมตตากรุณาในผู้อื่นอย่างด ในพระเทวทัตก็ทรงแสดงอย่างนั้นจึงแสดงให้เห็นว่าพระพุทธองค์ทรงละบาปอกุศลได้หมดสิ้นเชิง”

 

      ม: “เธอว่านี้ชอบแล้ว”

 

จบสัพพัญญุตํปัตตปัญหา

 

 

 

ปัญหาที่ ๙ พระพุทธเจ้ายังทรงเข้าญาณอยู่ (ตถาคตอุตตริกรณียาภาวปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลนท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าทรงกระทำกิจเสร็จสิ้นแล้วทุกอย่าง กิจอื่นที่จะต้องกระทำไม่มีอีกแล้ว มิใช่หรือ”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร เป็นดังพระองค์ตรัสนั้นแล”

 

      ม: “ถ้าอย่างนั้น ไฉนจึงปรากฏว่าพระพุทธองค์ยังทรงเข้าฌานอยู่อีกเล่า”

 

      น: “ขอถวายพระพร การที่พระพุทธองค์ยังทรงเข้าฌานอยู่อีกนั้น ก็เพราะว่าฌานเป็นคุณธรรมที่ให้ประโยชน์สุขแก่พระองค์มามาก เหตุว่าพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ก็ทรงเข้าฌานเป็นปทัฏฐาน (ปะ-ทัด-ถาน (Norm): บรรทัดฐาน) มาก่อนแล้ว จึงได้ตรัสเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งนั้น

 

      ขอถวายพระพร เนื่องด้วยฌานมีคุณมาเช่นนี้แลพระพุทธองค์จึงยังทรงฝักใฝ่พระหฤทัยในการเข้าฌานนั้นอยู่”

 

      ม: “เธอจงหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง”

 

      น: “ขอถวายพระพร เหมือนบุรุษผู้หมั่นเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์พยายามทำความดีมีความชอบได้รับพระราชทานทรัพย์สมบัติมากมายจนตั้งเนื้อตั้งตัวได้ แต่ถึงดังนั้น เมื่อเขามาระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์เจ้านั้นแล้ว ก็ยังหมั่นเข้าไปสู่ที่เฝ้าอยู่เนือง ๆ

 

      นี้ฉันใด แม้พระพุทธเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระพุทธองค์ทรงเข้าฌานเป็นปทัฏฐานมาก่อนแล้ว จึงได้ตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นอันเสร็จกิจที่จะต้องทรงกระทำแล้วทุกอย่างแม้ทั้งที่เสร็จกิจแล้วนั้น พระองค์ก็ยังไม่ทรงทอดทิ้งการเข้าฌานทีเดียวยังทรงหาโอกาสเข้าฌาน เพื่อทรงพระสำราญอันเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยมซึ่งเกิดจากฌานนั้นอีก

 

      ขอถวายพระพร อันการเข้าฌานนี้ย่อมมีคุณมากอย่างมากประการเช่น กำจัดความรัก ความโกรธ ความหลง ความถือตัวและความวิตก มีใจเป็นอารมณ์อันหนึ่ง พิจารณาเห็น ความจริงทั้งหลาย ทำให้เกิดความอิ่มอกอิ่มใจ

 

      ขอถวายพระพร แต่พระพุทธเจ้าย่อมทรงเข้าฌานด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ

(๑)     ด้วยความที่พระองค์เป็นผู้มีวิหารธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญ

 

(๒)     ด้วยความที่พระองค์ทรงพระคุณธรรมมา

 

(๓)     ด้วยความที่ฌานเป็นวิถีของพระอริยะทั้งหลาย

 

(๔)    ด้วยความที่ฌานเป็นคุณธรรมที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงสรรเสริญ”

 

      ม: เธอว่านี้ชอบแล้ว

 

จบตถาคตอุตตริกรณียาภาวปัญหา

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา