บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 995
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 7,225
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 35,460
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,379,957
  Your IP :18.222.67.251

ปัญหาที่ ๒ ความรอบรู้ของพระพุทธเจ้า (สัพพัญญูปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน คำที่ว่าพระพุทธเจ้าเป็น สัพพัญญู (ผู้มีปัญญารอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง: All-knowing) รู้ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น จริงหรือ”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร จริง แต่ว่าความรู้นั้น ๆ หาได้มีแนบกับพระหฤทัยอยู่ทุกขณะไม่ จะปรากฏขึ้นก็ต่อเมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงนึกเสียก่อน”

 

      ม: “ถ้าเป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าก็ไม่ใช่สัพพัญญู เพราะว่าถ้าเป็นสัพพัญญูจริงแล้วพระองค์ก็ไม่ต้องนึกไว้ก่อนสิเธอ”

 

      น: “เมื่อพระองค์ยังไม่ทรงพระราชดำริเห็นด้วย อาตมภาพจะเปรียบถวาย คือเหมือนต้นไม้ต้นหนึ่งมีผลเต็มต้น แต่ยังไม่มีร่วงหล่นเลยสักผลเดียว

 

      เมื่อเป็นดังนั้น จะว่าไม้ต้นนั้นไม่มีผลหรือมีผลน้อยเพราะเหตุที่ผลยังไม่หล่นจะได้หรือ”

 

      ม: “ไม่ได้สิเธอ”

 

      น: “หรือเปรียบเหมือนผู้ที่มีทรัพย์สมบัติบริบูรณ์ทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อแขกมาถึงบ้านพ้นจากเวลาบริโภคอาหาร ย่อมจัดหาอาหารมาเลี้ยงแขกไม่ได้ในทันที

 

      ขอถวายพระพร เมื่อเป็นเช่นนี้จะว่าผู้นั้นไม่มีสมบัติบริบูรณ์จริง เพราะเหตุบกพร่องอาหารในขณะนั้น จะได้หรือ”

 

      ม: “ไม่ได้ อย่าว่าแต่ผู้มีฐานะอย่างนั้นเลย  แม้แต่ในพระราชวังของพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ยังต้องเป็นเช่นนั้น”

 

      น: “ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน คือพระองค์ย่อมมีความรู้บริบูรณ์ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ว่าความรู้นั้น ๆ หาได้ประจำอยู่กับพระหฤทัยทุกขณะไม่ ต่อเมื่อพระองค์ได้ทรงหยั่งพระหฤทัยส่องลงไปยังเรื่องใดจึงจะทรงรู้ทรงเห็นเรื่องนั้น ได้ตลอด

 

      ขอถวายพระพร การที่พระพุทธเจ้าทรงหยั่งรู้ทุกสิ่งทุกอย่างได้เช่นนั้น ก็เพราะปรากฏว่า เมื่อครั้งพระพุทธองค์ยังทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาศิลปวิทยามามากอย่าง และได้ทรงพยายามศึกษาเรื่อยมาจนพระชนมายุถึง ๓๕ ปี จึงทรงจับหลักฐานแห่งความจริงของสภาพทั้งหลายโดยลำพังพระองค์เองได้ ความรู้หลักความจริงนั้นและเป็นเหตุทำพระหฤทัยของพระองค์ให้มีปรกติผ่องใสอยู่ได้ทุกขณะ

 

      เพราะฉะนั้นเมื่อทรงฉายพระหฤทัยส่องไปยังเรื่องใด จึงทรงรู้ทรงเห็นเรื่องนั้นได้ชัดเจนพร้อมทั้งเหตุผล

 

      ขอถวายพระพร เพราะเหตุดังกล่าวมานี้แลพระพุทธเจ้าจึงเป็นสัพพัญญูรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง”

 

      ม: “เธอฉลาดว่า”

 

จบสัพพัญญูปัญหา

 

 

 

ปัญหาที่ ๓ พระพุทธเจ้าทรงบวชให้พระเทวทัต (เทวทัตตปัพพชิตปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน  พระเทวทัตใครบวชให้”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าทรงบวชให้”

 

      ม: “พระเทวทัตบวชแล้วจึงทำลายสงฆ์มิใช่หรือ”

 

      น: “ใช่ ขอถวายพระพร ด้วยว่าคนอื่นนอกจากพระภิกษุสงฆ์แล้ว ทำลายสงฆ์ไม่ได้”

 

      ม: “อันผู้ทำลายสงฆ์ต้องรับโทษหนักมากมิใช่หรือ”

 

      น: “ขอถวายพระพร ถูกแล้ว”

 

      ม: “ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ทำไมพระพุทธเจ้าจึงบวชให้เล่าหรือว่าพระองค์ไม่ทรงทราบอีกว่าพระเทวทัตจะทำลายสงฆ์”

 

      น: “ขอถวายพระพร ทรงทราบ”

 

      ม: “ถ้าเป็นอย่างนั้นคำที่ว่า พระพุทธเจ้า มีพระมหากรุณาเป็นพระอัธยาศัยก็ผิด แต่ถ้าจะว่า ไม่ทรงทราบ คำว่าพระพุทธเจ้าเป็นพระสัพพัญญู ทรงหยั่งรู้เหตุผลทุกสิ่งทุกอย่างนั้นก็ผิด อีกแย้งกันอยู่เช่นนี้ เธอจะว่าอย่างไรจึงจะสมด้วยคำทั้งสองนั้น”

 

      น: “อาตมภาพจะขอยกตัวอย่างมาเปรียบถวายก่อนเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง มีบุตรเป็นคนเกกมะเหรกประพฤติเลวทรามต่าง ๆ บุรุษผู้เป็นบิดาพยายามปลอบโยนชี้แจงคุณ และโทษแห่งการประพฤตินั้น ๆ ให้ฟังบุตรก็ไม่เชื่อฟัง ครั้นจะเพิกเฉยเสียก็สงสาร ด้วยเกรงบุตรว่าจะชั่วช้าได้รับความทุกข์ยากหนักขึ้น จึงฝืนใจกระทำโทษทรมานบุตร

 

      ขอถวายพระพร เช่นนี้จะว่าบุรุษผู้บิดานั้นไม่กรุณาบุตร และไม่รู้คุณและโทษแห่งการทรมานนั้น จะได้หรือ”

 

      ม: “ไม่ได้สิเธอ เพราะว่ารู้และสงสารบุตร จึงนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้ต้องจำใจกระทำเช่นนั้น”

 

      น: “ขอถวายพระพร ตัวอย่างนี้เป็นพยานให้เห็นว่าคำกล่าวทั้ง ๒ นั้นไม่มีผิด เนื่องด้วยพระพุทธองค์ทรงสงสาร และทรงหยั่งรู้คุณ และโทษของการบวชนั้นแล  จึงให้พระเทวทัตบวชเสีย

 

      เพราะทรงทราบว่า ถ้าเพิกเฉยไม่บวชให้ พระเทวทัตก็จะมีโอกาสทำได้แต่ความชั่วอย่างสามัญ ได้รับทุกข์แต่พอประมาณโทษไม่ถึงสาหัส เมื่อเป็นเช่นนี้พระเทวทัตก็จะไม่เข็ด จะทิ้งนิสัยเลวทรามนั้นไม่ได้ความทุกข์ก็จะตามเผาผลาญได้เรื่อยไป

 

      เมื่อทรงเห็นว่ามีอุบายที่จะทรมานได้ แต่อย่างนี้ทางเดียวเท่านั้น ซึ่งจะทำให้พระเทวทัตหลาบจำให้ละนิสัยอันนั้นกลับมาประพฤติดีได้ต่อไป

 

      ขอถวายพระพร เพราะเหตุฉะนี้แล พระพุทธเจ้าจึงทรงบวชให้พระเทวทัต”

 

      ม: “เธอว่านี้ชอบแล้ว”

 

จบเทวทัตตปัพพชิตปัญหา

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา