บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 3,427
เมื่อวาน 4,086
สัปดาห์นี้ 10,705
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 51,905
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,396,402
  Your IP :3.145.166.7

ปัญหาที่ ๑๑ มนุษย์สามารถเหาะได้หรือไม่ (อุตตรกุรูปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ที่ไปสู่ที่ไกล ๆ ได้โดยการเหาะไปมีบ้างหรือไม่”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร มี”

 

      ม: “น่าสงสัยจริงเธอ จะเหาะไปได้อย่างไร”

 

      น: “ก็ผู้ที่กระโดดขึ้นไปได้สูง ๆ พระองค์ทรงทราบหรือไม่ว่า ขึ้นไปได้อย่างไร”

 

      ม: “ขึ้นไปได้ด้วยการรวบรวมกำลังกาย ซึ่งตนฝึกซ้อมไว้ พร้อมด้วยใจมุ่งจะกระโดด”

 

      น: “นั่นถ้าเพียงแต่รวบรวมกำลังกายเท่านั้น จะกระโดดขึ้นไปได้หรือไม่”

 

      ม: “ไม่ได้สิเธอ”

 

      น: “ขอถวายพระพร เป็นเพราะอะไร”

 

      ม: “เป็นเพราะการรวบรวมกำลังที่ได้ฝึกซ้อมไว้นั้น มีประโยชน์เพียงให้การกระโดด สูงขึ้นเท่านั้น หาได้มีอำนาจพอที่จะนำร่างกายให้ลอยขึ้นไปได้ไม่ เหตุนี้จึงจำต้องพร้อมด้วยใจมุ่งจะกระโดดด้วย ร่างกายจึงจะลอยขึ้นไปได้”

 

      น: “นี่เป็นตัวอย่างให้เห็นว่า ฤทธิ์เดชของใจที่มุ่งกระทำแล้วมีอยู่เพียงไร ขอถวายพระพร ก็ถ้ายิ่งได้ฝึกซ้อมใจไว้จนมีกำลังเหนือกำลังกายแล้ว ถึงคราวประสงค์จะเหาะ เมื่อรวบรวมกำลังใจนั้นเข้า จะมิพาร่างกายเหาะไปได้ไกล ๆ หรือเหตุว่าอานุภาพของกำลังใจที่ได้ฝึกซ้อมไว้ดีแล้ว ย่อมบงการให้กายกระทำอะไร ๆ ได้แทนทุกอย่าง”

 

      ม: “สิ้นสงสัย”

 

จบอุตตรกุรูปัญหา

 

 

 

ปัญหาที่ ๑๒ กระดูกสันหลังยาว ๑๐๐ โยชน์ มีหรือไม่ (ทีฆอัฎฐิกปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน ต้นไม้สูงตั้ง ๑๐๐ โยชน์ก็มีอยู่แต่เหล่าสัตว์ที่มีกระดูกยาวตั้ง ๑๐๐ โยชน์จะมีหรือไม่”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร ในทะเลปรากฏว่ามีปลาตัวยาวตั้ง ๕๐๐โยชน์ (เรื่องจำนวนมากมายเช่นนี้ ท่านผู้แต่งคัมภีร์แต่ก่อน มักจะพอใจกล่าวไว้ในบาลีประเทศทั้งหลาย แม้เรื่องปัญหาพระยามิลินท์นี้ ตอนนิทานเบื้องต้นพระปิฎกจุฬาภัยก็กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "พระอัสสคุตผู้สังฆนายกได้ประชุมสงฆ์องค์พระอรหันต์ ๑๐๐ โกฏิ" ก็ในสมัยที่พระปิฎกจุฬาภัยกล่าวถึงนี้ พระพุทธศักราชประมาณ ๑๐๐ ปี  ซึ่งเป็นเวลาไม่น่ามีพระอรหันต์มากมายเท่านั้นแม้พระภิกษุสมมติสงฆ์หรือที่สุดจนพลเมืองทั้งประเทศ ก็เชื่อว่าคงมีจำนวนไม่มากถึงเท่านั้น แต่ก็น่าคิดว่าเหตุไฉนท่านผู้แต่งคัมภีร์ทั้งหลาย ซึ่งโดยมากปรากฏว่าเป็น

กัลยาณชนมีอัธยาศัยดีงาม จึงพอใจกล่าวเสริมเกินกว่าความจริงไว้ในบาลีประเทศมากแห่ง  น่าจะมีเหตุผลหลายประการซึ่งชวนให้ท่านควรกล่าวไว้ เช่นนั้นมีอาทิเช่นทถ้าต้องการ จะกล่าวให้กลายเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ซึ่งนิยมกันอยู่ในสมัยนั้นๆ หรือมิฉะนั้นก็ตั้งใจจะให้เกิดบุญกุศลแก่ผู้อ่านผู้ฟังเช่นเรื่องสังฆสมาคม ซึ่งมีพระอรหันต์มาประชุมถึง ๑๐๐ โกฏิรูปนี้ ถ้าผู้อ่านผู้ฟังอาจส่องจิตไปดูภาพสงฆ์สมาคมใหญ่ปานนั้นได้ ก็ย่อมจะเป็นทางให้เกิดปิติ ความอิ่มใจได้ไม่น้อยเพราะฉะนั้นเรื่องจำนวนมากเช่น ๕๐๐ โยชน์ในที่นี้จึงควรให้อภัยแก่ท่านผู้มีความปรารถนาดีเช่นนั้น) เมื่อเป็นเช่นนั้นจริง ไฉนกระดูกจะยาวไม่ถึง ๑๐๐ โยชน์”

 

จบทีฆอัฎฐิกปัญหา

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา