บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,775
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 10,434
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 38,669
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,383,166
  Your IP :3.145.8.141

ปัญหาที่ ๖ น้ำตาแบบไหนจัดเป็นยา (อัสสุปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน ผู้หนึ่งบิดามารดาตายเสียใจร้องไห้ อีกผู้หนึ่งร้องไห้เพราะใคร่จะประพฤติธรรม น้ำตาของคนทั้งสองนี้ ของคนไหนเป็นยา”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร น้ำตาของคนแรก ขุ่นร้อนเพราะไฟ คือความรักใคร่และหลงใหลมิรู้เท่าความเป็นจริงของสังขาร

 

      แต่น้ำตาของคนหลังใสเย็นเพราะกลั่นมาแต่ความอิ่มเอิบใจ เป็นอันว่าเป็นยาได้”

 

      ม: “ชอบแล้ว”

 

จบอัสสุปัญหา

 

 

 

ปัญหาที่ ๗ คนมีกำหนัด กับคนไม่มี มีข้อเหมือนกันบ้างหรือไม่ (รสปฏิสังเวทีปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน คนที่ยังมีความกำหนัดอยู่กับคนที่ไม่มีความกำหนัดแล้ว ต่างกันหรือเหมือนกัน”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร ต่างกัน คือคนหนึ่งยังมีความปรารถนา หรือความประสงค์อยู่อีก แต่อีกคนหนึ่งหามีความปรารถนาหรือความประสงค์ต่อไปอีกไม่”

 

      ม: “ความเห็นของข้าพเจ้าเห็นว่า คนสองคนนั้นมีบางอย่างซึ่งยังเหมือนกันอยู่ คือ ชอบบริโภคอาหารที่ดีมีรสอร่อยเช่นเดียวกัน”

 

      น: “ขอถวายพระพร ย่อมเป็นเช่นพระองค์ทรงเห็นนั้นแล แต่ถึงเช่นนั้น คน ๒ คนนั้นก็ยังต่างกันอยู่ คือคนที่ยังมีความกำหนัด ขณะเมื่อบริโภคอาหาร ย่อมรู้สึกรสอร่อยและทั้งยังติดใจในรสอาหารนั้นอีกด้วย

 

      ส่วนคนที่ไม่มีความกำหนัดแล้ว ก็มีความรู้สึกในรสอาหารเช่นนั้นเหมือนกัน แต่มีเฉพาะเวลาบริโภคเท่านั้น หาได้มีจิตใจข้องอยู่ในรสอาหารนั้นๆ ต่อไปอีกไม่”

 

      ม: “จริงอย่างเธอว่า”

 

จบรสปฏิสังเวทีปัญหา

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา