บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,207
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 9,866
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 38,101
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,382,598
  Your IP :3.128.203.143

ปัญหาที่ ๒เพราะอะไรพระพุทธเจ้าจึงบัญญัติกฏขึ้นหลังเกิดเหตุขึ้น (สัมปัตตกาลปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าย่อมทรงรู้เห็นสิ่งทั้งปวงสิ้นมิใช่หรือ”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร ถูกแล้ว”

 

      ม: “ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไฉนพระองค์จึงทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามตามหลังเหตุการณ์ที่สาวกทำให้เกิดขึ้นเล่า”

 

      น: “อาตมภาพขอทูลถามพระองค์บ้างว่า ธรรมดาแพทย์ผู้ชำนาญย่อมรู้สรรพคุณแห่งตัวยาสิ้นมิใช่หรือ”

 

 

 

รูปแพทย์กำลังวินิจฉัยโรค

 

      ม: “ใช่สิเธอ”

 

      น: “ขอถวายพระพร แพทย์ผู้นั้นเขาวางยาต่อเมื่อมีโรค หรืออาการของโรคปรากฏขึ้นก่อน หรือว่าเวลาปรกติซึ่งยังคาดไม่ได้ว่าจะมีโรคภัยอะไรเกิดขึ้น เขาก็วางยาเหมือนกัน”

 

      ม: “เวลาปรกติเขาจะวางยา เพื่อประสงค์อะไร เพราะว่าการวางยาในเวลาเช่นนั้น อาจจะให้โทษแก่ร่างกายก็ได้ แต่ถ้าถึงคราวเจ็บไข้ ยาเป็นของสำคัญยิ่ง เพราะถ้าทอดทิ้งไม่รีบให้แพทย์วางยาเสียทันที โรคนั้น ก็ย่อมจะกำเริบขึ้นทุกทียากที่จะรักษาให้หายได้ต่อไป”

 

      น: “ขอถวายพระพร แม้พระพุทธเจ้าผู้ทรงทราบเหตุการณ์ทั้งปวงก็เป็นเช่นเดียวกับแพทย์นั้นเหมือนกัน คือการที่พระพุทธองค์ไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามล่วงหน้าไว้ ก็ด้วยทรงเห็นว่า ถ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ก่อน อาจจะเป็นข้อที่เห็นว่าหยุมหยิมของผู้แรกเข้ามาบวช จนให้เกิดความระอาใจก็เป็นได้

 

      เนื่องด้วยมีพระหฤทัยทรงอนุเคราะห์อยู่เช่นนี้แล จึงมิไดทรงบัญญัติไว้ก่อนแต่ความเสียหายเกิดขึ้น แต่ถ้ามีเรื่องซึ่งทรงเห็นว่า ถ้าไม่ทรงห้ามเสียอาจจะนำความเสื่อมทรามมายังหมู่คณะเกิดขึ้นเมื่อใด ก็ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามเมื่อนั้น เพื่อมิให้สาวกล่วงละเมิดต่อไป”

 

      ม: “ละเอียดแท้”

 

จบสัมปัตตกาลปัญหา

 

 

 

ปัญหาที่ ๓ พระพุทธเจ้ามีร่างกายอย่างมหาบุรุษจริงหรือ (ทวัตตึสมหาปุริสลักขณปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน ตามประวัติปรากฏว่า พระพุทธเจ้ามีพระสรีรกาย (ร่างกาย) ทุก ๆ ส่วนได้ลักษณะพระมหาบุรุษ มีพระฉวีวรรณ (ผิวพรรณ) ผุดผ่องดุจสีทอง ข้อนี้จะจริงหรือเธอ”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร จริง”

 

      ม: “ก็พระชนกชนนี (พ่อ และแม่) ของพระองค์เล่า มีพระลักษณะเช่นนั้นเหมือนกันหรือ”

 

      น: “ขอถวายพระพร หามิได้”

 

      ม: “ถ้าเป็นเช่นนั้น จะจัดว่าดีได้หรือเธอ เพราะตามธรรมดา บุตรต้องคล้ายคลึงบิดามารดาคนใดคนหนึ่งหรือทั้ง ๒ จึงจะชอบ”

 

      น: “ขอถวายพระพร พระองค์ทรงรู้จักสีสันและกลิ่นของบัวหลวงหรือไม่”

 

รูปเปรียบกับบัวหลวง

 

 

      ม: “รู้จักสิเธอ”

 

      น: “บัวนั้นเกิดที่ไหน”

 

      ม: “เกิดที่เปือกตมซึ่งมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่”

 

      น: “ขอถวายพระพร บัวนั้นมีสีสันวรรณะเหมือนเปือกตมหรือ”

 

      ม: “หามิได้”

 

      น: “หรือเหมือนน้ำ ขอถวายพระพร”

 

      ม: “น้ำก็ไม่เหมือน, สัญชาติของบัวหลวงมีสีสันวรรณะอย่างใด บัวนั้นก็มีอย่างนั้น”

 

      น: “นั่นแลฉันใด แม้พระพุทธเจ้าก็ฉันนั้นถึงพระองค์จะทรงถือกำเนิดมาแต่พระชนกชนนีก็จริง แต่ที่พระองค์มีพระลักษณะพิเศษยิ่ง มิเหมือนพระชนกชนนีนั้น ก็เพราะความดีทั้งหลายที่ได้ทรงสั่งสมไว้แต่หนหลัง มาตกแต่งให้พระองค์มีพระลักษณะตามสัญชาติของพระมหาบุรุษผู้พิเศษยิ่งเช่นเดียวกัน”

 

      ม: “เธอช่างฉลาดจริง ๆ”

 

จบทวัตตึสมหาปุริสลักขณปัญหา

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา