บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 469
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 9,128
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 37,363
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,381,860
  Your IP :18.190.156.80

ปัญหาที่ ๕ ความสุขกายสุขใจ (สุขเวทนาปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน สุขเวทนา (ความสุขกายสุขใจ) เป็นกุศลหรืออกุศล หรือเป็นอพยากฤต (เป็นกลางๆ ไม่ใช่ ๒ อย่างนั้น)”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร เป็นได้ทั้ง ๓ อย่าง”

 

      : “ตามธรรมดากุศลก็เป็นสุข อกุศลก็เป็นทุกข์ แต่นี่ไฉนเธอจึงว่าเป็นได้ ทั้ง ๓ อย่างเล่า”

 

      : “อาตมภาพจะเปรียบถวาย เหมือนคนเอาก้อนเหล็กแดงโชนวางลงในมือข้างหนึ่ง เอาก้อนลูกเห็บวางลงในมือข้างหนึ่ง ขอถวายพระพรนั่นเขาจะรู้สึกร้อนหรืออย่างไร”

 

      : “ร้อนสิเธอ”

 

      : “ร้อนทั้ง ๒ มือหรือ”

 

      : “หามิได้”

 

      : “หรือเย็นทั้ง ๒ มือ”

 

      : “จะว่าเย็นทั้ง ๒ ก็ไม่ถูก”

 

      : “นี่แลขอพระองค์จงทราบว่า สุขเวทนาก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน คือ เป็นได้ทั้งกุศล อกุศล ทั้งอพยากฤต จะว่าเป็นแต่อย่างหนึ่งอย่างใดก็ไม่ถูก เพราะสุขล้วนก็มี สุขเจือทุกข์ก็มี สุขสถานกลางก็มี”

 

      : “เธอจงแจงให้ฟัง”

 

      : “โสมนัสอาศัยความกำหนัด (สุขอิงโลก) มี ๖,

อาศัยเนกขัมมะ (สุขห่างจากโลก) มี ๖, โทมนัสอาศัยความกำหนัด (ทุกข์เพราะระคนด้วยโลก) มี ๖, อาศัยเนกขัมมะ (ทุกข์เพราะพยายามจะห่างโลก) มี ๖, อุเบกขา อาศัยความกำหนัด (ความวางเฉยเกี่ยวทางโลก) มี ๖, อาศัยเนกขัมมะ (ความวางเฉยเพราะห่างจากโลก) มี ๖, รวมเป็น ๓๖ แล้วจำแนกออกตามกาลทั้ง ๓ คืออดีต อนาคต และปัจจุบัน จึงบวกเข้าเป็น จำนวน  ๑๐๘”

 

      : “พิสดารจริง”

                                    จบสุขเวทนาปัญหา

 

 

 

ปัญหาที่ ๖ ตายไปแล้ว อะไรจะกลับมาเกิดอีกต่อไป (นามรูปปฏิสนธิคหณปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน ก็คำที่เธอว่า ผู้ที่จักกลับมาเกิดอีกก็มีนั้น อะไรจักกลับมาเกิด”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร นามและรูปจักกลับมาเกิด”

 

      : “นามรูปอันนี้แลหรือจักกลับมาเกิด”

      : “มิใช่นามรูปนี้, ขอถวายพระพร เป็นนามรูปอีกอันหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเพราะบุญบาปอันนามรูปนี้ได้กระทำไว้”

 

      : “ก็ถ้ามิใช่นามรูปนี้ไปเกิดแล้ว ก็เป็นอันว่าหนีบาปกรรมที่ทำไว้ในชาตินี้พ้นละสิเธอ”

 

      : “ขอถวายพระพร ถ้าไม่บังเกิดต่อไปอีกก็เป็นอันหนีพ้น แต่ถ้ายังต้องมาเกิดอีก ก็หนีไม่พ้น”

 

      : “เธอจงเปรียบให้ฟัง”

 

      : “เหมือนคนลักมะม่วงเจ้าของจับได้ เมื่อคดีถึงศาลจำเลยแก้ตัวว่า มะม่วงต้นนั้น โจทก์มิได้ปลูกไว้ ต้นมะม่วงที่เขาลักผลเป็นของคนอื่นปลูกมาก่อน ขอถวายพระพร เมื่อจำเลยแก้ตัวเช่นนี้ จะพ้นโทษหรือไม่”

 

      : “ไม่พ้นสิเธอ”

 

      : “ขอถวายพระพร เพราะเหตุไร”

 

      : “เพราะว่าจำเลยยังมีความผิดฐานลักขโมยอยู่ แม้ตัวจะปฏิเสธข้อหาของโจทก์ในคดีนั้นแล้วก็จริง แต่ก็ยังชื่อว่ารับสารภาพความผิดในคดี ๑ จึงเป็นอันว่าลงโทษจำเลยได้”

 

      : “นั่นแลฉันใด การที่จะเอานามรูปอื่นข้างหน้า มาเป็นเหตุหนีบาปกรรมที่ทำไว้ในชาตินี้ให้พ้น ก็ไม่ได้ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะว่านามรูปอื่นนั้นเกิดขึ้นเพราะบุญบาปที่นามรูปนี้เป็นผู้ก่อไว้”

 

      : “ของเธอจงเปรียบให้ฟังอีก”

 

      : “เหมือนคนก่อไฟผิงในฤดูหนาว ครั้นแล้วเกิดไฟไหม้ ไฟนั้นก็ลุกลามไปไหม้ไร่นาของผู้อื่น เมื่อคดีถึงโรงศาล จำเลยแก้ตัวว่า ไฟที่เขาก่อขึ้นนั้นเป็นไฟอีกกองหนึ่งมิใช่ไฟที่ไหม้ไร่นาของโจทก์ ขอถวายพระพร เมื่อจำเลยแก้ตัวต่อศาลเช่นนี้ ศาลจะงดโทษให้หรือไม่”

 

      : “จะงดให้อย่างไรได้เธอ”

 

      : “เพราะเหตุไร”

 

      : “เพราะไฟที่จำเลยก่อขึ้นนั้นเป็นต้นไฟ ตัวเลินเล่อปล่อยไว้ จึงลุกลามต่อไป เพราะฉะนั้นศาลจึงตัดสินลงโทษจำเลยได้”

 

      : “นั่นแลฉันใด บาปกรรมก็ตามลงโทษฉันนั้นเหมือนกัน เพราะแม้นามรูปนี้จะแปรไปเป็นนามรูปหน้าก็จริง แต่เหตุที่เป็นผู้ก่อบุญบาปไว้จึงเกิดมีนามรูปอื่นขึ้นแทน ฉะนั้นนามรูปอื่นนั้นจึงหนีบาปกรรมไม่พ้น”

 

      : “เธอว่านี้ชอบแล้ว”

 

                        จบนามรูปปฏิสนธิคหณปัญหา

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา