บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 148
เมื่อวาน 4,086
สัปดาห์นี้ 7,426
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 48,626
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,393,123
  Your IP :18.218.129.100

กระปุกเกียร์อัตโนมัติ (ต่อ)

 

 

กราฟประสิทธิภาพของทอร์ค คอนเวอร์เตอร์

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ลักษณะของกราฟที่แสดงประสิทธิภาพของทอร์ค คอนเวอร์เตอร์ ดูได้จากรูปด้านบน ซึ่งในกราฟจะมี อัตราส่วนแรงบิด, ประสิทธิภาพ และตัวประกอบกำลังด้านขาเข้า นั่นคือ อัตราส่วนของความเร็วต่อรากที่สองของแรงบิดด้านขาเข้า ซึ่งนำมาใช้ในการพล็อตกราฟในรูปของอัตราส่วนความเร็ว

 

      อัตราส่วนแรงบิดมีค่าสูงสุด ที่สภาวะเครื่องยนต์มีอาการ ถ่วง (Stall) ขณะที่ซึ่งความเร็วด้านขาออกยังเป็นศูนย์ อัตราส่วนแรงบิดลดลงเมื่ออัตราความเร็วรอบเพิ่มขึ้น (อัตราทดเกียร์ลดลง) และแปลงออกมาในท้ายที่สุดกระทำตามความสัมพันธ์กับระบบไฮดรอลิกส์ในกระปุกเกียร์ ด้วยอัตราส่วนของแรงบิด มีค่าเป็น1.0

 

รูปปั๊มอิมเพลเลอร์ สเตเตอร์ และเทอร์ไบน์ในทอร์ค คอนเวอร์เตอร์

 

      ที่จุดนี้ ความแตกต่างเพียงเล็กน้อยระหว่างความเร็วด้านขาเข้า และขาออกยังคงมีอยู่ เพราะว่ามันเกิดการลื่นไถลระหว่างปั๊มอิมเพลเลอร์ และเทอร์ไบน์ ประสิทธิภาพของทอร์ค คอนเวอร์เตอร์เป็นศูนย์ที่เครื่องยนต์อยู่ในสภาวะถ่วง และจะเพิ่มขึ้นเมื่ออัตราส่วนของความเร็วรอบเพิ่มขึ้น (อัตราทดเกียร์ลดลง) มันจะไปสู่ค่าสูงสุดเมื่อ ของไหลไหลสัมพันธ์กัน (อัตราส่วนแรงบิดมีค่าเท่ากับ 1.0)

 

      เพื่อการคำนวณจากสภาพการทำงานจริงของทอร์ค คอนเวอร์เตอร์ จุดการทำงานของเครื่องยนต์จะมีความเฉพาะ เพราะว่าการขับเคลื่อนของเครื่องยนต์ด้วยทอร์ค คอนเวอร์เตอร์ เป็นไปตามลักษณะสภาพการทำงานของเครื่องยนต์

 

เมื่อต้องการพิจารณาผลการทำงานของเครื่องยนต์ และคอนเวอร์เตอร์ จะต้องหา ปัจจัยความสามารถของเครื่องยนต์ (Engine capacity factor: Ke) ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

 

รูปสมการ 2.42

 

กำหนดให้   ne = ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ (rpm)

                 Te = แรงบิดของเครื่องยนต์ (Nm)

 

การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยความสามารถ กับความเร็วของเครื่องยนต์แต่ละชนิดดังแสดงให้เห็นในรูปด้านล่าง

 

 

รูปความสามารถของเครื่องยนต์

 

เพื่อให้เกิดการจับคู่ที่เหมาะสม เครื่องยนต์ และทอร์ค คอนเวอร์เตอร์ ควรจะมีปัจจัยความสามารถอยู่ในช่วงที่คล้ายกัน

 

เพลาของเครื่องยนต์จะต่อไปที่เพลาขาเข้าของทอร์ค คอนเวอร์เตอร์ ดังที่กล่าวไว้แล้วต้น นั่นก็คือ 

 

Ke= Kc                           (2.43)

 

                ขั้นตอนการจับคู่ เริ่มต้นด้วยการระบุความเร็วรอบของเครื่องยนต์ กับแรงบิดของเครื่องยนต์ เพื่อให้รู้ถึงจุดการทำงานของเครื่องยนต์ หนึ่งในนั้นสามารถคำนวณหาปัจจัยความสามารถของเครื่องยนต์ได้ คือ Ke ดูที่รูปด้านล่าง

 

กราฟแรงฉุดลาก กับความเร็วของรถยนต์ที่ใช้เกียร์อัตโนมัติ

 

      นั่นคือ Ke= Kc ปัจจัยความสามารถทางด้านขาเข้าของทอร์ค คอนเวอร์เตอร์ ที่ทำงานสอดคล้องกับการทำงานที่จุดเฉพาะของเครื่องยนต์ ซึ่งได้ทราบกันแล้ว

 

รูปความสามารถของเครื่องยนต์ (รูปเดียวกันกับด้านบน)

 

      กราฟที่แสดงในรูปด้านบน เป็นค่าเฉพาะ สำหรับปัจจัยความสามารถทางขาเข้าของทอร์ค คอนเวอร์เตอร์ Ktc อัตราส่วนความเร็วรอบการแปลง Csr และอัตราส่วนแรงบิด Ctr

     

      โดยสามารถคำนวณได้จาก กราฟประสิทธิภาพของทอร์ค คอนเวอร์เตอร์ แรงบิดด้านขาออก และความเร็วด้านขาเข้าของคอนเวอร์เตอร์ จะเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

 

Ttc = TeCtr                      (2.44)

และ

 

ntc = ne Csr¢                      (2.45)

 

กำหนดให้   Ttc = แรงบิดด้านขาออก (Nm)

                ntc = รอบด้านขาออกของทอร์ค คอนเวอร์เตอร์ (rpm)

 

เมื่อ ทอร์ค คอนเวอร์เตอร์ มีช่วงอัตราแรงบิดที่จำกัด (มักจะน้อยกว่า 2) กระปุกเกียร์อัตโนมัติก็มีการทำงานหลายความเร็ว ซึ่งเกิดจากการทำงานของระบบเฟืองภายใน

 

 

รูประบบฟันเฟืองเกียร์สุริยะของเกียร์อัตโนมัติ

 

      ในกระปุกเกียร์จะประกอบไปด้วยชุดเฟืองสุริยะ (Planetary gear) และชุดเลื่อนเปลี่ยนเกียร์อัตโนมัติ พร้อมกับมีอัตราส่วนของเฟืองเกียร์

 

รูปเฟืองสุริยะ

 

วิดีโอแอนิเมชันการทำงานของเกียร์อัตโนมัติ

 

แรงฉุดลาก และความเร็วของยานยนต์สามารถคำนวณได้จากสมการด้านล่าง

 

รูปสมการที่ 2.46 และ 2.47

 

กราฟแรงฉุดลาก กับความเร็วของรถยนต์ที่ใช้เกียร์อัตโนมัติ (รูปเดียวกันกับด้านบน)

 

ในรูปด้านบน แสดงให้เห็นถึงแรงฉุดที่มีการเปลี่ยนแปลงด้วยความเร็วในรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ที่มีทอร์ค คอนเวอร์เตอร์ และกระปุกเกียร์ 3 ความเร็วของเกียร์อัตโนมัติ

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ทุก ๆ การเปลี่ยนแปลง

มันก็คือ การเริ่มต้นใหม่

ทุกการเริ่มต้น ย่อมเกิดปัญหา

และทุกปัญหา ก็ย่อมมีทางออก”

 

 

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา