บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 233
เมื่อวาน 4,086
สัปดาห์นี้ 7,511
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 48,711
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,393,208
  Your IP :18.117.70.132

4.5 การควบคุมด้วยโปรแกรมเชิงตรรกะ

 

      การควบคุมด้วยโปรแกรมเชิงตรรกะ (ลอจิก) หรือพีแอลซี (Programmable Logic Controller: PLC) เป็นหน่วยควบคุมด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ได้รับการออกแบบมาสำหรับงานในทางเทคโนโลยี

 

      ที่สามารถนำมาใช้ในที่พักอาศัย, ตึกอาคาร, โรงงานอุตสาหกรรม, สิ่งแวดล้อม ฯลฯ เป็นชุดแผงควบคุมเพื่อควบคุมเครื่องจักรกล หรือกระบวนการที่ต้องควบคุมต่าง ๆ

 

 

รูปชุดพีแอลซี

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      มันประกอบไปด้วย หน่วยประมวลผลกลาง ที่มาพร้อมกับความจำ และส่วนเชื่อมต่ออินเตอร์เฟส ขาเข้า / ขาออก ที่บรรจุรวมอยู่ในกล่องขนาดกะทัดรัด หรือทำเป็นโมดูลเพื่อเสียบเข้าไปในโครงแผงวงจรเพื่อทำการติดตั้งเพิ่มความสามารถให้งานได้ และมีการเชื่อมต่อด้วยบัสต่าง ๆ

 

รูปชุดพีแอลซี

 

 

      การเชื่อมต่อกล่องพีแอลซี เริ่มต้นด้วยการเชื่อมต่ออินเตอร์เฟส ขาเข้า/ขาออก 16 บิต ในขณะที่การออกแบบโมดูลออกแบบให้มี ขาเข้า / ขาออก จะมีส่วนติดต่ออินเตอร์เฟสเป็นพันช่อง

 

      ขาเข้าบางช่องสามารถใช้รับรู้ลอจิกทางอุตสาหกรรม จะใช้แรงดันไฟฟ้าขนาด 24 V DC หรือเป็นแรงดันไฟฟ้า AC ขณะที่ขาออกมีไว้รองรับ 47 สวิตซ์ เป็นแบบโซลิดสเตท (โซลินอยด์วาล์ว 24V และคอนแทคเตอร์) หรือรีเลย์ (Relays) ใช้สกรูยึดเพื่อเชื่อมต่อแผงใช้งาน

 

      ในพีแอลซีจะเชื่อมต่อด้วยสายไฟเพื่อใช้เป็นระบบควบคุม ระดับลอจิกจะสามารถระบุด้วยไฟแอลอีดีแสดงสถานะซึ่งจะติดตั้งไว้กับขั้วไฟฟ้า

 

 

รูปตัวอย่างอุปกรณ์ด้านขาออกโซลิดสเตท

 

      นับตั้งแต่ พีแอลซีถูกนำมาใช้งานแทนที่ระบบรีเลย์ พวกมันทำงานด้วย บูลีน (Boolean) (บิต, ลอจิก) และมีฟังชันก์ในการนับ / จับเวลา (สถานะเป็นอัตโนมัติ) อนาล็อก ขาเข้า / ขาออก, ค่าจำนวนเต็ม หรือแม้กระทั่งการคำนวณแบบจุดลอย, ขาออกพีดับเบิลยูเอ็ม และอาร์ทีซี ดำเนินการผ่านการอัพเดตพีแอลซี

 

      พีแอลซีทำงานโดยการสแกนโปรแกรม เช่น โค๊ดเครื่องจักร ที่ถูกตีความหมายด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ (ซีพียู) แบบฝังตัว

 

      มีการสแกนเวลาเพื่อเป็นการตรวจสอบสถานะในขาเข้า เพื่อดำเนินการในทุกแขนงทำงาน (ทุกขั้นตอนในแต่ละผังไดอะแกรมขั้นบันได) ของโปรแกรมที่ใช้ภายใน (สถานะ) ตัวแปรบิต และเพื่อเป็นการอัพเดตสถานะด้านขาออก

 

      เวลาที่ใช้สแกนสิ่งเหล่านี้จะใช้เวลามาก หรือน้อย จะขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของโปรแกรม (ทั่วไปจะใช้เพียงมิลลิวินาที หรือเสี้ยววินาที) แล้วมีการดำเนินการสแกนอย่างต่อไปทันที (ทำงานอย่างอิสระ) หรือเริ่มต้นเป็นระยะ ๆ

 

ภาษาโปรแกรมสำหรับพีแอลซี จะอธิบายเป็นตัวอย่างที่ด้านล่าง ดังนี้

 

LD = ผังขั้นบันได (Ladder diagram) ดูที่รูปด้านล่าง

 

 

รูปตัวอย่างการเขียนผังขั้นบันได

 

IL = รายการคำสั่ง (Instruction list) (ผู้ประกอบ)

 

SFC = ฟังชันก์แผนภูมิตามลำดับ (Sequential function chart) (มักจะเรียกชื่อตาม GRAFCET)

 

ST = โครงสร้างตัวอักษร (Structured text) (คล้ายกับภาษาระดับสูง)

 

FBD = ผังไดอะแกรมบล็อกฟังชันก์ (Function block diagram)

     

  

 

      พีแอลซีเป็นการใช้โปรแกรมผ่านการแปลเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ และการทำงานเครื่องมือที่ขจัดความบกพร่องบนพีซี หรือการโปรแกรมเทอร์มินอล (ปกติจะใช้ IL) เชื่อมต่อทั้งคู่ด้วยลิงค์อนุกรม ที่ผู้ใช้งาน แม้ว่าจะอยู่ไกลก็สามารถเข้าใช้งานได้

 

 

รูปตัวอย่างการใช้งานระยะไกลเพื่อใช้งานพีแอลซี

 

      มีการผสมผานอินเตอร์เฟสมนุษย์กับเครื่องจักร เป็นแนวคิดใหม่ที่เปลี่ยนไปที่เรียกว่า ซอฟท์พีแอลซี (Soft PLC) ประกอบด้วยโมดูลขาเข้า / ขาออก หรือไอ /โอ ลิงค์ (I/O link) พีแอลซีที่ควบคุมโดยพีซีอุตสาหกรรม สร้างขึ้นมาจากผู้ใช้งานที่สามารถทำงานแบบหน้าจอสัมผัส

 

 

รูปตัวอย่างหน้าจอสัมผัสของพีแอลซีสมัยใหม่

 

 

วิดีโอรู้จักกับพีแอลซีเบื้องต้น

 

 

เรื่องพีแอลซียังมีอีกมาก และจะได้กล่าวถึงรายละเอียดในภายหลัง โปรดติดตามครับ

 

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

ร่วมน้อมรำลึกถึง คำพ่อสอน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

 

“เมื่อมีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้น

ทุกคนชอบที่จะทำความคิดความเห็นให้สอดคล้องกัน

ร่วมกันพิจารณาหาทางแก้ไขด้วย เหตุและผล

ตามความเป็นจริง บนพื้นฐานอันเดียวกัน

ก็จะเห็นแนวทางปฏิบัติแก้ไข

ได้อย่างเที่ยงตรงถูกต้อง และเหมาะสม”

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๓๗     

ขอน้อมส่งพระองค์สู่สวรรคาลัย

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

 

 

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา