บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 305
เมื่อวาน 1,871
สัปดาห์นี้ 6,410
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 69,336
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,337,223
  Your IP :3.235.46.191

13. การหดตัวของความยาว

 

      การแปลงลอเรนซ์ ช่วยให้เราสามารถคำนวณการหดตัวของความยาวได้ การหดตัวจะเกิดขึ้นมากแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่ผ่านผู้สังเกตการณ์

 

วิดีโออธิบายการแปลงลอเรนซ์ที่เกี่ยวกับสัมพัทธภาพ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ยกตัวอย่าง สมมติว่าลูกบอลขนาด 30 เซนติเมตรบินผ่านคุณ และมันมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วขนาด 60% ของความเร็วแสง คุณวัดลูกบอลจะเหลือแค่ 24 เซนติเมตร นั่นคือ ขนาดของลูกบอลที่วัดได้อยู่ที่ 80% ของความยาวเดิม (จากขนาด 30 เซนติเมตร)  

 

 

รูปการหดตัวของลูกบอลหากเคลื่อนที่เข้าใกล้ความเร็วแสง (คนอยู่กับที่สังเกตเห็น)

 

 

      จำไว้ว่าในการวัดค่าทั้งหมด การวัดที่ได้จะอยู่ในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ เส้นผ่านศูนย์กลางของลูกบอลจะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของลูกบอล

 

มีข้อสำคัญที่ควรคำนึงถึงอยู่สองจุดข้างล่างนี้ คือ

 

1. หากคุณสามารถวิ่งตามไปข้าง ๆ กับ ลูกบอลมีความเร็วเท่ากัน คือ 60% ของความเร็วแสง คุณจะวัดความยาวได้เป็น 30 เซนติเมตรเช่นเดิม  คือจะไม่แตกต่าง เหมือนกับตอนคุณยืนอยู่ และวัดขนาดของบอลที่คุณถือเอาไว้

 

2. ในทำนองเดียวกัน หากมีลูกบอล และคน เคลื่อนที่ไปพร้อมกับลูกบอล ที่ทั้งสองอย่างเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากัน 60% ของความเร็วแสง และคนที่คอยสังเกตการณ์สามารถความวัดความยาวทั้งคน และลูกบอลได้ เขาจะพบว่าความยาวหดลงทั้งคน และลูกบอลที่กำลังเคลื่อนที่ 

 

 

รูปเมื่อวัตถุยิ่งเข้าใกล้ไปสู่การเคลื่อนที่ด้วยความเร็วแสงการหดตัวก็จะเกิดขึ้น

 

 

การเคลื่อนที่มีผลกับเวลา

 

      เวลา ในกรอบอ้างอิงที่ต่างกัน (เวลาสองโลก) จะเกิดการเปลี่ยนแปลง หากมีการเคลื่อนที่เข้าใกล้ความเร็วแสง  นี้เรียกว่า การยืดขยายเวลา (Time dilation) จะไม่เห็นหากการเคลื่อนที่ช้า แต่เมื่อใดที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงเข้าใกล้ความเร็วแสง

 

      นอกจากจะเกิดการยืดหดตัวของความยาวแล้ว เวลาจะเดินช้าลงไปเรื่อย ๆ ไปจนถึงเวลาอาจหยุดเดิน ขึ้นอยู่กับความเร็วที่เคลื่อนที่ตอนนั้น

 

 

รูปการเดินของเวลาจะยิ่งช้าลง และอาจหยุดเดิน เมื่อเคลื่อนที่เข้าใกล้ความเร็วของแสง

 

      การเกิดการหดตัวจากการเคลื่อนที่เมื่อวัตถุเคลื่อนที่เข้าใกล้ความเร็วของแสง จะสังเกตเห็นไม่ได้ในชีวิตประจำวันของเรา เพราะในชีวิตประจำวันของเราการเคลื่อนที่ของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว มันไม่ได้เคลื่อนที่เร็วมากจนเข้าใกล้ความเร็วของแสงเลย การหดตัวของวัตถุ หรือการยืดขยายตัวของเวลา จึงไม่มีใครสังเกตเห็นได้ แต่ความจริงตามธรรมชาติมันเป็นเช่นนั้น 

 

หัวข้อต่อไปเราจะมาดูในเรื่องรายละเอียดของการยืดขยายเวลา

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ไม่มีอะไร เล็กน้อยเกินไปที่จะรู้

และไม่มีอะไร ยิ่งใหญ่เกินไปที่จะพยายาม

Nothing is too small to know, and nothing is too big to attempt.”

William Van Horne

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา