บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,745
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 10,404
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 38,639
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,383,136
  Your IP :18.218.254.122

2 รู้จักอุณหภูมิเบื้องต้น

 

อุณหภูมิ (Temperature) หมายถึง ปริมาณของระดับความร้อน หรือความเย็นใด ๆ สามารถวัดระดับอุณหภูมิได้จาก เครื่องมือวัดที่เรียกว่า เทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer)

 

 

รูปตัวอย่างเทอร์โมมิเตอร์

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ในการวัดอุณหภูมิในสมัยแรก ๆ นั้นทำได้ยาก เพราะว่ายังไม่มีมาตรฐานในการกำหนดสเกลอุณหภูมิ ให้เป็นที่แน่นอน การตั้งระดับสเกลอุณหภูมิในยุคแรกนั้นผู้ทดลองจะเป็นผู้ตั้งเอง ค่าที่ได้จึงไม่เหมือนกับผู้ทดลองคนอื่น และเป็นที่เข้าใจยาก เมื่อทดลองทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งความคลาดเคลื่อนจึงมีมาก

 

      ในเวลาต่อมาได้มีการกำหนดการวัดอุณหภูมิให้เป็นสเกลมาตรฐาน โดยมีการกำหนดให้จุด ๆ หนึ่งเป็นจุดเริ่มนับอุณหภูมิ เป็น “จุดที่แน่นอน” จุดนี้จะเปลี่ยนไปตามชนิดของสสาร

 

      จุดคงที่ (Fixed point) จุดนี้เป็นอุณหภูมิเฉพาะของแต่ละสสาร เป็น จุดร่วม 3 จุด ที่นำมาใช้ในวิชาเทอร์โมไดนามิกส์สมัยใหม่ ในน้ำจุดร่วม 3 จุดจะอยู่ที่ 273.16 K (0°C) คือจุดเยือกแข็งของน้ำ

       

 

กราฟจุดร่วม 3 จุดของน้ำ

 

      จุดร่วม 3 จุด (Triple point) หมายถึงสภาวะเฟสสมดุลที่กล่าวถึงในวิชาเทอร์ไดนามิกส์ ณ จุดนี้สถานะทั้งสามจะร่วมจุดเดียวกัน คือ สถานะของแข็ง ของเหลว และไอ ของสสาร ในจุดนี้ไม่มีการเปลี่ยนสถานะ มีความดัน และอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง

 

 

รูปเอนเดอร์ส เซลเซียส 

 

      นายเอนเดอร์ส เซลเซียส (Anders Celsius) (พ.ศ. 2244-2287) เป็นนักดาราศาสตร์ และนักประดิษฐ์ ชาวสวีเดน เป็นคนคิดค้นหน่วยอุณหภูมิองศาเซลเซียส (Degree Celsius: °C) โดยตั้งให้น้ำเป็นมาตรฐานในการกำหนดสเกลอุณหภูมิ กำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำ เท่ากับ 0°(ถ้าในทางเทอร์โมไดนามิกส์ คือจุดร่วม 3 จุด) จุดเดือดของน้ำ เท่ากับ 100°C

     

 

รูปการ์เบรียล ฟาห์เรนไฮท์

 

      นายการ์เบรียล ฟาห์เรนไฮท์ (Gabriel Fahrenheit) (พ.ศ. 2229-2279) เป็นนักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน เป็นคนคิดค้นหน่วยอุณหภูมิองศาฟาห์เรนไฮท์ (Degree Fahrenheit: °F) โดยกำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำ อยู่ที่ 32°และจุดเดือดของน้ำ 212°F

 

 

รูปวิลเลี่ยม จอห์น แม็คเควน แรงคิน

 

      วิลเลี่ยม จอห์น แม็คเควน แรงคิน (William John MacQuorn Rankine) (พ.ศ. 2363-2415) เป็นนักฟิสิกส์ ชาวสก็อตแลนด์ เป็นคนคิดค้นหน่วยอุณหภูมิองศาแรงคิน (Degrees Rankine: °R) เป็นหน่วยอุณหภูมิองศาสัมบูรณ์ที่จะนำไปเทียบกับอุณหภูมิองศาฟาห์เรนไฮท์ โดยจุด 0°อยู่ที่ 459.67°จุดเยือกแข็งของน้ำ เท่ากับ 491.67°R

 

 

รูปวิลเลียม ทอมสัน เคลวิน

 

      วิลเลียม ทอมสัน เคลวิน (William Thomson Kelvin) (พ.ศ. 2367-2450) เป็นนักฟิสิกส์ ชาวอังกฤษ เป็นผู้คิดค้นหน่วยอุณหภูมิเคลวิน (Kelvin: K (ไม่มีเครื่องหมายองศา)) เป็นหน่วยอุณหภูมิที่ใช้ในการศึกษาในวิชาเทอร์โมไดนามิกส์ โดยกำหนดให้ศูนย์องศาสัมบูรณ์ (0K) เป็นจุดเริ่มต้น โดยไม่ได้เทียบกับสสารใด ๆ อุณหภูมิของห้องปกติจะอยู่ที่ 300K

 

 

รูปสเกลอุณหภูมิ

 

 

 

องศาเซลเซียส

(°C)

 

องศาฟาห์เรนไฮท์

(°F)

องศาแรงคิน

(°R)

 

องศาเคลวิน

(K)

จุดศูนย์องศาสัมบูรณ์

-273.16

-459.67

0

0

จุดเยือกแข็ง

0

32

491.67

273.16

จุดเดือด

100

212

672

373.14

ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบอุณหภูมิในหน่วยต่าง ๆ ใช้น้ำเป็นสสารมาตรฐาน

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 


“ไม่มีสิ่งใดจะหอมหวานเท่ากับความฝันในวัยเยาว์

There is nothing so Sweet as Love's Young Dreams.

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา