บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 2,366
เมื่อวาน 1,871
สัปดาห์นี้ 8,471
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 71,397
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,339,284
  Your IP :3.218.247.159

แบบเต็นท์กระโจมสามขา

 

 

รูปตัวอย่างเต็นท์กระโจมสามขา

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      เต็นท์แบบกระโจมสามขา (Three-Pole Parachute Tepee) หากคุณมีผ้าร่ม และเสาอย่างน้อยสามเสา อยากจะสร้างที่พักก็สามารถทำเต็นท์แบบกระโจมสามขาได้ เพราะมันสามารถทำง่าย และใช้เวลาน้อยในการทำ

 

      อีกทั้งมันยังป้องกันภัยอันตราย และปกป้องตัวเราจากสภาพอากาศจากภายนอกได้ แถมยังสามารถใช้ไฟจากแสงเทียน หรือกองไฟที่ไม่ใช่กองใหญ่ได้ หากต้องการกำบังตาจากศัตรู

 

 

รูปเต็นท์กระโจมสามขา

 

ภายในของมันสามารถสร้างให้มันมีขนาดใหญ่เพียงพอเพื่อใช้นอนพักผ่อนได้หลายคน อีกทั้งยังสามารถทำอาหาร และจัดเก็บฟืนไว้ภายในได้ด้วย

 

      เราสามารถปักเสาอย่างน้อยสามเสาขึ้นมา เพื่อที่จะพันโอบด้วยผ้าร่ม หรือวัสดุอื่นใดก็ได้ แต่ผ้าร่มถึงว่าเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน การตั้งเสาจำเป็นต้องใช้เสาอย่างน้อย 3 เสา มีขนาดเสาไม้ควรมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 เซนติเมตร

 

ขั้นตอนการสร้างเต็นท์กระโจมสามขา

 

  • วางเสาบนดิน และรวบปลายด้านบนเข้าหากันด้วยเชือก
  • ตั้งเสาขึ้นให้เป็นโครง และกางปลายเสาออก แต่ละท่อนห่างออกจากกันเพื่อให้เป็นขาตั้งกระโจม
  • แต่ถ้าหากต้องการเสากระโจมมากกว่า 3 ขาก็สามารถเพิ่มเข้ามาได้ อาจจะเป็น 5 หรือ 6 เสา ส่วนที่เพิ่มเข้ามาต้องไม่ขัดกันเอง
  • ดูทิศทางลม และตำแหน่งทางลมผ่านกระโจมรับลม หันกระโจมทำมุม 90 องศา หรือมากกว่านั้นจากทิศทางลมที่จะไหลเข้ากระโจม
  • วางผ้าร่มคลุมด้านหลังกระโจม และพันโอบรอบกระโจม แล้วใช้เชือกพันยึดผ้าร่มกับโครงกระโจมอีกที
  • วางห่วงเชือกเหนือด้านบนของโครงกระโจม แล้ววกเชือกกลับไปยังขาตั้งเพื่อยึดปลายยอดกระโจม
  • นำเชือกหุ้มรอบด้านหนึ่งของขาตั้ง ส่วนที่หลังคาควรมีความหนาเป็นสองเท่า ก่อนที่จะพันผ้าร่มทั้งหมดจำเป็นต้องพันครึ่งหนึ่งของขากระโจมเท่านั้น ส่วนที่เหลือของหลังคาจะพันกลับไปยังทิศทางอีกด้าน
  • ทำทางเข้าโดยพับผ้าร่มไว้ระหว่างเสาสองเสา แล้วสามารถวางทีละด้านเพื่อปิดทางเข้าได้
  • วางทับกันทั้งหมดใต้เสาแต่ละด้าน และภายในก็ทำพื้นสำหรับเป็นที่พัก
  • ที่ด้านบนปล่อยช่องเพื่อเปิดซัก 30 – 50 เซนติเมตร เพื่อเป็นช่องระบายอากาศ ถ้าหากต้องการที่จะก่อไฟไว้ในกระโจม

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“พายุร้าย

ทำอันตรายได้น้อยกว่า

วาจาส่อเสียด

ยุแหย่ ใส่ร้าย นินทากัน”

หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป

 

<หน้าที่แล้ว                                 สารบัญ                    หน้าต่อไป>

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา